ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวในการเสวนา "บทเรียนกู้วิกฤตน้ำมันรั่วในทะเล" ยอมรับว่า ประเทศไทยมีคณะทำงานที่ดูแลควบคุมและมีระบบจัดการปัญหาน้ำมันรั่วไหลในทะเลที่เป็นมาตรฐานสากล แต่เมื่อเกิดสถานการณ์จริง กลับมีปัญหาความล่าช้าในการทำงาน กระทั่งคราบน้ำมันกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งสำคัญที่สุด คือการตั้งรับกับสถานการณ์ที่กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติทุกรูปแบบ และจำเป็นจะต้องมีคณะกรรมการระดับชาติรับมือปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาชน
นอกจากนี้ จากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทบทวนการจัดทำผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โดยเฉพาะพื้นที่อุตสาหกรรมปิโตรเลียม ซึ่งหากเกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลระหว่างการขนถ่าย ต้องสามารถประเมินพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และเตรียมรับมือได้อย่างรวดเร็ว
ขณะที่นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวชี้แจงหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษ ที่จะต้องตอบคำถามสังคมถึงผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้น โดยวางแผนระยะยาวภายใน 1 ปี ต้องตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม สภาพน้ำทะเล สัตว์ทะเล แพลงตอน พืช และตะกอนดิน รวมถึงหาดทรายจุดใกล้เคียง
นอกจากนี้ ยังต้องประเมินความเสี่ยงผลกระทบต่อประชาชนทั้งหมด เช่น การประกอบอาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่ เพื่อจะมีแนวทางแก้ปัญหาอย่างชัดเจนต่อไป
นอกจากนี้ จากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทบทวนการจัดทำผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โดยเฉพาะพื้นที่อุตสาหกรรมปิโตรเลียม ซึ่งหากเกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลระหว่างการขนถ่าย ต้องสามารถประเมินพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และเตรียมรับมือได้อย่างรวดเร็ว
ขณะที่นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวชี้แจงหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษ ที่จะต้องตอบคำถามสังคมถึงผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้น โดยวางแผนระยะยาวภายใน 1 ปี ต้องตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม สภาพน้ำทะเล สัตว์ทะเล แพลงตอน พืช และตะกอนดิน รวมถึงหาดทรายจุดใกล้เคียง
นอกจากนี้ ยังต้องประเมินความเสี่ยงผลกระทบต่อประชาชนทั้งหมด เช่น การประกอบอาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่ เพื่อจะมีแนวทางแก้ปัญหาอย่างชัดเจนต่อไป