นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า สถิติการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 57 มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริม 188 โครงการ ลดลง 46% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าเงินลงทุนรวม 63,100 ล้านบาท ลดลง 58% เนื่องจากนักลงทุนส่วนหนึ่งรอดูสถานการณ์ภายในประเทศของไทย ส่วนโครงการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ ยื่นขอรับส่งเสริม 121 โครงการ ลดลง 40 % ขณะที่มูลค่าเงินลงทุนมี 47,296 ล้านบาท ลดลง 43%
โดยนักลงทุนส่วนหนึ่งอาจยังรอดูสถานการณ์การเมืองทื่ยืดเยื้อของไทยก่อนว่า จะเป็นอย่างไร จึงทำให้นักลงทุนกลุ่มนี้ชะลอแผนการยื่นขอรับส่งเสริมออกไปก่อน แต่ยังมีนักลงทุนอีกหลายกลุ่ม รวมทั้งโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ได้ยื่นขอรับส่งเสริมเข้ามาในช่วงนี้ด้วยเช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่ายังมีกลุ่มนักลงทุนที่เดินหน้าขยายการลงทุนในประเทศไทยอยู่ ขณะเดียวกัน ยังไม่พบสัญญาณใดๆ ที่นักลงทุนจะถอนการลงทุนหรือย้ายฐานการผลิตไปจากไทย
ทั้งนี้ หากพิจารณาการยื่นขอรับส่งเสริมรายอุตสาหกรรม มีหลายกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังมีการขยายการลงทุนในระดับหมื่นล้านบาท เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กระดาษ และพลาสติก มีมูลค่าเงินลงทุนของโครงการทั้งหมดที่ยื่นขอรับส่งเสริม 22,500 ล้านบาท กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องจักร มีมูลค่าเงินลงทุน 17,400 ล้านบาท และกลุ่มอุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุน 13,500 ล้านบาท
ส่วนนักลงทุนต่างชาติ แม้จะลงทุนลดลง โดยเฉพาะนักลงทุนจากญี่ปุ่น ยื่นขอรับส่งเสริม 61 โครงการ ลดลง 42 % มูลค่าเงินลงทุนรวม 17,379 ล้านบาท ลดลง 63% แต่มีการลงทุนจากอีกหลายชาติที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เช่น สหรัฐอเมริกา มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 9,761 ล้านบาท สิงคโปร์ มีมูลค่าเงินลงทุน 2,195 ล้านบาท ฮ่องกง มีมูลค่าเงินลงทุน 2,128 ล้านบาท เนเธอร์แลนด์ มีมูลค่าเงินลงทุน 1,998 ล้านบาท และการลงทุนจากจีน มีมูลค่าเงินลงทุน 1,461 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ปี 57 บีโอไอยังมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนอื่นๆ ที่จะช่วยดึงดูดการลงทุน เช่น โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงาน หรือ อีโคคาร์ ระยะ 2 ซึ่งขณะนี้มีการยื่นขอรับส่งเสริมเข้ามาแล้ว และจะเปิดให้ค่ายรถยนต์ยื่นคำขอการลงทุนได้จนถึงสิ้นเดือนมีนาคมนี้ รวมทั้งมาตรการส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการเอสเอ็มอี ซึ่งจะสิ้นสุดการให้ส่งเสริมในสิ้นปีนี้
โดยนักลงทุนส่วนหนึ่งอาจยังรอดูสถานการณ์การเมืองทื่ยืดเยื้อของไทยก่อนว่า จะเป็นอย่างไร จึงทำให้นักลงทุนกลุ่มนี้ชะลอแผนการยื่นขอรับส่งเสริมออกไปก่อน แต่ยังมีนักลงทุนอีกหลายกลุ่ม รวมทั้งโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ได้ยื่นขอรับส่งเสริมเข้ามาในช่วงนี้ด้วยเช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่ายังมีกลุ่มนักลงทุนที่เดินหน้าขยายการลงทุนในประเทศไทยอยู่ ขณะเดียวกัน ยังไม่พบสัญญาณใดๆ ที่นักลงทุนจะถอนการลงทุนหรือย้ายฐานการผลิตไปจากไทย
ทั้งนี้ หากพิจารณาการยื่นขอรับส่งเสริมรายอุตสาหกรรม มีหลายกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังมีการขยายการลงทุนในระดับหมื่นล้านบาท เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กระดาษ และพลาสติก มีมูลค่าเงินลงทุนของโครงการทั้งหมดที่ยื่นขอรับส่งเสริม 22,500 ล้านบาท กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องจักร มีมูลค่าเงินลงทุน 17,400 ล้านบาท และกลุ่มอุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุน 13,500 ล้านบาท
ส่วนนักลงทุนต่างชาติ แม้จะลงทุนลดลง โดยเฉพาะนักลงทุนจากญี่ปุ่น ยื่นขอรับส่งเสริม 61 โครงการ ลดลง 42 % มูลค่าเงินลงทุนรวม 17,379 ล้านบาท ลดลง 63% แต่มีการลงทุนจากอีกหลายชาติที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เช่น สหรัฐอเมริกา มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 9,761 ล้านบาท สิงคโปร์ มีมูลค่าเงินลงทุน 2,195 ล้านบาท ฮ่องกง มีมูลค่าเงินลงทุน 2,128 ล้านบาท เนเธอร์แลนด์ มีมูลค่าเงินลงทุน 1,998 ล้านบาท และการลงทุนจากจีน มีมูลค่าเงินลงทุน 1,461 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ปี 57 บีโอไอยังมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนอื่นๆ ที่จะช่วยดึงดูดการลงทุน เช่น โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงาน หรือ อีโคคาร์ ระยะ 2 ซึ่งขณะนี้มีการยื่นขอรับส่งเสริมเข้ามาแล้ว และจะเปิดให้ค่ายรถยนต์ยื่นคำขอการลงทุนได้จนถึงสิ้นเดือนมีนาคมนี้ รวมทั้งมาตรการส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการเอสเอ็มอี ซึ่งจะสิ้นสุดการให้ส่งเสริมในสิ้นปีนี้