ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคำร้องกรณีผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 245(1) ว่าการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งคณะตุลาการได้มอบหมายให้นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ดำเนินกระบวนวิธีการพิจารณา เริ่มการไต่สวนผู้แทน 3 ฝ่าย คือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการการเลือกตั้ง และผู้แทนนายกรัฐมนตรี
โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ขึ้นชี้แจงเป็นคนแรก ยืนยันถึงอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่ามีอำนาจด้วยความชอบตามกฎหมายในการยื่นคำร้องให้ศาลพิจารณาวินิจฉัย พระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งถือเป็นกฎหมายหนึ่งที่ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจตรวจสอบ พร้อมชี้แจงข้อเท็จจริงตามคำร้อง อีกทั้งเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งท่ามกลางวิกฤตความแตกแยก มีผลกระทบต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพราะการเลือกตั้งที่ล้มเหลวทำให้อำนาจนิติบัญญัติไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ การให้มีรัฐบาลรักษาการต่อไปจนถึงไตรมาสที่ 2 จะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและจีดีพีของประเทศ
ทั้งนี้ เชื่อว่ารัฐบาล และคณะกรรมการการเลือกตั้งอยู่ในวิสัยที่สามารถจัดการเลือกตั้งใหม่ ให้เป็นไปอย่างสุจริตและเที่ยงธรรม
ด้านนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทนนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงโต้แย้งว่า คำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดินไม่เข้าข่ายการร้องตามมาตรา 245 (1) และผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจยื่นคำร้องให้ศาลตีความ การจัดการเลือกตั้งในส่วนที่เหลือเป็นหน้าที่ของ กกต.ในการดำเนินการรับสมัคร และจัดให้ประชาชนได้ไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ ไม่ถือว่าเป็นการเลือกตั้ง 2 วัน โดยเฉพาะใน 28 เขตเลือกตั้ง เพราะเขตเลือกตั้งดังกล่าวยังไม่เคยมีการลงคะแนนมาก่อน
พร้อมยืนยันว่า อำนาจจัดการเลือกตั้งเป็นอำนาจของ กกต. และการดำเนินการเลือกตั้งที่เหลืออยู่ให้แล้วเสร็จ จะใช้เวลาและงบประมาณน้อยกว่าการกลับไปเริ่มกระบวนการจัดการเลือกตั้งใหม่ทั้งหมด และแม้การเลือกตั้งจะไม่ได้ยุติปัญหาความแตกแยกในสังคม แต่การจัดการเลือกตั้งจะเป็นกลไกสำคัญตามรัฐธรรมนูญที่ทำให้ประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ได้แสดงความต้องการของตัวเอง
จากนั้น นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต.ได้ชี้แจงข้อเท็จจริง และการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ในการจัดการเลือกตั้ง
โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ขึ้นชี้แจงเป็นคนแรก ยืนยันถึงอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่ามีอำนาจด้วยความชอบตามกฎหมายในการยื่นคำร้องให้ศาลพิจารณาวินิจฉัย พระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งถือเป็นกฎหมายหนึ่งที่ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจตรวจสอบ พร้อมชี้แจงข้อเท็จจริงตามคำร้อง อีกทั้งเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งท่ามกลางวิกฤตความแตกแยก มีผลกระทบต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพราะการเลือกตั้งที่ล้มเหลวทำให้อำนาจนิติบัญญัติไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ การให้มีรัฐบาลรักษาการต่อไปจนถึงไตรมาสที่ 2 จะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและจีดีพีของประเทศ
ทั้งนี้ เชื่อว่ารัฐบาล และคณะกรรมการการเลือกตั้งอยู่ในวิสัยที่สามารถจัดการเลือกตั้งใหม่ ให้เป็นไปอย่างสุจริตและเที่ยงธรรม
ด้านนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทนนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงโต้แย้งว่า คำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดินไม่เข้าข่ายการร้องตามมาตรา 245 (1) และผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจยื่นคำร้องให้ศาลตีความ การจัดการเลือกตั้งในส่วนที่เหลือเป็นหน้าที่ของ กกต.ในการดำเนินการรับสมัคร และจัดให้ประชาชนได้ไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ ไม่ถือว่าเป็นการเลือกตั้ง 2 วัน โดยเฉพาะใน 28 เขตเลือกตั้ง เพราะเขตเลือกตั้งดังกล่าวยังไม่เคยมีการลงคะแนนมาก่อน
พร้อมยืนยันว่า อำนาจจัดการเลือกตั้งเป็นอำนาจของ กกต. และการดำเนินการเลือกตั้งที่เหลืออยู่ให้แล้วเสร็จ จะใช้เวลาและงบประมาณน้อยกว่าการกลับไปเริ่มกระบวนการจัดการเลือกตั้งใหม่ทั้งหมด และแม้การเลือกตั้งจะไม่ได้ยุติปัญหาความแตกแยกในสังคม แต่การจัดการเลือกตั้งจะเป็นกลไกสำคัญตามรัฐธรรมนูญที่ทำให้ประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ได้แสดงความต้องการของตัวเอง
จากนั้น นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต.ได้ชี้แจงข้อเท็จจริง และการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ในการจัดการเลือกตั้ง