เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบบี-52 ของอเมริกา 2 ลำ บินผ่านเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ (ADIZ) ของจีนโดยไม่แจ้งล่วงหน้า โดยที่ปักกิ่งไม่ได้แสดงปฏิกิริยาตอบโต้เผชิญหน้าแต่อย่างใด ขณะที่สายการบินพาณิชย์ญี่ปุ่นก็กลับลำหันมาปฏิเสธกฎใหม่ของแดนมังกรเช่นเดียวกันในวันพุธ (28 พ.ย.) อย่างไรก็ตาม ทางการจีนยังยืนยันว่ามีความสามารถที่จะบังคับให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของตน
การที่สหรัฐฯส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกลขนาดยักษ์บินผ่านเข้ามาเช่นนี้ คือการส่งสัญญาณเตือนอย่างชัดเจนว่า วอชิงตันจะท้าทายและผลักดันกลับ ในสิ่งที่วอชิงตันเห็นว่าเป็นจุดยืนอันก้าวร้าวของปักกิ่งในภูมิภาคแถบนี้
ปฏิกิริยาตอบโต้แบบไม่เผชิญหน้าของแดนมังกรคราวนี้ ก่อให้เกิดเสียงดูหมิ่นดูแคลนจากนักวิเคราะห์และชาวเน็ตจีนจำนวนหนึ่งว่า เป็นการแสดงความอ่อนแอ ทว่าพวกนักวิเคราะห์อื่นๆ มองว่า ในทางเป็นจริงแล้วปักกิ่งอาจจะไม่เคยมีความตั้งใจที่จะบังคับให้นานาชาติยอมรับเขตของตนด้วยวิธีใช้กำลัง
“รัฐบาลจีนมีเจตจำนงและความสามรถในการปกป้องคุ้มครองอธิปไตยแห่งชาติและความมั่นคงของเรา” ฉิน กัง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวในระหว่างการแถลงข่าวตามปกติเมื่อวันพุธ และบอกด้วยว่า “เรามีความสามารถที่จะดำเนินการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพเหนือเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศในทะเลจีนตะวันออกเช่นกัน”
ครั้นเมื่อถูกถามว่าจะตอบโต้การล่วงละเมิด ADIZ ในอนาคตอย่างไร ฉินตอบว่า ปักกิ่งจะตอบโต้อย่างเหมาะสม ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และระดับการคุกคาม
จีนประกาศและบังคับใช้ ADIZ ตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย ครอบคลุมอาณาบริเวณเกือบทั้งหมดของทะเลจีนตะวันออก ซึ่งรวมถึงหมู่เกาะเซงกากุที่อยู่ในความควบคุมของญี่ปุ่น แต่จีนอ้างสิทธิ์เช่นกันและเรียกว่าเตี้ยวอี๋ว์
ทั้งนี้ เขต ADIZ ไม่ใช่น่านฟ้าหรือเขตอธิปไตย และก็ไม่ใช่เขตห้ามบิน แต่เป็นมาตรการที่ชาติใหญ่จำนวนหนึ่งประกาศ โดยอ้างว่าเพื่อจุดประสงค์ที่จะมีเวลาเตรียมตัวรับมือเมื่อมีอากาศยานไม่ทราบฝ่ายบินตรงเข้ามา โดยที่สหรัฐฯได้ประกาศพื้นที่เช่นนี้รวม 4 เขต ได้แก่ รอบๆ ดินแดนของสหรัฐฯบนภาคพื้นทวีป, อะแลสกา, ฮาวาย, และเกาะกวม เช่นเดียวกับญี่ปุ่นซึ่งประกาศเขต ADIZ มาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 รวมทั้งเพิ่งขยายเขตดังกล่าวไปทางตะวันตกอีกราว 22 ก.ม.เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาด้วย
การที่สหรัฐฯส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกลขนาดยักษ์บินผ่านเข้ามาเช่นนี้ คือการส่งสัญญาณเตือนอย่างชัดเจนว่า วอชิงตันจะท้าทายและผลักดันกลับ ในสิ่งที่วอชิงตันเห็นว่าเป็นจุดยืนอันก้าวร้าวของปักกิ่งในภูมิภาคแถบนี้
ปฏิกิริยาตอบโต้แบบไม่เผชิญหน้าของแดนมังกรคราวนี้ ก่อให้เกิดเสียงดูหมิ่นดูแคลนจากนักวิเคราะห์และชาวเน็ตจีนจำนวนหนึ่งว่า เป็นการแสดงความอ่อนแอ ทว่าพวกนักวิเคราะห์อื่นๆ มองว่า ในทางเป็นจริงแล้วปักกิ่งอาจจะไม่เคยมีความตั้งใจที่จะบังคับให้นานาชาติยอมรับเขตของตนด้วยวิธีใช้กำลัง
“รัฐบาลจีนมีเจตจำนงและความสามรถในการปกป้องคุ้มครองอธิปไตยแห่งชาติและความมั่นคงของเรา” ฉิน กัง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวในระหว่างการแถลงข่าวตามปกติเมื่อวันพุธ และบอกด้วยว่า “เรามีความสามารถที่จะดำเนินการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพเหนือเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศในทะเลจีนตะวันออกเช่นกัน”
ครั้นเมื่อถูกถามว่าจะตอบโต้การล่วงละเมิด ADIZ ในอนาคตอย่างไร ฉินตอบว่า ปักกิ่งจะตอบโต้อย่างเหมาะสม ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และระดับการคุกคาม
จีนประกาศและบังคับใช้ ADIZ ตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย ครอบคลุมอาณาบริเวณเกือบทั้งหมดของทะเลจีนตะวันออก ซึ่งรวมถึงหมู่เกาะเซงกากุที่อยู่ในความควบคุมของญี่ปุ่น แต่จีนอ้างสิทธิ์เช่นกันและเรียกว่าเตี้ยวอี๋ว์
ทั้งนี้ เขต ADIZ ไม่ใช่น่านฟ้าหรือเขตอธิปไตย และก็ไม่ใช่เขตห้ามบิน แต่เป็นมาตรการที่ชาติใหญ่จำนวนหนึ่งประกาศ โดยอ้างว่าเพื่อจุดประสงค์ที่จะมีเวลาเตรียมตัวรับมือเมื่อมีอากาศยานไม่ทราบฝ่ายบินตรงเข้ามา โดยที่สหรัฐฯได้ประกาศพื้นที่เช่นนี้รวม 4 เขต ได้แก่ รอบๆ ดินแดนของสหรัฐฯบนภาคพื้นทวีป, อะแลสกา, ฮาวาย, และเกาะกวม เช่นเดียวกับญี่ปุ่นซึ่งประกาศเขต ADIZ มาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 รวมทั้งเพิ่งขยายเขตดังกล่าวไปทางตะวันตกอีกราว 22 ก.ม.เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาด้วย