นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว. โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ค โดยใช้หัวข้อว่า "ภาษา(พลังงาน)ไทยวันละคำ ว่าด้วยคำว่า "ระบบ"" โดยมีรายละเอียดดังนี้
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพ.ศ 2542 "ระบบ"หมายถึง "กลุ่มของสิ่งที่มีลักษณะประสานเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน ตามหลักแห่งความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกัน ด้วยระเบียบของธรรมชาติ หรือหลักแห่งเหตุผลทางวิชาการ เช่น ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบจักรวาล ระบบสังคม ระบบการบริหารประเทศ "
ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ระบุไว้ในหน้า 73 คำสั่งหนึ่งใน3ข้อที่ผู้บริหารปตท.ไม่พูดถึงคือคำสั่งที่ให้บมจ.ปตท.คืน "ทรัพย์สินที่ได้มาโดยอำนาจมหาชน" ทรัพย์สินที่ได้มาโดยอำนาจมหาชน ศาลฯระบุชัดเจนในคำบรรยายว่า "รวมทั้งทรัพย์สินในระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ ซึ่งรวมถึงระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติตามที่ปตท.(สมัยที่ยังไม่แปรรูป)มีอยู่แต่เดิม"
เมื่อ 2-3วันก่อน ผู้บริหารปตท.รวมถึงปลัดกระทรวงการคลัง พากันดาหน้ามาออกทีวีของรัฐใน"รายการเดินหน้าประเทศไทย " ออกมาแก้ตัวต่อสาธารณชนว่าปตท. คืนท่อก๊าซครบถ้วนแล้ว โดยคืนท่อก๊าซบนบกจำนวน456 กิโลเมตรจากจำนวน 700 กิโลเมตร แต่ท่อในทะเลอ้างไปต่างๆนาๆว่าไม่เกี่ยวไม่ต้องคืนโดยอ้างเหตุผลข้างๆคูๆไปถึงขนาดว่าท่อก๊าซที่อยู่ในทะเลเกิน 12 ไมล์ทะเล ไม่มีกฎหมายไทยบังคับ ก็เลยต้องเป็นของปตท.!
ขอให้ผู้บริหารปตท.ไปดู "พระบรมราชโองการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย" เมื่อ23 กุมภาพันธ์ 2524 ระบุชัดเจนว่า "เขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจัดรไทย ได้แก่บริเวณที่อยู่ถัดออกไปจากทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย มีความกว้าง200ไมล์ทะเลซึ่งเป็นอธิปไตยของประเทศไทย ท่อส่งก๊าซเหล่านั้นจึงเป็นสาธารณสมบัติของชาติ
ในรายงานของ สตง.ที่ส่งถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 6พฤษภาคม 2554 ยืนยันว่า "การคืนท่อบนบกของปตท. คืนเพียง55.42% ของท่อทั้งหมดบนบก ส่วนท่อในทะเลไม่ได้คืนเลย ดังนั้นปตท.คืนทรัพย์สินให้รัฐเพียง 32.19%ของมูลค่าสุทธิระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ" ทรัพย์สินส่วนที่ยังไม่คืนหลวงตามการตรวจสอบของสตง.ยังมีโรงแยกก๊าซธรรมชาติอีก 4โรงมูลค่า 3,399.52ล้านบาทรวมอยู่ด้วยเป็นระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ
การอธิบายเรื่องระบบให้เข้าใจง่ายขึ้น ลองดูการทำงานของรถยนต์เป็นตัวอย่าง รถยนต์ที่ขับเคลื่อนได้ต้องอาศัยส่วนต่างๆที่ประกอบกันเป็นระบบที่สอดคล้องกัน ที่ทำให้รถยนต์สามารถเคลื่อนที่ได้ตามหน้าที่ของรถยนต์ ซึ่งได้แก่ ระบบไฟจากแบตเตอรี่ หม้อน้ำ เกียร์ คันเร่ง เบรค ล้อรถ ตัวถัง และเชื้อเพลิง เป็นต้น
ระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อและระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติก็เหมือนกัน ต้องประกอบด้วยอุปกรณ์ส่วนย่อยๆให้เกิดเป็นระบบเพื่อประกอบกิจการในการขนส่งปิโตรเลียมหรือก๊าซธรรมชาติมาสู่กระบวนการผลิต จึงควรพิจารณาว่าสิ่งที่ปตท.อ้างว่าคืนครบแล้วนั้น สามารถทำหน้าที่ตามภารกิจของการขนส่งปิโตรเลียมหรือก๊าซธรรมชาติทางท่อได้หรือไม่?
สมมติว่า"คำสั่ง"เป็นว่าให้คืนทรัพย์สินที่เป็นรถยนต์ของหลวงที่มีการฉ้อโกงไป เขาส่งคืนเป็นล้อรถมาให้2ล้อ แล้วพากันมาใช้ทีวีของรัฐชี้แจงต่างๆนาๆว่าได้คืนทรัพย์สินของแผ่นดินครบแล้ว
วิญญูชนลองพิจารณาดูว่าเขาคืนทรัพย์สินของแผ่นดินครบแล้วจริงหรือไม่?
ส่วนคนที่พยายามมาออกหน้ามาปกป้อง ก็ต้องพิจารณาว่าเป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับกรณีนี้หรือไม่? และเหตุผลที่คนเหล่านี้แถลงต่อสาธารณชนนั้นสมเหตุสมผล ควรค่าแก่การเชื่อถือหรือไม่?
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพ.ศ 2542 "ระบบ"หมายถึง "กลุ่มของสิ่งที่มีลักษณะประสานเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน ตามหลักแห่งความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกัน ด้วยระเบียบของธรรมชาติ หรือหลักแห่งเหตุผลทางวิชาการ เช่น ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบจักรวาล ระบบสังคม ระบบการบริหารประเทศ "
ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ระบุไว้ในหน้า 73 คำสั่งหนึ่งใน3ข้อที่ผู้บริหารปตท.ไม่พูดถึงคือคำสั่งที่ให้บมจ.ปตท.คืน "ทรัพย์สินที่ได้มาโดยอำนาจมหาชน" ทรัพย์สินที่ได้มาโดยอำนาจมหาชน ศาลฯระบุชัดเจนในคำบรรยายว่า "รวมทั้งทรัพย์สินในระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ ซึ่งรวมถึงระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติตามที่ปตท.(สมัยที่ยังไม่แปรรูป)มีอยู่แต่เดิม"
เมื่อ 2-3วันก่อน ผู้บริหารปตท.รวมถึงปลัดกระทรวงการคลัง พากันดาหน้ามาออกทีวีของรัฐใน"รายการเดินหน้าประเทศไทย " ออกมาแก้ตัวต่อสาธารณชนว่าปตท. คืนท่อก๊าซครบถ้วนแล้ว โดยคืนท่อก๊าซบนบกจำนวน456 กิโลเมตรจากจำนวน 700 กิโลเมตร แต่ท่อในทะเลอ้างไปต่างๆนาๆว่าไม่เกี่ยวไม่ต้องคืนโดยอ้างเหตุผลข้างๆคูๆไปถึงขนาดว่าท่อก๊าซที่อยู่ในทะเลเกิน 12 ไมล์ทะเล ไม่มีกฎหมายไทยบังคับ ก็เลยต้องเป็นของปตท.!
ขอให้ผู้บริหารปตท.ไปดู "พระบรมราชโองการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย" เมื่อ23 กุมภาพันธ์ 2524 ระบุชัดเจนว่า "เขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจัดรไทย ได้แก่บริเวณที่อยู่ถัดออกไปจากทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย มีความกว้าง200ไมล์ทะเลซึ่งเป็นอธิปไตยของประเทศไทย ท่อส่งก๊าซเหล่านั้นจึงเป็นสาธารณสมบัติของชาติ
ในรายงานของ สตง.ที่ส่งถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 6พฤษภาคม 2554 ยืนยันว่า "การคืนท่อบนบกของปตท. คืนเพียง55.42% ของท่อทั้งหมดบนบก ส่วนท่อในทะเลไม่ได้คืนเลย ดังนั้นปตท.คืนทรัพย์สินให้รัฐเพียง 32.19%ของมูลค่าสุทธิระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ" ทรัพย์สินส่วนที่ยังไม่คืนหลวงตามการตรวจสอบของสตง.ยังมีโรงแยกก๊าซธรรมชาติอีก 4โรงมูลค่า 3,399.52ล้านบาทรวมอยู่ด้วยเป็นระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ
การอธิบายเรื่องระบบให้เข้าใจง่ายขึ้น ลองดูการทำงานของรถยนต์เป็นตัวอย่าง รถยนต์ที่ขับเคลื่อนได้ต้องอาศัยส่วนต่างๆที่ประกอบกันเป็นระบบที่สอดคล้องกัน ที่ทำให้รถยนต์สามารถเคลื่อนที่ได้ตามหน้าที่ของรถยนต์ ซึ่งได้แก่ ระบบไฟจากแบตเตอรี่ หม้อน้ำ เกียร์ คันเร่ง เบรค ล้อรถ ตัวถัง และเชื้อเพลิง เป็นต้น
ระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อและระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติก็เหมือนกัน ต้องประกอบด้วยอุปกรณ์ส่วนย่อยๆให้เกิดเป็นระบบเพื่อประกอบกิจการในการขนส่งปิโตรเลียมหรือก๊าซธรรมชาติมาสู่กระบวนการผลิต จึงควรพิจารณาว่าสิ่งที่ปตท.อ้างว่าคืนครบแล้วนั้น สามารถทำหน้าที่ตามภารกิจของการขนส่งปิโตรเลียมหรือก๊าซธรรมชาติทางท่อได้หรือไม่?
สมมติว่า"คำสั่ง"เป็นว่าให้คืนทรัพย์สินที่เป็นรถยนต์ของหลวงที่มีการฉ้อโกงไป เขาส่งคืนเป็นล้อรถมาให้2ล้อ แล้วพากันมาใช้ทีวีของรัฐชี้แจงต่างๆนาๆว่าได้คืนทรัพย์สินของแผ่นดินครบแล้ว
วิญญูชนลองพิจารณาดูว่าเขาคืนทรัพย์สินของแผ่นดินครบแล้วจริงหรือไม่?
ส่วนคนที่พยายามมาออกหน้ามาปกป้อง ก็ต้องพิจารณาว่าเป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับกรณีนี้หรือไม่? และเหตุผลที่คนเหล่านี้แถลงต่อสาธารณชนนั้นสมเหตุสมผล ควรค่าแก่การเชื่อถือหรือไม่?