นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวภายหลังการหารือกับตัวแทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ว่า ได้ชี้แจงว่าค่าเงินบาทในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแข็งค่าค่อนข้างเร็ว แต่ช่วงที่ผ่านมาก็ยังมีการเคลื่อนไหวในลักษณะทั้งแข็งค่าและอ่อนค่า เหมือนกับค่าเงินหลายสกุลในภูมิภาค ที่บางช่วงก็มีทั้งแข็งค่าและอ่อนค่า
ทั้งนี้ ส.อ.ท.เสนอแนะให้ ธปท.ดูแลค่าเงินบาทด้วยการเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง คือ 9 ประเทศในอาเซียน รวมถึงจีน อินเดีย บังกลาเทศ และศรีลังกา ซึ่ง ธปท.ก็พร้อมจะดูแลค่าเงินตามข้อเสนอแนะ โดยปัจจุบันมีการดูแลในลักษณะตระกร้าเงินอยู่แล้ว ไม่ได้เปรียบเทียบเฉพาะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และเป็นการดูในหลายมิติทั้งดัชนีค่าเงินบาท (NEER) และดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER) รวมถึงดูแลให้สะท้อนพื้นฐานของประเทศ แต่การที่จะให้ค่าเงินบาทอยู่ในระดับเดียวกับค่าเงินของภูมิภาคคงเป็นไปไม่ได้ เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจแต่ละประเทศแตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม ธปท.เห็นว่ายังมีประเด็นที่ต้องประชาสัมพันธ์และให้ความรู้กับผู้ส่งออกมาขึ้น เช่น หลักเกณฑ์การถือครองเงินตราต่างประเทศของผู้ส่งออก ซึ่งไม่จำเป็นต้องขยายระยะเวลาเพิ่มเติม โดยปัจจุบันผู้ส่งออกสามารถให้เครดิตเทอมกับคู่ค้าต่างประเทศได้ไม่เกิน 360 วัน และเมื่อได้รับเงินตราต่างประเทศต้องนำเข้าประเทศทันทีและสามารถขายเป็นเงินบาทหรือฝากกับธนาคารพาณิชย์ภายใน 360 วัน ดังนั้น รวมกันแล้วมีระยะเวลาถึง 2 ปี หรือผู้ส่งออกสามารถนำเงินรายได้จากต่างประเทศสามารถฝากไว้เป็นบัญชี FCD ในประเทศได้ เท่ากับยอดส่งออก โดยไม่จำกัดระยะเวลา
นอกจากนั้น ยังมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงให้กับผู้ส่งออก โดยเฉพาะ currency futures ที่กำหนดมูลค่า 1 พันดอลลาร์ต่อสัญญา สามารถให้ SME ใช้ป้องกันความเสี่ยงของธุรกรรมขนาดเล็กได้ เพียงแต่ต้องให้ความรู้กับ SMEs มากขึ้น รวมทั้ง เห็นว่าควรสนับสนุนให้ผู้ส่งออกใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการชำระค่าสินค้าและบริการมากขึ้น เรื่องดังกล่าวอาจเห็นผลในระยะยาว ซึ่ง ส.อ.ท.อาจจะต้องทำความเข้าใจกับสมาชิกด้วย เครื่องมือทั้งหมดอาจะช่วยผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าเร็วได้
ธปท.ยังเห็นว่าควรส่งเสริมให้มีการลงทุนต่างประเทศในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า เร่งโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้มีการนำเข้าสินค้าและเครื่องจักรอุปกรณ์ในระยะนี้ เนื่องจากประเทศไทยมีโครงการลงทุนจำนวนมากทั้งภาครัฐและเอกชน หากสามารถสนับสนุนได้ดีจะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างเงินไหลเข้า-ออก
ด้านนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. กล่าวภายหลังการหารือว่า มีความเข้าใจมากขึ้นหลังได้รับทราบข้อมูลจาก ธปท.โดยเห็นว่าในช่วง 6 เดือน ถึง 1 ปีที่ผ่านมา ธปท.สามารถดูแลค่าเงินบาทได้ดี ไม่ให้มีความผันผวน สามารถสร้างความสมดุลระหว่างเงินทุนไหลออก-เข้า เพียงแต่ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมามีความกังวลเนื่องจากเงินบาทแข็งค่าเร็วมาก และขณะนี้เงินบาทเริ่มนิ่งแล้ว ซึ่งภาคเอกชนไม่ต้องการให้เงินบาทผันผวนยาวนานเกินไป
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าต้องการเห็นเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่บริเวณ 30 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่ภาคเอกชนจะคลายความกังวลได้ เพราะตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันเงินบาทแข็งค่า 3% จากสิ้นปี 55 เงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 30.93 บาทต่อดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม หลังการแลกเปลี่ยนข้อมูลทำให้สบายใจขึ้นมาว่าเงินบาทเริ่มทรงตัวและคงไม่แข็งค่าไปถึง 28 บาทต่อดอลลาร์
ทั้งนี้ ภาคเอกชนจะติดตามค่าเงินบาทในช่วง 2-3 สัปดาห์ต่อจากนี้ จากนั้นอาจจะมีการหารือกันอีกครั้ง
ทั้งนี้ ส.อ.ท.เสนอแนะให้ ธปท.ดูแลค่าเงินบาทด้วยการเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง คือ 9 ประเทศในอาเซียน รวมถึงจีน อินเดีย บังกลาเทศ และศรีลังกา ซึ่ง ธปท.ก็พร้อมจะดูแลค่าเงินตามข้อเสนอแนะ โดยปัจจุบันมีการดูแลในลักษณะตระกร้าเงินอยู่แล้ว ไม่ได้เปรียบเทียบเฉพาะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และเป็นการดูในหลายมิติทั้งดัชนีค่าเงินบาท (NEER) และดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER) รวมถึงดูแลให้สะท้อนพื้นฐานของประเทศ แต่การที่จะให้ค่าเงินบาทอยู่ในระดับเดียวกับค่าเงินของภูมิภาคคงเป็นไปไม่ได้ เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจแต่ละประเทศแตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม ธปท.เห็นว่ายังมีประเด็นที่ต้องประชาสัมพันธ์และให้ความรู้กับผู้ส่งออกมาขึ้น เช่น หลักเกณฑ์การถือครองเงินตราต่างประเทศของผู้ส่งออก ซึ่งไม่จำเป็นต้องขยายระยะเวลาเพิ่มเติม โดยปัจจุบันผู้ส่งออกสามารถให้เครดิตเทอมกับคู่ค้าต่างประเทศได้ไม่เกิน 360 วัน และเมื่อได้รับเงินตราต่างประเทศต้องนำเข้าประเทศทันทีและสามารถขายเป็นเงินบาทหรือฝากกับธนาคารพาณิชย์ภายใน 360 วัน ดังนั้น รวมกันแล้วมีระยะเวลาถึง 2 ปี หรือผู้ส่งออกสามารถนำเงินรายได้จากต่างประเทศสามารถฝากไว้เป็นบัญชี FCD ในประเทศได้ เท่ากับยอดส่งออก โดยไม่จำกัดระยะเวลา
นอกจากนั้น ยังมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงให้กับผู้ส่งออก โดยเฉพาะ currency futures ที่กำหนดมูลค่า 1 พันดอลลาร์ต่อสัญญา สามารถให้ SME ใช้ป้องกันความเสี่ยงของธุรกรรมขนาดเล็กได้ เพียงแต่ต้องให้ความรู้กับ SMEs มากขึ้น รวมทั้ง เห็นว่าควรสนับสนุนให้ผู้ส่งออกใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการชำระค่าสินค้าและบริการมากขึ้น เรื่องดังกล่าวอาจเห็นผลในระยะยาว ซึ่ง ส.อ.ท.อาจจะต้องทำความเข้าใจกับสมาชิกด้วย เครื่องมือทั้งหมดอาจะช่วยผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าเร็วได้
ธปท.ยังเห็นว่าควรส่งเสริมให้มีการลงทุนต่างประเทศในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า เร่งโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้มีการนำเข้าสินค้าและเครื่องจักรอุปกรณ์ในระยะนี้ เนื่องจากประเทศไทยมีโครงการลงทุนจำนวนมากทั้งภาครัฐและเอกชน หากสามารถสนับสนุนได้ดีจะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างเงินไหลเข้า-ออก
ด้านนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. กล่าวภายหลังการหารือว่า มีความเข้าใจมากขึ้นหลังได้รับทราบข้อมูลจาก ธปท.โดยเห็นว่าในช่วง 6 เดือน ถึง 1 ปีที่ผ่านมา ธปท.สามารถดูแลค่าเงินบาทได้ดี ไม่ให้มีความผันผวน สามารถสร้างความสมดุลระหว่างเงินทุนไหลออก-เข้า เพียงแต่ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมามีความกังวลเนื่องจากเงินบาทแข็งค่าเร็วมาก และขณะนี้เงินบาทเริ่มนิ่งแล้ว ซึ่งภาคเอกชนไม่ต้องการให้เงินบาทผันผวนยาวนานเกินไป
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าต้องการเห็นเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่บริเวณ 30 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่ภาคเอกชนจะคลายความกังวลได้ เพราะตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันเงินบาทแข็งค่า 3% จากสิ้นปี 55 เงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 30.93 บาทต่อดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม หลังการแลกเปลี่ยนข้อมูลทำให้สบายใจขึ้นมาว่าเงินบาทเริ่มทรงตัวและคงไม่แข็งค่าไปถึง 28 บาทต่อดอลลาร์
ทั้งนี้ ภาคเอกชนจะติดตามค่าเงินบาทในช่วง 2-3 สัปดาห์ต่อจากนี้ จากนั้นอาจจะมีการหารือกันอีกครั้ง