น.ส.รัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ด เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบให้ รฟม.ปรับเงื่อนไขหลักเกณฑ์การให้คะแนนงานประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต กรณีการกำหนดรายได้เฉลี่ยจากงานก่อสร้างของผู้เสนอราคาย้อนหลัง 3 ปี (เทิร์นโอเวอร์) ให้อยู่ในอัตรา 2.5% ในทุกสัญญา จากเดิมที่กำหนดแต่ละสัญญาไม่เท่ากัน และหากคำนวณมูลค่างานย้อนหลังในอัตรา 2.5% แล้วมีเศษ ให้ปัดเศษนั้นขึ้นเป็นจำนวนเต็มหลักร้อยล้าน ไม่ใช่หลักพันล้านเช่นเดิม ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจากนี้ รฟม.ต้องไปปรับปรุงเงื่อนไข ใช้เวลาประมาณ 15 วัน และประกาศขายเอกสารรอบ 2 อีก 90 วัน เพื่อให้ผู้ที่ยังไม่ซื้อเอกสารมาซื้อได้ ยอมรับว่า โครงการต้องล่าช้าออกไป 3 เดือน
อย่างไรก็ตาม บอร์ดยังมีมติเห็นชอบให้ รฟม.ปรับลดค่าก่อสร้างในงานสาธารณูปโภคลง 58 ล้านบาท สำหรับส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน สัญญาที่ 1 การออกแบบควบคู่การก่อสร้างเส้นทางใต้ดิน ช่วงหัวลำโพง-สนามไชย มีบริษัท อิตาเลียนไทย ดิเวลล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับงาน วงเงิน 10,884 ล้านบาท เนื่องจากเห็นว่าสามารถลดขนาดรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่จำเป็นลงได้
นอกจากนี้ น.ส.รัชนี กล่าวต่อไปว่า เมื่อวันที่ 7-11 พฤษภาคมที่ผ่านมา บอร์ด รฟม.ได้เดินทางไปตรวจติดตามการบริหารงานระบบรถไฟฟ้าและโรงงานผลิตขบวนรถไฟฟ้าที่ประเทศญี่ปุ่น ตามคำเชิญของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล ผู้รับงานสัญญาที่ 4 งานระบบรถไฟฟ้า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ พร้อมทั้งหารือร่วมกับผู้บริหารบริษัทที่รับเหมาช่วงงานสัญญาที่ 4 คือ Marubeni Toshiba JR East และ J-TREC เพื่อเร่งรัดงานให้เสร็จก่อนกำหนดในเดือนธันวาคม 2559 ซึ่งผู้บริหารทั้ง 4 บริษัทรับรองว่าจะสามารถเร่งรัดงานให้ เร็วกว่ากำหนดดังกล่าว 1 ปี คือ เปิดบริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2558
อย่างไรก็ตาม บอร์ดยังมีมติเห็นชอบให้ รฟม.ปรับลดค่าก่อสร้างในงานสาธารณูปโภคลง 58 ล้านบาท สำหรับส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน สัญญาที่ 1 การออกแบบควบคู่การก่อสร้างเส้นทางใต้ดิน ช่วงหัวลำโพง-สนามไชย มีบริษัท อิตาเลียนไทย ดิเวลล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับงาน วงเงิน 10,884 ล้านบาท เนื่องจากเห็นว่าสามารถลดขนาดรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่จำเป็นลงได้
นอกจากนี้ น.ส.รัชนี กล่าวต่อไปว่า เมื่อวันที่ 7-11 พฤษภาคมที่ผ่านมา บอร์ด รฟม.ได้เดินทางไปตรวจติดตามการบริหารงานระบบรถไฟฟ้าและโรงงานผลิตขบวนรถไฟฟ้าที่ประเทศญี่ปุ่น ตามคำเชิญของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล ผู้รับงานสัญญาที่ 4 งานระบบรถไฟฟ้า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ พร้อมทั้งหารือร่วมกับผู้บริหารบริษัทที่รับเหมาช่วงงานสัญญาที่ 4 คือ Marubeni Toshiba JR East และ J-TREC เพื่อเร่งรัดงานให้เสร็จก่อนกำหนดในเดือนธันวาคม 2559 ซึ่งผู้บริหารทั้ง 4 บริษัทรับรองว่าจะสามารถเร่งรัดงานให้ เร็วกว่ากำหนดดังกล่าว 1 ปี คือ เปิดบริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2558