นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า หลังจากคณะกรรมการ (บอร์ด) บีโอไอ หมดวาระตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 และยังไม่สามารถตั้งบอร์ดชุดใหม่ได้ เนื่องจากติดปัญหาทางการเมือง ทำให้ปีนี้จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2557 มีโครงการที่มีมูลค่าสูงกว่า 200 ล้านบาท ที่ต้องให้บอร์ดเป็นผู้อนุมัติส่งเสริมการลงทุน ค้างอยู่ประมาณ 380 คำขอ มูลค่ารวม 500,000 ล้านบาท ซึ่งในนี้มีสัดส่วนนักลงทุนต่างชาติอยู่จำนวนมาก โดยต่างชาติที่มีสัดส่วนสูงสุด คือ ญี่ปุ่น ประมาณร้อยละ 10 ของมูลค่าคำขอที่ค้างอยู่ หรือราว 50,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ส่งสัญญาณว่า นักลงทุนที่ยื่นคำขอเข้ามาทั้งหมดที่ค้างการอนุมัติในขณะนี้ ไม่มีรายใดที่ขอถอนคำขอ จึงมองว่านักลงทุนยังรออยู่ว่า บอร์ดบีโอไอจะจัดตั้งได้เมื่อใด และน่าจะยังอยู่ในวิสัยที่รอได้ ไม่ได้มีผลกระทบอย่างที่หลายฝ่ายกังวลในตอนนี้ว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ
สำหรับปัญหาที่ยังไม่สามารถตั้งบอร์ดบีโอไอชุดใหม่ได้นั้น ขณะนี้บีโอไอได้มีข้อหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า การตั้งบอร์ดชุดใหม่เพื่ออนุมัติโครงการที่ขอรับการส่งเสริมฯ ถือเป็นการสร้างข้อผูกพันรัฐบาลรักษาการต่อเนื่องไปยังรัฐบาลชุดใหม่ จนเป็นการทำผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีกระยะ แต่ไม่น่านานมาก เนื่องจากก่อนหน้านี้ บีโอไอได้มีข้อหารือประเด็นเดียวกันไปยังคณะกรรมการการเลือกกตั้ง (กกต.) ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 เดือนก่อนที่ กกต.ตอบกลับมาว่า การตั้งบอร์ดสามารถทำได้แต่ต้องให้แน่ใจว่าไม่เป็นการสร้างข้อผูกพันต่อเนื่องไปยังรัฐบาลถัดไป
เลขาธิการบีโอไอ ยังกล่าวว่า สำหรับเป้าหมายขอรับส่งเสริมฯ ปี 2557 เดิมคาดการณ์ไว้ที่ 9 แสนล้านบาท แต่ถึงขณะนี้สถานการณ์การเมืองยังไม่ดีขึ้น สิ้นเดือนมีนาคมนี้ จึงมีแผนที่จะทบทวนเป้าประมาณการดังกล่าวว่ายังมีความเป็นไปได้เหลืออยู่มากน้อยเพียงใด
อย่างไรก็ตาม บีโอไอยังคาดหวังว่าจะมีหลายนโยบายที่จะกระตุ้นให้มีการยื่นขอรับส่งเสริมฯ เข้ามามาก ไม่ว่าจะเป็นโครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) รุ่นที่ 2 ที่บีโอไอเปิดให้ยื่นขอรับส่งเสริมฯ ภายในเดือนมีนาคมนี้ และมีหลายค่ายรถยนต์ แสดงความสนใจโครงการนี้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ส่งสัญญาณว่า นักลงทุนที่ยื่นคำขอเข้ามาทั้งหมดที่ค้างการอนุมัติในขณะนี้ ไม่มีรายใดที่ขอถอนคำขอ จึงมองว่านักลงทุนยังรออยู่ว่า บอร์ดบีโอไอจะจัดตั้งได้เมื่อใด และน่าจะยังอยู่ในวิสัยที่รอได้ ไม่ได้มีผลกระทบอย่างที่หลายฝ่ายกังวลในตอนนี้ว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ
สำหรับปัญหาที่ยังไม่สามารถตั้งบอร์ดบีโอไอชุดใหม่ได้นั้น ขณะนี้บีโอไอได้มีข้อหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า การตั้งบอร์ดชุดใหม่เพื่ออนุมัติโครงการที่ขอรับการส่งเสริมฯ ถือเป็นการสร้างข้อผูกพันรัฐบาลรักษาการต่อเนื่องไปยังรัฐบาลชุดใหม่ จนเป็นการทำผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีกระยะ แต่ไม่น่านานมาก เนื่องจากก่อนหน้านี้ บีโอไอได้มีข้อหารือประเด็นเดียวกันไปยังคณะกรรมการการเลือกกตั้ง (กกต.) ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 เดือนก่อนที่ กกต.ตอบกลับมาว่า การตั้งบอร์ดสามารถทำได้แต่ต้องให้แน่ใจว่าไม่เป็นการสร้างข้อผูกพันต่อเนื่องไปยังรัฐบาลถัดไป
เลขาธิการบีโอไอ ยังกล่าวว่า สำหรับเป้าหมายขอรับส่งเสริมฯ ปี 2557 เดิมคาดการณ์ไว้ที่ 9 แสนล้านบาท แต่ถึงขณะนี้สถานการณ์การเมืองยังไม่ดีขึ้น สิ้นเดือนมีนาคมนี้ จึงมีแผนที่จะทบทวนเป้าประมาณการดังกล่าวว่ายังมีความเป็นไปได้เหลืออยู่มากน้อยเพียงใด
อย่างไรก็ตาม บีโอไอยังคาดหวังว่าจะมีหลายนโยบายที่จะกระตุ้นให้มีการยื่นขอรับส่งเสริมฯ เข้ามามาก ไม่ว่าจะเป็นโครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) รุ่นที่ 2 ที่บีโอไอเปิดให้ยื่นขอรับส่งเสริมฯ ภายในเดือนมีนาคมนี้ และมีหลายค่ายรถยนต์ แสดงความสนใจโครงการนี้