บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า สถานการณ์อุทกภัยที่น้ำไหลทะลักเข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทั้ง 5 แห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอีก 1 แห่งในจังหวัดปทุมธานี ได้ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมของไทยรุนแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เนื่องจากทั้ง 2 จังหวัดนี้มีสัดส่วนความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมไทยถึงร้อยละ 17.2 ของผลผลิตอุตสาหกรรมของประเทศ โดยจากการประเมินเบื้องต้น คาดว่าความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อภาคอุตสาหกรรมจะสูงกว่าผลที่เกิดจากเหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศญี่ปุ่น ที่ส่งผลให้การผลิตในภาคอุตสาหกรรมของไทยในไตรมาสที่ 2/2554 หดตัวลง และเริ่มฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่ 3/2554 ที่ผ่านมา
จากสถานการณ์อุทกภัยที่สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อนิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรมในจังหวัดอยุธยา และปทุมธานี รวมทั้งโรงงานที่ตั้งอยู่นอกนิคมในจังหวัดที่ประสบภัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้จะฉุดให้ภาคอุตสาหกรรมไทยหดตัวอย่างรุนแรง โดยคาดว่า ในกรณีพื้นฐาน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI (Manufacturing Production Index) ในไตรมาสที่ 4/2554 อาจหดตัวร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่มีกรอบคาดการณ์อยู่ในช่วงหดตัวร้อยละ 6.3-13.2 ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตอุตสาหกรรมตลอดทั้งปี 2554 อาจหดตัวร้อยละ 2.8 ในกรณีพื้นฐาน และกรอบคาดการณ์อยู่ที่หดตัวร้อยละ 2.1-3.8
จากทิศทางดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ จีดีพีของภาคอุตสาหกรรม (มูลค่า ณ ราคาคงที่) ในปี 2554 อาจหดตัวร้อยละ 1.5 ในกรณีพื้นฐาน โดยกรอบคาดการณ์อยู่ในช่วงหดตัวร้อยละ 1.1-2.0 จากที่เติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ร้อยละ 13.9 ในปี 2553
สำหรับอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมาก (มีโรงงานในพื้นที่ประสบภัยที่ได้รับความเสียหาย และโรงงานที่หยุดการผลิตเนื่องจากผลกระทบทางอ้อม คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของอุตสาหกรรมนั้นๆ) ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ โรงสีข้าว ผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีโรงงานได้รับความเสียหาย อาทิ รองเท้า สิ่งทอ เครื่องประดับผลิตภัณฑ์พลาสติก บรรจุภัณฑ์ โลหะ เครื่องจักร แม่พิมพ์อุตสาหกรรม เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และเลนซ์ เป็นต้น
จากสถานการณ์อุทกภัยที่สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อนิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรมในจังหวัดอยุธยา และปทุมธานี รวมทั้งโรงงานที่ตั้งอยู่นอกนิคมในจังหวัดที่ประสบภัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้จะฉุดให้ภาคอุตสาหกรรมไทยหดตัวอย่างรุนแรง โดยคาดว่า ในกรณีพื้นฐาน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI (Manufacturing Production Index) ในไตรมาสที่ 4/2554 อาจหดตัวร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่มีกรอบคาดการณ์อยู่ในช่วงหดตัวร้อยละ 6.3-13.2 ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตอุตสาหกรรมตลอดทั้งปี 2554 อาจหดตัวร้อยละ 2.8 ในกรณีพื้นฐาน และกรอบคาดการณ์อยู่ที่หดตัวร้อยละ 2.1-3.8
จากทิศทางดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ จีดีพีของภาคอุตสาหกรรม (มูลค่า ณ ราคาคงที่) ในปี 2554 อาจหดตัวร้อยละ 1.5 ในกรณีพื้นฐาน โดยกรอบคาดการณ์อยู่ในช่วงหดตัวร้อยละ 1.1-2.0 จากที่เติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ร้อยละ 13.9 ในปี 2553
สำหรับอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมาก (มีโรงงานในพื้นที่ประสบภัยที่ได้รับความเสียหาย และโรงงานที่หยุดการผลิตเนื่องจากผลกระทบทางอ้อม คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของอุตสาหกรรมนั้นๆ) ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ โรงสีข้าว ผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีโรงงานได้รับความเสียหาย อาทิ รองเท้า สิ่งทอ เครื่องประดับผลิตภัณฑ์พลาสติก บรรจุภัณฑ์ โลหะ เครื่องจักร แม่พิมพ์อุตสาหกรรม เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และเลนซ์ เป็นต้น