หลายประเทศร่วมขบวนแดนอาทิตย์อุทัย วิพากษ์วิจารณ์พญามังกรว่า พยายามกำหนดเขตควบคุมใหม่บนน่านฟ้าเสรี อย่างไรก็ตาม สายการบินชั้นนำของญี่ปุ่นเองกลับแถลงในวันอังคาร (26 พ.ย.) ว่า ยินยอมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของจีน เมื่อบินผ่านเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศเหนือทะเลจีนตะวันออก
เขต ADIZ ไม่ใช่น่านฟ้าหรือเขตอธิปไตย และก็ไม่ใช่เขตห้ามบิน แต่เป็นมาตรการที่ชาติใหญ่จำนวนหนึ่งประกาศ โดยอ้างว่าเพื่อจุดประสงค์ที่จะมีเวลาเตรียมตัวรับมือเมื่อมีอากาศยานไม่ทราบฝ่ายบินตรงเข้ามา ทั้งนี้ สหรัฐฯได้ประกาศพื้นที่เช่นนี้รวม 4 เขต ได้แก่ รอบๆ ดินแดนของสหรัฐฯบนภาคพื้นทวีป, อะแลสกา, ฮาวาย, และเกาะกวม เช่นเดียวกับญี่ปุ่นซึ่งประกาศเขต ADIZ มาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 รวมทั้งเพิ่งขยายเขตดังกล่าวไปทางตะวันตกอีกราว 22 ก.ม.เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาด้วย
อย่างไรก็ดี เอเอฟพีบอกว่ามีข้อแตกต่างระหว่างเขต ADIZ ของจีนและญี่ปุ่นตรงที่ว่า แดนมังกรกำหนดให้เครื่องบินทุกลำที่บินผ่านเขตดังกล่าวของตนในทะเลจีนตะวันออก ต้องแสดงตนด้วยการระบุสัญชาติ ส่งแผนการบินให้จีน และคงการสื่อสารผ่านระบบวิทยุสองทางเอาไว้ ขณะที่แดนอาทิตย์อุทัยไม่ได้เรียกร้องเช่นนี้ เว้นแต่เครื่องบินที่กำลังจะลงจอดในญี่ปุ่น
รัฐบาลญี่ปุ่นนั้นได้แสดงการคัดค้านการประกาศของจีนอย่างสุดแรง โดยเมื่อวันจันทร์ (25) ได้เรียกเอกอัครราชทูตจีนเข้าพบเพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรการดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า เป็นการคุกคามเสรีภาพในการบิน แต่ถูกตอกกลับว่า โตเกียวต่างหากที่ควรเลิกเรียกร้องไร้เหตุผล
นอกจากประเทศคู่กรณีที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเขตป้องกันภัยทางอากาศใหม่ของจีนแล้ว ยังมีอีกหลายชาติที่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการฝ่ายเดียวของพญามังกร
วันอังคาร ออสเตรเลียเปิดเผยว่า ได้เรียกเอกอัครราชทูตจีนเข้าพบเพื่อแสดงความเห็นว่า จังหวะเวลาและรูปแบบการประกาศของจีนไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อสถานการณ์ตึงเครียดในภูมิภาคในปัจจุบัน รวมทั้งไม่ส่งเสริมเสถียรภาพของภูมิภาค
ทางด้านรัฐบาลเยอรมนีขานรับว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะระหว่างจีนกับญี่ปุ่น
ก่อนหน้านั้น วอชิงตันย้ำอีกครั้งว่า หมู่เกาะเซงกากุอยู่ในขอบเขตสนธิสัญญาความมั่นคงสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น ซึ่งกำหนดให้อเมริกาเข้าแทรกแซงหากโตเกียวถูกโจมตี
เขต ADIZ ไม่ใช่น่านฟ้าหรือเขตอธิปไตย และก็ไม่ใช่เขตห้ามบิน แต่เป็นมาตรการที่ชาติใหญ่จำนวนหนึ่งประกาศ โดยอ้างว่าเพื่อจุดประสงค์ที่จะมีเวลาเตรียมตัวรับมือเมื่อมีอากาศยานไม่ทราบฝ่ายบินตรงเข้ามา ทั้งนี้ สหรัฐฯได้ประกาศพื้นที่เช่นนี้รวม 4 เขต ได้แก่ รอบๆ ดินแดนของสหรัฐฯบนภาคพื้นทวีป, อะแลสกา, ฮาวาย, และเกาะกวม เช่นเดียวกับญี่ปุ่นซึ่งประกาศเขต ADIZ มาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 รวมทั้งเพิ่งขยายเขตดังกล่าวไปทางตะวันตกอีกราว 22 ก.ม.เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาด้วย
อย่างไรก็ดี เอเอฟพีบอกว่ามีข้อแตกต่างระหว่างเขต ADIZ ของจีนและญี่ปุ่นตรงที่ว่า แดนมังกรกำหนดให้เครื่องบินทุกลำที่บินผ่านเขตดังกล่าวของตนในทะเลจีนตะวันออก ต้องแสดงตนด้วยการระบุสัญชาติ ส่งแผนการบินให้จีน และคงการสื่อสารผ่านระบบวิทยุสองทางเอาไว้ ขณะที่แดนอาทิตย์อุทัยไม่ได้เรียกร้องเช่นนี้ เว้นแต่เครื่องบินที่กำลังจะลงจอดในญี่ปุ่น
รัฐบาลญี่ปุ่นนั้นได้แสดงการคัดค้านการประกาศของจีนอย่างสุดแรง โดยเมื่อวันจันทร์ (25) ได้เรียกเอกอัครราชทูตจีนเข้าพบเพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรการดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า เป็นการคุกคามเสรีภาพในการบิน แต่ถูกตอกกลับว่า โตเกียวต่างหากที่ควรเลิกเรียกร้องไร้เหตุผล
นอกจากประเทศคู่กรณีที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเขตป้องกันภัยทางอากาศใหม่ของจีนแล้ว ยังมีอีกหลายชาติที่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการฝ่ายเดียวของพญามังกร
วันอังคาร ออสเตรเลียเปิดเผยว่า ได้เรียกเอกอัครราชทูตจีนเข้าพบเพื่อแสดงความเห็นว่า จังหวะเวลาและรูปแบบการประกาศของจีนไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อสถานการณ์ตึงเครียดในภูมิภาคในปัจจุบัน รวมทั้งไม่ส่งเสริมเสถียรภาพของภูมิภาค
ทางด้านรัฐบาลเยอรมนีขานรับว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะระหว่างจีนกับญี่ปุ่น
ก่อนหน้านั้น วอชิงตันย้ำอีกครั้งว่า หมู่เกาะเซงกากุอยู่ในขอบเขตสนธิสัญญาความมั่นคงสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น ซึ่งกำหนดให้อเมริกาเข้าแทรกแซงหากโตเกียวถูกโจมตี