นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ ประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด เปิดเผย ว่า เล็งนำเสนอขออนุมัติงบประมาณจำนวน 2,000 ล้านบาทเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของแอร์พอร์ตลิ้งค์ ให้สามารถขับเคลื่อนองค์กรก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเตรียมนำเสนอต่อผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)ในปี 2558 หลังจากที่ได้เร่งดำเนินการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ให้รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ทั้ง 9 ขบวนสามารถให้บริการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและมีความชัดเจนในเรื่องการจัดซื้อขบวนรถเพิ่มอีก 7 ขบวนแล้ว
ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมให้แอร์พอร์ตลิ้งค์สามารถรับหน้าที่เดินรถและบริหารจัดการองค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการขยายโอกาสรับหน้าที่บริหารจัดการและเดินรถไฟฟ้าให้กับร.ฟ.ท.นอกเหนือจากส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิ้งค์ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมืองแล้ว แล้วพร้อมเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ช่วงบางซื่อ-รังสิต ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง-มหาชัย และช่วงบางซื่อ-หัวหมาก อีกทั้งยังพร้อมรับเดินรถไฟฟ้าความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยองในอนาคตตามที่ร.ฟ.ท.มีแผนดำเนินการอีกด้วย
“ขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งแก้ไขปัญหาต่างๆของแอร์พอร์ตลิ้งค์ให้หมดไปก่อนที่จะขยายโอกาสรับบริหารจัดการและรับเดินรถให้กับร.ฟ.ท.ทั้งแอร์พอร์ตลิ้งค์ส่วนต่อขยายเชื่อมบางซื่อ-ดอนเมือง โครงการรถไฟสายสีแดงทั้งระบบ และรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยองเพื่อสร้างรายได้ให้กับแอร์พอร์ตลิ้งค์ให้สามารถยืนหยัดได้อย่างมั่นคงขอเพียงรัฐบาลให้การสนับสนุนอย่างจริงจังตั้งแต่วันนี้เท่านั้น อีกทั้งภายในสัปดาห์หน้ายังจะมีการเจรจาร่วมกับร.ฟ.ท.เพื่อเคลียร์ปัญหาภาระหนี้สินต่อกันที่มีราว 7 หมื่นล้านบาทเพื่อแยกแยะให้ชัดเจนก่อนที่จะเสนอแยกหน่วยงานแอร์พอร์ตลิ้งค์ออกมาให้สามารถบริหารจัดการในรูปแบบบริษัทจำกัดด้วยตนเอง”
นายจำรูญกล่าวอีกว่าล่าสุดบอร์ดร.ฟ.ท.อนุมัติให้เร่งดำเนินการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่รถไฟฟ้าทั้ง 9 ขบวนโดยที่ประชุมเห็นชอบให้มีการเร่งรัดกระบวนซ่อมแซมให้เร็วขึ้น โดยตั้งเป้าหมายหากประมูลหาผู้ชนะเข้ามาซ่อมใหญ่ได้แล้ว จะลดเวลากระบวนการซ่อมให้เสร็จภายใน 23 เดือน เร็วกว่าเดิมที่กำหนดไว้ 53 เดือน เพื่อกลับมาเปิดใช้บริการให้ได้เร็วที่สุด และภายในสัปดาห์นี้ บริษัทฯ จะหารือร่วมกับ ร.ฟ.ท. และบริษัทซีเมนส์ ผู้ผลิตรถไฟฟ้า เพื่อเร่งรัดการซ่อม รวมถึงแผนการจัดหาอะไหล่ และการวางแผนการซ่อมอย่างละเอียด
ปัจจุบันขบวนที่วิ่งให้บริการยังไม่เกินกำหนดมาตรฐานสูงสุดที่กำหนดไว้คือ 1.32 ล้านกม. โดยรถวิ่งความเร็วเฉลี่ย 1.2-1.28 ล้านกม. ขณะเดียวกันก็มีการซ่อมแซมเปลี่ยนอะไหล่ตามอายุการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ อาทิ ลูกปืน จานเบรก ระบบกันสะเทือน ส่วนรูปภาพปัญหารางที่ปรากฏในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปแล้ว รวมถึงติดตามผลกระทบอย่างใกล้ชิด
สำหรับแนวทางการปรับปรุงแก้ไขในเบื้องต้นตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนนี้เป็นต้นไปจะยกเลิกการเดินรถไฟฟ้าด่วน(เอ็กซเพรสไลน์ ) 2 ช่วงเวลาตั้งแต่เวลา 6.00-10.00น และ 22.00-24.00 น.เพื่อปรับตัวขบวนรถมาวิ่งให้บริการรถไฟฟ้าธรรมดา(ซิตี้ไลน์) เพิ่มขึ้นเป็น 2 ขบวน ประกอบกับช่วงเวลาที่กำหนดดังกล่าวนั้นไม่ค่อยมีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าด่วน
“ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าซิตี้ไลน์ เฉลี่ยวันละประมาณ 48,000 คนต่อวัน ขณะที่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าเอ็กซ์ เพรสไลน์ เฉลี่ยวันละประมาณ 300-400 คนต่อวันเท่านั้น และบางช่วงเวลาบางขบวนทีผู้โดยสารไม่ถึง 10 คน บางครั้งวิ่งรถเปล่าโดยไม่มีผู้โดยสาร อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องการซ่อมใหญ่ของขบวนรถไฟฟ้าทั้ง 9 ขบวน จึงต้องบริหารจัดการขบวนรถให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด จากเดิมที่วิ่งให้บริการเส้นทางรถไฟฟ้าเอ็กซ์เพรสไลน์ จากสุวรรณภูมิ-มักกะสัน และพญาไท-มักกะสัน เหลือเพียงเส้นทางเดียวคือสุวรรณภูมิ-มักกะสันเท่านั้น”
ด้านพล.อ.ดร.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานกรรมการ(บอร์ด)การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) กล่าวว่าต้องการให้รฟม.เดินรถไฟฟ้าเองมากกว่าที่จะว่าจ้างเอกชนเดินรถ เช่น รถไฟฟ้า MRT ที่ว่าจ้างบีเอ็มซีแอลบริหารจัดการเดินรถ จัดซื้อรถ ดังนั้นเมื่อจะก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สายรฟม.จึงควรจะเป็นผู้จัดซื้อรถ บริหารจัดการและเดินรถเป็นของตนเอง
“ช่วงที่ผ่านมาบทบาทของรฟม.คือลงทุนด้านงานโยธาเท่านั้น ส่วนการจัดหารถและเดินรถยังว่าจ้างเอกชน แต่จากนี้ไปรฟม.ควรจะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด โดยสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการรฟม.น่าจะเข้ามามีบทบาทจัดซื้อรถ บริหารจัดการและเดินรถด้วยตนเอง เพราะเป็นหน่วยงานหลักที่มีบุคลากรที่มีศักยภาพและมีประสบการณ์มาในระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งนายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่ารฟม.ก็ได้นำเสนอแผนรับบริหารจัดการเดินรถให้บอร์ดได้รับทราบแล้ว โดยจะเริ่มจากการจัดหารถก่อน หากยังไม่พร้อมเดินรถก็จะทยอยในช่วงต่อไปได้ ซึ่งระยะเวลาอีกประมาณ 2 ปีคงจะเตรียมการให้พร้อมได้ทันโดยเฉพาะขณะนี้ได้เตรียมจัดตั้งหน่วยธุรกิจ(Business Unit)การเดินรถรองรับเอาไว้แล้ว โดยรอเพียงการนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติให้ดำเนินการเท่านั้น”
ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมให้แอร์พอร์ตลิ้งค์สามารถรับหน้าที่เดินรถและบริหารจัดการองค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการขยายโอกาสรับหน้าที่บริหารจัดการและเดินรถไฟฟ้าให้กับร.ฟ.ท.นอกเหนือจากส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิ้งค์ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมืองแล้ว แล้วพร้อมเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ช่วงบางซื่อ-รังสิต ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง-มหาชัย และช่วงบางซื่อ-หัวหมาก อีกทั้งยังพร้อมรับเดินรถไฟฟ้าความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยองในอนาคตตามที่ร.ฟ.ท.มีแผนดำเนินการอีกด้วย
“ขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งแก้ไขปัญหาต่างๆของแอร์พอร์ตลิ้งค์ให้หมดไปก่อนที่จะขยายโอกาสรับบริหารจัดการและรับเดินรถให้กับร.ฟ.ท.ทั้งแอร์พอร์ตลิ้งค์ส่วนต่อขยายเชื่อมบางซื่อ-ดอนเมือง โครงการรถไฟสายสีแดงทั้งระบบ และรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยองเพื่อสร้างรายได้ให้กับแอร์พอร์ตลิ้งค์ให้สามารถยืนหยัดได้อย่างมั่นคงขอเพียงรัฐบาลให้การสนับสนุนอย่างจริงจังตั้งแต่วันนี้เท่านั้น อีกทั้งภายในสัปดาห์หน้ายังจะมีการเจรจาร่วมกับร.ฟ.ท.เพื่อเคลียร์ปัญหาภาระหนี้สินต่อกันที่มีราว 7 หมื่นล้านบาทเพื่อแยกแยะให้ชัดเจนก่อนที่จะเสนอแยกหน่วยงานแอร์พอร์ตลิ้งค์ออกมาให้สามารถบริหารจัดการในรูปแบบบริษัทจำกัดด้วยตนเอง”
นายจำรูญกล่าวอีกว่าล่าสุดบอร์ดร.ฟ.ท.อนุมัติให้เร่งดำเนินการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่รถไฟฟ้าทั้ง 9 ขบวนโดยที่ประชุมเห็นชอบให้มีการเร่งรัดกระบวนซ่อมแซมให้เร็วขึ้น โดยตั้งเป้าหมายหากประมูลหาผู้ชนะเข้ามาซ่อมใหญ่ได้แล้ว จะลดเวลากระบวนการซ่อมให้เสร็จภายใน 23 เดือน เร็วกว่าเดิมที่กำหนดไว้ 53 เดือน เพื่อกลับมาเปิดใช้บริการให้ได้เร็วที่สุด และภายในสัปดาห์นี้ บริษัทฯ จะหารือร่วมกับ ร.ฟ.ท. และบริษัทซีเมนส์ ผู้ผลิตรถไฟฟ้า เพื่อเร่งรัดการซ่อม รวมถึงแผนการจัดหาอะไหล่ และการวางแผนการซ่อมอย่างละเอียด
ปัจจุบันขบวนที่วิ่งให้บริการยังไม่เกินกำหนดมาตรฐานสูงสุดที่กำหนดไว้คือ 1.32 ล้านกม. โดยรถวิ่งความเร็วเฉลี่ย 1.2-1.28 ล้านกม. ขณะเดียวกันก็มีการซ่อมแซมเปลี่ยนอะไหล่ตามอายุการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ อาทิ ลูกปืน จานเบรก ระบบกันสะเทือน ส่วนรูปภาพปัญหารางที่ปรากฏในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปแล้ว รวมถึงติดตามผลกระทบอย่างใกล้ชิด
สำหรับแนวทางการปรับปรุงแก้ไขในเบื้องต้นตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนนี้เป็นต้นไปจะยกเลิกการเดินรถไฟฟ้าด่วน(เอ็กซเพรสไลน์ ) 2 ช่วงเวลาตั้งแต่เวลา 6.00-10.00น และ 22.00-24.00 น.เพื่อปรับตัวขบวนรถมาวิ่งให้บริการรถไฟฟ้าธรรมดา(ซิตี้ไลน์) เพิ่มขึ้นเป็น 2 ขบวน ประกอบกับช่วงเวลาที่กำหนดดังกล่าวนั้นไม่ค่อยมีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าด่วน
“ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าซิตี้ไลน์ เฉลี่ยวันละประมาณ 48,000 คนต่อวัน ขณะที่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าเอ็กซ์ เพรสไลน์ เฉลี่ยวันละประมาณ 300-400 คนต่อวันเท่านั้น และบางช่วงเวลาบางขบวนทีผู้โดยสารไม่ถึง 10 คน บางครั้งวิ่งรถเปล่าโดยไม่มีผู้โดยสาร อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องการซ่อมใหญ่ของขบวนรถไฟฟ้าทั้ง 9 ขบวน จึงต้องบริหารจัดการขบวนรถให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด จากเดิมที่วิ่งให้บริการเส้นทางรถไฟฟ้าเอ็กซ์เพรสไลน์ จากสุวรรณภูมิ-มักกะสัน และพญาไท-มักกะสัน เหลือเพียงเส้นทางเดียวคือสุวรรณภูมิ-มักกะสันเท่านั้น”
ด้านพล.อ.ดร.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานกรรมการ(บอร์ด)การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) กล่าวว่าต้องการให้รฟม.เดินรถไฟฟ้าเองมากกว่าที่จะว่าจ้างเอกชนเดินรถ เช่น รถไฟฟ้า MRT ที่ว่าจ้างบีเอ็มซีแอลบริหารจัดการเดินรถ จัดซื้อรถ ดังนั้นเมื่อจะก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สายรฟม.จึงควรจะเป็นผู้จัดซื้อรถ บริหารจัดการและเดินรถเป็นของตนเอง
“ช่วงที่ผ่านมาบทบาทของรฟม.คือลงทุนด้านงานโยธาเท่านั้น ส่วนการจัดหารถและเดินรถยังว่าจ้างเอกชน แต่จากนี้ไปรฟม.ควรจะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด โดยสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการรฟม.น่าจะเข้ามามีบทบาทจัดซื้อรถ บริหารจัดการและเดินรถด้วยตนเอง เพราะเป็นหน่วยงานหลักที่มีบุคลากรที่มีศักยภาพและมีประสบการณ์มาในระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งนายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่ารฟม.ก็ได้นำเสนอแผนรับบริหารจัดการเดินรถให้บอร์ดได้รับทราบแล้ว โดยจะเริ่มจากการจัดหารถก่อน หากยังไม่พร้อมเดินรถก็จะทยอยในช่วงต่อไปได้ ซึ่งระยะเวลาอีกประมาณ 2 ปีคงจะเตรียมการให้พร้อมได้ทันโดยเฉพาะขณะนี้ได้เตรียมจัดตั้งหน่วยธุรกิจ(Business Unit)การเดินรถรองรับเอาไว้แล้ว โดยรอเพียงการนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติให้ดำเนินการเท่านั้น”