นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ที่จะออกมาในเย็นวันนี้ (22 ก.ค.) จะเป็นสิ่งยืนยันให้ต่างชาติได้เห็นว่า ประเทศไทยได้ดำเนินการตามแผนโรดแมป และทำได้สำเร็จจริงตามกรอบเวลาที่วางไว้ ซึ่งประเทศไทยยังคงเดินหน้าชี้แจงทำความเข้าใจและสร้างความเชื่อมั่นกับต่างประเทศมากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประเทศไทย ภายหลังที่มีการปฏิรูปประเทศแล้ว
โดยระหว่างที่มีการปฏิรูประเทศให้มั่นคงและยั่งยืน ประเทศไทยยังยืนยันการดำเนินนโยบายความสัมพันธ์ทางการทูตกับทุกประเทศเหมือนเดิม และจะเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะการแสดงบทบาทในเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศ
นายเสข กล่าวว่า ขณะนี้น่าดีใจที่รัฐบาลของสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลียเข้าใจประเทศไทยมากขึ้น โดยจากนี้ประเทศเหล่านี้จะสนใจสอบถามถึงรายละเอียดการดำเนินการตามขั้นตอนโรดแมป อาทิ การจัดตั้งสภานิติบัญญัติ (สนช.) ผู้ทำหน้าที่ใน สนช.ทั้ง 200คน ว่าจะมีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิมาทำหน้าที่ สนช.อย่างไร เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการจัดทำกฎหมายนำไปสู่การเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทรวงการต่างประเทศต้องชี้แจงย้ำสร้างความมั่นใจ ควบคู่ไปกับ คสช.ดำเนินการตามที่ให้คำมั่นไว้กับต่างชาติ ก็จะทำให้ต่างชาติเห็นถึงเจตนาและความมุ่งมั่นของเรา
ส่วนในแง่การเมือง ต่างชาติจับตาถึงบทบาทของ คสช. ซึ่งเชื่อว่าหลังจากที่เราออกรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวในวันนี้ จะเป็นคำตอบให้ต่างชาติได้รู้ว่า คสช.จะมีอำนาจ และทำหน้าที่ในส่วนใดบ้าง โดยระหว่างที่มีการปฏิรูปประเทศ เราจะมีรัฐบาลชั่วคราวขึ้น ทาง คสช.จะเสนอใครเป็นนายกรัฐมนตรี และองค์ประกอบคณะรัฐมนตรีเป็นใครบ้าง
ทั้งนี้ ยอมรับว่าในหลายประเทศค่อนข้างกังวลในเรื่องสิทธิมนุษยชน และการควบคุมจำกัดสิทธิสื่อมวลชน เนื่องจากขณะนี้ประกาศกฎอัยการศึกยังมีอยู่ และมีส่วนเชื่อมโยงกับการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้เน้นย้ำว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยการยังคงกฎอัยการศึกก็เพื่อส่งเสริมบรรยากาศในประเทศให้เกิดความปรองดองและสมานฉันท์ ทั้งหมดเป็นเรื่องความเชื่อมั่นระหว่างคนในสังคมไทย โดยความจำเป็นต้องควบคุมสื่อเพื่อไม่ให้เกิดการสร้างกระแสในสังคม โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียไปเร็วและไกล ได้บั่นทอนความปรองดอง ตามที่ คสช.ตั้งใจจะให้เกิดการปฏิรูปประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม คสช.เข้าใจถึงบทบาทของเอ็นจีโอที่ให้ความสนใจและตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทย และเข้าใจว่าประเทศตะวันตกก็ไม่อาจเปลี่ยนค่านิยมประชาธิปไตย เราขอเพียงให้เข้าใจการดำเนินการของไทย และยังคงการมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
โดยระหว่างที่มีการปฏิรูประเทศให้มั่นคงและยั่งยืน ประเทศไทยยังยืนยันการดำเนินนโยบายความสัมพันธ์ทางการทูตกับทุกประเทศเหมือนเดิม และจะเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะการแสดงบทบาทในเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศ
นายเสข กล่าวว่า ขณะนี้น่าดีใจที่รัฐบาลของสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลียเข้าใจประเทศไทยมากขึ้น โดยจากนี้ประเทศเหล่านี้จะสนใจสอบถามถึงรายละเอียดการดำเนินการตามขั้นตอนโรดแมป อาทิ การจัดตั้งสภานิติบัญญัติ (สนช.) ผู้ทำหน้าที่ใน สนช.ทั้ง 200คน ว่าจะมีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิมาทำหน้าที่ สนช.อย่างไร เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการจัดทำกฎหมายนำไปสู่การเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทรวงการต่างประเทศต้องชี้แจงย้ำสร้างความมั่นใจ ควบคู่ไปกับ คสช.ดำเนินการตามที่ให้คำมั่นไว้กับต่างชาติ ก็จะทำให้ต่างชาติเห็นถึงเจตนาและความมุ่งมั่นของเรา
ส่วนในแง่การเมือง ต่างชาติจับตาถึงบทบาทของ คสช. ซึ่งเชื่อว่าหลังจากที่เราออกรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวในวันนี้ จะเป็นคำตอบให้ต่างชาติได้รู้ว่า คสช.จะมีอำนาจ และทำหน้าที่ในส่วนใดบ้าง โดยระหว่างที่มีการปฏิรูปประเทศ เราจะมีรัฐบาลชั่วคราวขึ้น ทาง คสช.จะเสนอใครเป็นนายกรัฐมนตรี และองค์ประกอบคณะรัฐมนตรีเป็นใครบ้าง
ทั้งนี้ ยอมรับว่าในหลายประเทศค่อนข้างกังวลในเรื่องสิทธิมนุษยชน และการควบคุมจำกัดสิทธิสื่อมวลชน เนื่องจากขณะนี้ประกาศกฎอัยการศึกยังมีอยู่ และมีส่วนเชื่อมโยงกับการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้เน้นย้ำว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยการยังคงกฎอัยการศึกก็เพื่อส่งเสริมบรรยากาศในประเทศให้เกิดความปรองดองและสมานฉันท์ ทั้งหมดเป็นเรื่องความเชื่อมั่นระหว่างคนในสังคมไทย โดยความจำเป็นต้องควบคุมสื่อเพื่อไม่ให้เกิดการสร้างกระแสในสังคม โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียไปเร็วและไกล ได้บั่นทอนความปรองดอง ตามที่ คสช.ตั้งใจจะให้เกิดการปฏิรูปประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม คสช.เข้าใจถึงบทบาทของเอ็นจีโอที่ให้ความสนใจและตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทย และเข้าใจว่าประเทศตะวันตกก็ไม่อาจเปลี่ยนค่านิยมประชาธิปไตย เราขอเพียงให้เข้าใจการดำเนินการของไทย และยังคงการมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง