วันนี้ (28 มี.ค.) ศาลปกครองกลาง ได้มีการพิจารณาครั้งแรก ในคดีรถดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 3 สำนวน ประกอบด้วย คำฟ้องของนายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร กับพวกรวม 2 คน เป็นผู้ถูกฟ้อง เรื่องกระทำการออกคำสั่งโดยมิชอบ ที่กรุงเทพมหานคร สั่งให้ผู้ฟ้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จากกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดทางอาญากล่าวหาว่า ขณะผู้ฟ้องดำรงตำแหน่ง รมว.พาณิชย์ มีพฤติการณ์ร่วมกับ บริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาห์รซอยก์ จํากัด ประเทศออสเตรีย กระทำความผิดเกี่ยวกับการจัดซื้อรถเรือดับเพลิงฯ
คำฟ้องของกรุงเทพมหานคร ยื่นฟ้องคุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ภรรยานายสมัคร อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับพวก ซึ่งเป็นผู้รับมรดกรวม 3 คน เป็นผู้ถูกฟ้อง เพื่อให้ผู้ถูกฟ้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย กรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช อดีต ผู้ว่าฯ กทม. กระทำความผิดเกี่ยวกับการจัดซื้อรถเรือดับเพลิงดังกล่าวซึ่ง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดว่าร่วมกับกับ บริษัท สไตเออร์ ฯ กระทำความผิดโดยร่วมกันกำหนดราคาให้สูงเกินจริง
นอกจากนี้ ยังมีคำฟ้องของนายประชา มาลีนนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานครกับพวกรวม 2 คนเป็นผู้ถูกฟ้อง เรื่องกระทำการออกคำสั่งโดยมิชอบ ที่กรุงเทพมหานคร สั่งให้ผู้ฟ้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จากการที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดทางอาญากล่าวหาว่าขณะผู้ฟ้องดำรงตำแหน่ง รมช.มหาดไทย มีพฤติการณ์ร่วมกับ บริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาห์รซอยก์ จํากัด ประเทศออสเตรีย กระทำความผิดเกี่ยวกับการจัดซื้อรถเรือดับเพลิงฯ ซึ่งผู้ฟ้องได้อุทธรณ์คำสั่ง กทม.ดังกล่าว แต่ผู้ถูกฟ้องมีคำสั่งยกอุทธรณ์จึงนำคดีมายื่นฟ้อง
ภายหลังองค์คณะฯ ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีครั้งแรกเสร็จ หลังจากที่ตุลาการผู้แถลงคดีได้แถลงความเห็นส่วนตัวเสร็จสิ้นทั้ง 3 คดีแล้ว ศาลก็ได้นัดฟังคำพิพากษาทั้ง 3 คดีในวันที่ 30 เมษายนนี้ ขณะที่ความเห็นของตุลาการผู้แถลงคดีดังกล่าว เป็นการเสนอความเห็นส่วนตัวตามขั้นตอนกฎหมายคดีปกครอง ซึ่งความเห็นนั้นไม่ผูกพันการมีคำวินิจฉัยขององค์คณะตุลาการในการพิพากษาคดีนี้แต่อย่างใด
ทั้งนี้ ภายหลังที่องค์คณะได้ไต่สวนเสร็จสิ้น นายอนุสรณ์ ธีระภัทรานันท์ ตุลาการผู้แถลงคดี ซึ่งได้อยู่ร่วมพิจารณามาตั้งแต่ต้น ก็ได้แถลงด้วยวาจา ซึ่งเป็นความเห็นส่วนตนไม่ผูกพันกับองค์คณะ โดยในคดีต่อ นายวัฒนา ว่า การจัดซื้อดังกล่าวมีมูลค่าสูงเกิน 300 ล้านบาท จึงต้องขอสนับสนุนงบประมาณจากคณะรัฐมนตรี โดยมีกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ดำเนินการ แต่ขั้นตอนการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเป็นหน้าที่ของกรมการค้าต่างประเทศ ผู้ฟ้องไม่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้อง อีกทั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ ป.ป.ช.เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนั้น ศาลฎีกาฯ ก็ได้มีคำพิพากษายกฟ้องผู้ฟ้องในคดีดังกล่าวแล้ว ตุลาการผู้แถลงคดี จึงเห็นว่าพยานหลักฐานฟังไม่ได้ว่าผู้ฟ้องทำให้ผู้ถูกฟ้องได้รับความเสียหาย ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ถูกฟ้อง จึงเห็นควรให้องค์คณะพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของกรุงเทพมหานครดังกล่าว
ส่วนคดีที่ 2 กรุงเทพมหานคร ยื่นฟ้อง คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ภรรยานายสมัคร อดีตผู้ว่าฯ กทม. กับพวกนั้น ตุลาการผู้แถลงคดี ได้มีความเห็น ว่า การทำสัญญาซื้อขายลักษณะรัฐต่อรัฐที่เป็นเรื่องระหว่างประเทศนั้น ต้องให้ รมว. ต่างประเทศ เป็นผู้ลงนาม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก รมว.ต่างประเทศ และต้องมีการตรวจเปรียบเทียบราคากับผู้ขายรายอื่นด้วย แต่นายสมัคร อดีตผู้ว่าฯ กทม.กลับเร่งเสนอเรื่องดังกล่าวทั้งที่ไม่ได้มีการเปรียบเทียบราคา ต่อนายโภคิน พลกุล รมว.มหาดไทยขณะนั้นเพื่อให้ความเห็นชอบ ทำให้ กทม.ต้องซื้อรถและเรือดับเพลิงในราคาที่สูงถึงร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับผู้ค้ารายอื่น กทม.ต้องจ่ายเงินสูงเกินจริงถึง 1,003 ล้านกว่าบาท จึงเห็นว่า นายสมัคร ต้องรับผิดชอบความเสียหายร้อยละ 30 ของวงเงินดังกล่าวคิดเป็นเงิน 300 กว่าล้านบาท ดังนั้นจึงเห็นควรให้พิพากษาว่าคุณหญิงสุรัตน์ ภรรยานายสมัคร (เสียชีวิตแล้ว) ผู้ถูกฟ้องในฐานะผู้รับมรดกต้องรับผิดชอบวงเงินดังกล่าว และจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีตั้งแต่วันที่ฟ้องเสร็จจนถึงวันที่จ่ายเงินครบจำนวน แต่ถ้าข้อพิพาทในกรณีดังกล่าวที่อยู่ในศาลทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ และ อนุญาโตตุลาการ ทำให้ค่าเสียหายลดลง ค่าสินไหมก็ลดลงด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ในคำฟ้องที่ 3 เป็นคำฟ้องของนายประชา มาลีนนท์ อดีตรมช.มหาดไทย ยื่นฟ้อง กรุงเทพมหานครกับพวกรวม 2 คนนั้น ตุลาการผู้แถลงคดีมีความเห็นว่า นายประชา ผู้ฟ้อง ขณะที่ดำรงตำแหน่ง รมช.มหาดไทย เป็นผู้ดูแลการจัดซื้อดังกล่าว ในฐานะที่เป็นผู้ควบคุม กทม. กรณีที่ กทม. ไม่ดำเนินการจัดซื้อตามระเบียบแต่ผู้ฟ้องไม่ตรวจสอบและปล่อยให้ไม่มีการเปรียบเทียบราคากับผู้ขายรายอื่นถือเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นผลให้ผู้ถูกฟ้องต้องซื้อรถเรือดับเพลิงแพงเกินกว่าที่ควรจะเป็นถึงร้อยละ 15 หรือคิดเป็น 1,003 ล้านกว่าบาท จึงเห็นว่าผู้ฟ้องในฐานะผู้กำกับดูแลกทม. ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนวงเงินที่แพงกว่าที่ควรจะเป็น โดยคิดเป็นร้อยละ 25 ของวงเงินดังกล่าว คิดเป็น 250 ล้านบาทเศษทั้งนี้หากมีข้อพิพาทในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และอนุญาโตตุลาการ ที่อาจมีผลให้ความเสียหายลดลง ก็ให้มูลค่าค่าสินไหมที่ผู้ฟ้องควรจ่ายก็ต้องลดลงด้วยเช่นกัน
ส่วนคำสั่งของ กทม.ที่ให้ผู้ฟ้องชดใช้ค่าสินใหมเกินกว่าจำนวนดังกล่าวถือว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
คำฟ้องของกรุงเทพมหานคร ยื่นฟ้องคุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ภรรยานายสมัคร อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับพวก ซึ่งเป็นผู้รับมรดกรวม 3 คน เป็นผู้ถูกฟ้อง เพื่อให้ผู้ถูกฟ้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย กรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช อดีต ผู้ว่าฯ กทม. กระทำความผิดเกี่ยวกับการจัดซื้อรถเรือดับเพลิงดังกล่าวซึ่ง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดว่าร่วมกับกับ บริษัท สไตเออร์ ฯ กระทำความผิดโดยร่วมกันกำหนดราคาให้สูงเกินจริง
นอกจากนี้ ยังมีคำฟ้องของนายประชา มาลีนนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานครกับพวกรวม 2 คนเป็นผู้ถูกฟ้อง เรื่องกระทำการออกคำสั่งโดยมิชอบ ที่กรุงเทพมหานคร สั่งให้ผู้ฟ้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จากการที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดทางอาญากล่าวหาว่าขณะผู้ฟ้องดำรงตำแหน่ง รมช.มหาดไทย มีพฤติการณ์ร่วมกับ บริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาห์รซอยก์ จํากัด ประเทศออสเตรีย กระทำความผิดเกี่ยวกับการจัดซื้อรถเรือดับเพลิงฯ ซึ่งผู้ฟ้องได้อุทธรณ์คำสั่ง กทม.ดังกล่าว แต่ผู้ถูกฟ้องมีคำสั่งยกอุทธรณ์จึงนำคดีมายื่นฟ้อง
ภายหลังองค์คณะฯ ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีครั้งแรกเสร็จ หลังจากที่ตุลาการผู้แถลงคดีได้แถลงความเห็นส่วนตัวเสร็จสิ้นทั้ง 3 คดีแล้ว ศาลก็ได้นัดฟังคำพิพากษาทั้ง 3 คดีในวันที่ 30 เมษายนนี้ ขณะที่ความเห็นของตุลาการผู้แถลงคดีดังกล่าว เป็นการเสนอความเห็นส่วนตัวตามขั้นตอนกฎหมายคดีปกครอง ซึ่งความเห็นนั้นไม่ผูกพันการมีคำวินิจฉัยขององค์คณะตุลาการในการพิพากษาคดีนี้แต่อย่างใด
ทั้งนี้ ภายหลังที่องค์คณะได้ไต่สวนเสร็จสิ้น นายอนุสรณ์ ธีระภัทรานันท์ ตุลาการผู้แถลงคดี ซึ่งได้อยู่ร่วมพิจารณามาตั้งแต่ต้น ก็ได้แถลงด้วยวาจา ซึ่งเป็นความเห็นส่วนตนไม่ผูกพันกับองค์คณะ โดยในคดีต่อ นายวัฒนา ว่า การจัดซื้อดังกล่าวมีมูลค่าสูงเกิน 300 ล้านบาท จึงต้องขอสนับสนุนงบประมาณจากคณะรัฐมนตรี โดยมีกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ดำเนินการ แต่ขั้นตอนการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเป็นหน้าที่ของกรมการค้าต่างประเทศ ผู้ฟ้องไม่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้อง อีกทั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ ป.ป.ช.เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนั้น ศาลฎีกาฯ ก็ได้มีคำพิพากษายกฟ้องผู้ฟ้องในคดีดังกล่าวแล้ว ตุลาการผู้แถลงคดี จึงเห็นว่าพยานหลักฐานฟังไม่ได้ว่าผู้ฟ้องทำให้ผู้ถูกฟ้องได้รับความเสียหาย ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ถูกฟ้อง จึงเห็นควรให้องค์คณะพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของกรุงเทพมหานครดังกล่าว
ส่วนคดีที่ 2 กรุงเทพมหานคร ยื่นฟ้อง คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ภรรยานายสมัคร อดีตผู้ว่าฯ กทม. กับพวกนั้น ตุลาการผู้แถลงคดี ได้มีความเห็น ว่า การทำสัญญาซื้อขายลักษณะรัฐต่อรัฐที่เป็นเรื่องระหว่างประเทศนั้น ต้องให้ รมว. ต่างประเทศ เป็นผู้ลงนาม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก รมว.ต่างประเทศ และต้องมีการตรวจเปรียบเทียบราคากับผู้ขายรายอื่นด้วย แต่นายสมัคร อดีตผู้ว่าฯ กทม.กลับเร่งเสนอเรื่องดังกล่าวทั้งที่ไม่ได้มีการเปรียบเทียบราคา ต่อนายโภคิน พลกุล รมว.มหาดไทยขณะนั้นเพื่อให้ความเห็นชอบ ทำให้ กทม.ต้องซื้อรถและเรือดับเพลิงในราคาที่สูงถึงร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับผู้ค้ารายอื่น กทม.ต้องจ่ายเงินสูงเกินจริงถึง 1,003 ล้านกว่าบาท จึงเห็นว่า นายสมัคร ต้องรับผิดชอบความเสียหายร้อยละ 30 ของวงเงินดังกล่าวคิดเป็นเงิน 300 กว่าล้านบาท ดังนั้นจึงเห็นควรให้พิพากษาว่าคุณหญิงสุรัตน์ ภรรยานายสมัคร (เสียชีวิตแล้ว) ผู้ถูกฟ้องในฐานะผู้รับมรดกต้องรับผิดชอบวงเงินดังกล่าว และจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีตั้งแต่วันที่ฟ้องเสร็จจนถึงวันที่จ่ายเงินครบจำนวน แต่ถ้าข้อพิพาทในกรณีดังกล่าวที่อยู่ในศาลทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ และ อนุญาโตตุลาการ ทำให้ค่าเสียหายลดลง ค่าสินไหมก็ลดลงด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ในคำฟ้องที่ 3 เป็นคำฟ้องของนายประชา มาลีนนท์ อดีตรมช.มหาดไทย ยื่นฟ้อง กรุงเทพมหานครกับพวกรวม 2 คนนั้น ตุลาการผู้แถลงคดีมีความเห็นว่า นายประชา ผู้ฟ้อง ขณะที่ดำรงตำแหน่ง รมช.มหาดไทย เป็นผู้ดูแลการจัดซื้อดังกล่าว ในฐานะที่เป็นผู้ควบคุม กทม. กรณีที่ กทม. ไม่ดำเนินการจัดซื้อตามระเบียบแต่ผู้ฟ้องไม่ตรวจสอบและปล่อยให้ไม่มีการเปรียบเทียบราคากับผู้ขายรายอื่นถือเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นผลให้ผู้ถูกฟ้องต้องซื้อรถเรือดับเพลิงแพงเกินกว่าที่ควรจะเป็นถึงร้อยละ 15 หรือคิดเป็น 1,003 ล้านกว่าบาท จึงเห็นว่าผู้ฟ้องในฐานะผู้กำกับดูแลกทม. ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนวงเงินที่แพงกว่าที่ควรจะเป็น โดยคิดเป็นร้อยละ 25 ของวงเงินดังกล่าว คิดเป็น 250 ล้านบาทเศษทั้งนี้หากมีข้อพิพาทในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และอนุญาโตตุลาการ ที่อาจมีผลให้ความเสียหายลดลง ก็ให้มูลค่าค่าสินไหมที่ผู้ฟ้องควรจ่ายก็ต้องลดลงด้วยเช่นกัน
ส่วนคำสั่งของ กทม.ที่ให้ผู้ฟ้องชดใช้ค่าสินใหมเกินกว่าจำนวนดังกล่าวถือว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ