เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เรียกประชุมผู้บริหารกรมประมง นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญโรคกุ้งจากหลายสถาบัน รวมทั้งผู้บริหารจากสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งในภาคตะวันออกและภาคใต้ขึ้นที่กรมประมง เพื่อหารือปัญหาโรคกุ้งตายด่วนที่ยังหาสาเหตุหลักไม่พบ ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีขึ้นหลังจากสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งในภาคตะวันออกและภาคใต้ได้หารือกันถึงเรื่องโรคกุ้งตายด่วนก่อนหน้านี้
ผลการประชุม นายยุคล ได้สั่งให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนทั่วประเทศ 40-50 แห่งที่ผลิตนอเพลียส หรือสถานที่นำพ่อแม่พันธุ์กุ้งมาผสมกันได้ไข่ออกมาไม่เกิน 2 วัน ก่อนจะส่งไปยังโรงเพาะฟักอนุบาลลูกกุ้งเป็นกุ้งพีขนาดต่างๆ หยุดดำเนินการผลิตนอเพลียสตลอดทั้งเดือนมกราคม 2556 เพื่อตัดวงจรของโรคตั้งแต่ต้นน้ำ เหมือนเป็นการนับหนึ่งใหม่ ซึ่งวิธีการนี้เกษตรกรและนักวิชาการมีความเห็นร่วมกันและสนับสนุนเต็มที่ เพราะควบคุมง่ายจากผู้ประกอบการผลิตนอเพลียสมีไม่กี่ราย
นายวิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงกำลังจัดทำรายละเอียดโครงการ "ป้องกันไว้ก่อน" โดยจะเป็นโครงการรณรงค์ขอความร่วมมือโรงเพาะฟักที่มีอยู่จำนวนมากปรับปรุงระบบเพาะฟักให้มีมาตรฐาน คาดว่าจะจัดทำรายละเอียดเสร็จในระหว่างวันที่ 10-15 มกราคมนี้
ส่วนเรื่องการวางแผนงานวิจัยร่วมแก้ปัญหาทั้งระบบ โดยความร่วมมือของกรมประมง สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) และมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ข้อสรุปให้ใช้พื้นที่เป็นค่ากำหนดการทำวิจัย โดยการจัดแบ่งโซนนิ่งในการทำวิจัย
สำหรับผลผลิตกุ้งขาวแวนนาไมในปี 2555 ลดลงจากปี 2554 ประมาณ 5-6% สรุปตัวเลขผลผลิตทั่วประเทศอยู่ที่ 4.8-5.2 แสนตัน สำหรับปี 56 คาดว่าความเสียหายจากโรคกุ้งจะไม่ทำให้ผลผลิตลดลงมากกว่าในปี 2555
ทางด้านนายบรรจง นิสภวาณิชย์ นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทยและอุปนายกสมาคมกุ้งไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมใหญ่ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธาน ยังไม่ฟันธงว่ากุ้งตายด่วนเกิดจากสาเหตุอะไร แต่ลองปิดประตูรั้วเข้าบ้านเป็นบานแรกก่อน จะได้หาสาเหตุที่แท้จริงได้เร็วขึ้น หลังจากนั้นสถาบันกุ้งจะกำหนดแผนงานแบ่งพื้นที่ผลิตนอเพลียสออกเป็นโซนต่างๆ เพื่อที่จะเข้าไปดำเนินการร่วมกับภาคเอกชนทำความสะอาด หรือบิ๊กคลีนนิ่งครั้งใหญ่ต่อไป
ส่วนที่กังวลว่าการปิดสถานที่ผลิตนอเพลียสจะทำให้เกษตรกรขาดแคลนลูกกุ้งลงเลี้ยงนั้น ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะปิดเพียง 1 เดือน และฤดูหนาวเกษตรกรไม่ค่อยนำลูกกุ้งลงเลี้ยงอยู่แล้ว
นายสมชาย
ฤกษ์โภคี ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคกุ้งในพื้นที่สุราษฎร์ธานีอยู่ในระดับเบาบาง เนื่องจากเกษตรกรปรับตัวเร็ว และทุกปีเกษตรกรจะพักตากบ่อในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม สรุปตัวเลขความเสียหายจากโรคตัวแดงดวงขาวในเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม อยู่ที่ 800-900 บ่อ ผลผลิตลดลง 1,000 กว่าตัน ผลผลิตทั้งปี 2555 ตั้งไว้ที่ 60,000 ตัน สรุปตัวเลขผลผลิตถึง ณ เดือนธันวาคมอยู่ที่ 58,000 ตัน ส่วนความเสียหายจากโรคกุ้งตายด่วนยังสรุปไม่ได้ เนื่องจากกุ้งที่ตายตรวจพบโรคตัวแดงดวงขาวนด้วย
ทั้งนี้ ความเสียหายจากโรคที่คาดการณ์ว่าจะเป็นโรคอีเอ็มเอสนั้นมีเล็กน้อย ประมาณ 20 บ่อเท่านั้น ถ้าจะฟันธงว่าเป็นโรคอีเอ็มเอสจริงหรือไม่และสรุปตัวเลขความเสียหายได้ ต้องรอช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2556 ส่วนการปล่อยกุ้งลงเลี้ยงในปลายเดือนมกราคมนี้ คาดว่าจะไม่ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในสุราษฎร์ธานีมีการบริหารความเสี่ยงอยู่แล้ว โดยแต่ละฟาร์มจะทยอยลงกุ้ง ไม่ลงกุ้งพร้อมกันทุกบ่อ และปีนี้ก็คาดว่าจะทยอยปล่อยกุ้งอีกเช่นเคย
ผลการประชุม นายยุคล ได้สั่งให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนทั่วประเทศ 40-50 แห่งที่ผลิตนอเพลียส หรือสถานที่นำพ่อแม่พันธุ์กุ้งมาผสมกันได้ไข่ออกมาไม่เกิน 2 วัน ก่อนจะส่งไปยังโรงเพาะฟักอนุบาลลูกกุ้งเป็นกุ้งพีขนาดต่างๆ หยุดดำเนินการผลิตนอเพลียสตลอดทั้งเดือนมกราคม 2556 เพื่อตัดวงจรของโรคตั้งแต่ต้นน้ำ เหมือนเป็นการนับหนึ่งใหม่ ซึ่งวิธีการนี้เกษตรกรและนักวิชาการมีความเห็นร่วมกันและสนับสนุนเต็มที่ เพราะควบคุมง่ายจากผู้ประกอบการผลิตนอเพลียสมีไม่กี่ราย
นายวิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงกำลังจัดทำรายละเอียดโครงการ "ป้องกันไว้ก่อน" โดยจะเป็นโครงการรณรงค์ขอความร่วมมือโรงเพาะฟักที่มีอยู่จำนวนมากปรับปรุงระบบเพาะฟักให้มีมาตรฐาน คาดว่าจะจัดทำรายละเอียดเสร็จในระหว่างวันที่ 10-15 มกราคมนี้
ส่วนเรื่องการวางแผนงานวิจัยร่วมแก้ปัญหาทั้งระบบ โดยความร่วมมือของกรมประมง สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) และมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ข้อสรุปให้ใช้พื้นที่เป็นค่ากำหนดการทำวิจัย โดยการจัดแบ่งโซนนิ่งในการทำวิจัย
สำหรับผลผลิตกุ้งขาวแวนนาไมในปี 2555 ลดลงจากปี 2554 ประมาณ 5-6% สรุปตัวเลขผลผลิตทั่วประเทศอยู่ที่ 4.8-5.2 แสนตัน สำหรับปี 56 คาดว่าความเสียหายจากโรคกุ้งจะไม่ทำให้ผลผลิตลดลงมากกว่าในปี 2555
ทางด้านนายบรรจง นิสภวาณิชย์ นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทยและอุปนายกสมาคมกุ้งไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมใหญ่ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธาน ยังไม่ฟันธงว่ากุ้งตายด่วนเกิดจากสาเหตุอะไร แต่ลองปิดประตูรั้วเข้าบ้านเป็นบานแรกก่อน จะได้หาสาเหตุที่แท้จริงได้เร็วขึ้น หลังจากนั้นสถาบันกุ้งจะกำหนดแผนงานแบ่งพื้นที่ผลิตนอเพลียสออกเป็นโซนต่างๆ เพื่อที่จะเข้าไปดำเนินการร่วมกับภาคเอกชนทำความสะอาด หรือบิ๊กคลีนนิ่งครั้งใหญ่ต่อไป
ส่วนที่กังวลว่าการปิดสถานที่ผลิตนอเพลียสจะทำให้เกษตรกรขาดแคลนลูกกุ้งลงเลี้ยงนั้น ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะปิดเพียง 1 เดือน และฤดูหนาวเกษตรกรไม่ค่อยนำลูกกุ้งลงเลี้ยงอยู่แล้ว
นายสมชาย
ฤกษ์โภคี ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคกุ้งในพื้นที่สุราษฎร์ธานีอยู่ในระดับเบาบาง เนื่องจากเกษตรกรปรับตัวเร็ว และทุกปีเกษตรกรจะพักตากบ่อในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม สรุปตัวเลขความเสียหายจากโรคตัวแดงดวงขาวในเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม อยู่ที่ 800-900 บ่อ ผลผลิตลดลง 1,000 กว่าตัน ผลผลิตทั้งปี 2555 ตั้งไว้ที่ 60,000 ตัน สรุปตัวเลขผลผลิตถึง ณ เดือนธันวาคมอยู่ที่ 58,000 ตัน ส่วนความเสียหายจากโรคกุ้งตายด่วนยังสรุปไม่ได้ เนื่องจากกุ้งที่ตายตรวจพบโรคตัวแดงดวงขาวนด้วย
ทั้งนี้ ความเสียหายจากโรคที่คาดการณ์ว่าจะเป็นโรคอีเอ็มเอสนั้นมีเล็กน้อย ประมาณ 20 บ่อเท่านั้น ถ้าจะฟันธงว่าเป็นโรคอีเอ็มเอสจริงหรือไม่และสรุปตัวเลขความเสียหายได้ ต้องรอช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2556 ส่วนการปล่อยกุ้งลงเลี้ยงในปลายเดือนมกราคมนี้ คาดว่าจะไม่ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในสุราษฎร์ธานีมีการบริหารความเสี่ยงอยู่แล้ว โดยแต่ละฟาร์มจะทยอยลงกุ้ง ไม่ลงกุ้งพร้อมกันทุกบ่อ และปีนี้ก็คาดว่าจะทยอยปล่อยกุ้งอีกเช่นเคย