ASTVผู้จัดการรายวัน - บลจ. บัวหลวงเผยทิศทางเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่อง อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น เงินเฟ้อเพิ่มมากขึ้นด้วย แนะกองทุนรวม "บีเฟล็กซ์และตราสารหนี้" สร้างผลตอบแทนเยี่ยม
นายบัณฑิตย์ ศุภาคม ผู้ช่วยผู้อำนวยการ กลุ่มธุรกิจกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดถึงสถานการณ์เงินเฟ้อในประเทศไทยว่า ช่วงเศรษฐกิจไทยในปี 2553 ที่ผ่านมา มีการขยายตัวสูงสุดในรอบ 15 ปีที่ 7.8% นับเป็นเศรษฐกิจที่เติบโตสูงเป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคเอเชีย รองจาก สิงคโปร์ อยู่ที่ 14.5% ไต้หวัน 10.5% และจีน 10.3% ซึ่งจากการรายงานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือ จีดีพีของไทยในช่วง
ไตรมาสที่ 4/2553 ขยายตัวดีขึ้นหากมองเปรียบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส โดยกลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ 1.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
ทั้งนี้จากการขยายตัวดังกล่าวยังคงมีต่อเนื่องถึงใน 1 ของปีนี้ โดยเฉพาะการใช้จ่ายภายในประเทศกลับคืนสู่ภาวะปกติ หลังจากถูกฉุดรั้งจากปัญหาอุทกภัยในไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้เศรษฐกิจที่เป็นตัวบ่งชี้ล่าสุดที่มีการรายงานออกมาน่าจะเป็นทิศทางการเติบโตที่ค่อนข้างต่อเนื่อง โดยการเปิดเผยของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. พบว่าในเดือนมกราคม ที่ผ่านมา การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนขยายตัวดีขึ้น ขณะเดียวกันกับการส่งออกและการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยมุมมองของ ธปท. เชื่อว่าสถานการณ์เงินเฟ้อและต้นทุนการผลิตจะมีแนวโน้มสูงขึ้น
โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นถึง 13% เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เป็นเพราะการนำเข้าสินค้าทุน เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ แท่นขุดเจาะน้ำมัน และเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิต ขณะที่ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน ขยายตัว 4.7% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกับปีก่อน และการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 21.4% เช่นเดียวกับภาคการผลิตโดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัว 3.7% จากที่หดตัว 3.4% ในเดือนก่อน
"คณะกรรมการนโยบายการเงินปรับดอกเบี้ยตั้งแต่ต้นปี 2 ครั้งครั้งละ 0.25% ต่อปี ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นจาก 2% ต่อปีเป็น 2.50% ต่อปี โดยภาวะเงินเฟ้อเกิดจากแรงกดดันที่สำคัญมาจากราคาน้ำมันที่นอกจากมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวเศรษฐกิจโลก ยังเกิดจากความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน และการปรับเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและสินค้า ขณะที่แรงกดดันของความต้องการสินค้าและบริการภายในประเทศก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทยปรับสมมุติฐานของเงินเฟ้อทั่วไปขึ้นเป็น 3-5% จากเดิม 2.5-4.5%" นายบัณฑิตย์ กล่าว
นายบัณฑิตย์ กล่าวว่า ถ้าต้องการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สามารถชดเชยเงินเฟ้อได้ ต้องเป็นกองทุนเปิดโอกาสให้ผู้จัดการกองทุนเลือกสร้างผลตอบแทนให้กับกองทุนจากการลงทุนทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้น กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ ซึ่งเป็นกองทุนที่เน้นจังหวะการเข้าหาโอกาสสร้างผลตอบแทนจากราคาหุ้นที่ซื้อขายในประเทศ โดยในจังหวะที่ไม่เอื้ออำนวยผู้จัดการกองทุนจะเลือกเน้นปรับสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ ส่วนนักลงทุนที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้น้อยกองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED)ก็น่าสนใจที่จะเข้ามาลงทุนได้
"จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศอุตสาหกรรม เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือแนวโน้มการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของประเทศกำลังพัฒนาที่สำคัญ เช่น ประเทศจีน ทำให้การหาโอกาสการลงทุนจากตราสารหนี้ทั้งในประเทศและนอกประเทศเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้ และที่สำคัญไม่แพ้กันคือการเลือกจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม ดังนั้นการบริหารและการตัดสินใจการลงทุนโดยผู้จัดการกองทุนจึงมีความสำคัญกองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ เป็นทางเลือกหนึ่งที่อยากแนะนำแก่นักลงทุน เพราะกองเป็นกองทุนที่ตอบโจทย์ของนักลงทุนที่ต้องการลงทุนได้" นายบัณฑิต กล่าว
นายบัณฑิตย์ ศุภาคม ผู้ช่วยผู้อำนวยการ กลุ่มธุรกิจกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดถึงสถานการณ์เงินเฟ้อในประเทศไทยว่า ช่วงเศรษฐกิจไทยในปี 2553 ที่ผ่านมา มีการขยายตัวสูงสุดในรอบ 15 ปีที่ 7.8% นับเป็นเศรษฐกิจที่เติบโตสูงเป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคเอเชีย รองจาก สิงคโปร์ อยู่ที่ 14.5% ไต้หวัน 10.5% และจีน 10.3% ซึ่งจากการรายงานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือ จีดีพีของไทยในช่วง
ไตรมาสที่ 4/2553 ขยายตัวดีขึ้นหากมองเปรียบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส โดยกลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ 1.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
ทั้งนี้จากการขยายตัวดังกล่าวยังคงมีต่อเนื่องถึงใน 1 ของปีนี้ โดยเฉพาะการใช้จ่ายภายในประเทศกลับคืนสู่ภาวะปกติ หลังจากถูกฉุดรั้งจากปัญหาอุทกภัยในไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้เศรษฐกิจที่เป็นตัวบ่งชี้ล่าสุดที่มีการรายงานออกมาน่าจะเป็นทิศทางการเติบโตที่ค่อนข้างต่อเนื่อง โดยการเปิดเผยของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. พบว่าในเดือนมกราคม ที่ผ่านมา การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนขยายตัวดีขึ้น ขณะเดียวกันกับการส่งออกและการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยมุมมองของ ธปท. เชื่อว่าสถานการณ์เงินเฟ้อและต้นทุนการผลิตจะมีแนวโน้มสูงขึ้น
โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นถึง 13% เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เป็นเพราะการนำเข้าสินค้าทุน เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ แท่นขุดเจาะน้ำมัน และเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิต ขณะที่ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน ขยายตัว 4.7% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกับปีก่อน และการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 21.4% เช่นเดียวกับภาคการผลิตโดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัว 3.7% จากที่หดตัว 3.4% ในเดือนก่อน
"คณะกรรมการนโยบายการเงินปรับดอกเบี้ยตั้งแต่ต้นปี 2 ครั้งครั้งละ 0.25% ต่อปี ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นจาก 2% ต่อปีเป็น 2.50% ต่อปี โดยภาวะเงินเฟ้อเกิดจากแรงกดดันที่สำคัญมาจากราคาน้ำมันที่นอกจากมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวเศรษฐกิจโลก ยังเกิดจากความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน และการปรับเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและสินค้า ขณะที่แรงกดดันของความต้องการสินค้าและบริการภายในประเทศก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทยปรับสมมุติฐานของเงินเฟ้อทั่วไปขึ้นเป็น 3-5% จากเดิม 2.5-4.5%" นายบัณฑิตย์ กล่าว
นายบัณฑิตย์ กล่าวว่า ถ้าต้องการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สามารถชดเชยเงินเฟ้อได้ ต้องเป็นกองทุนเปิดโอกาสให้ผู้จัดการกองทุนเลือกสร้างผลตอบแทนให้กับกองทุนจากการลงทุนทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้น กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ ซึ่งเป็นกองทุนที่เน้นจังหวะการเข้าหาโอกาสสร้างผลตอบแทนจากราคาหุ้นที่ซื้อขายในประเทศ โดยในจังหวะที่ไม่เอื้ออำนวยผู้จัดการกองทุนจะเลือกเน้นปรับสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ ส่วนนักลงทุนที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้น้อยกองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED)ก็น่าสนใจที่จะเข้ามาลงทุนได้
"จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศอุตสาหกรรม เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือแนวโน้มการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของประเทศกำลังพัฒนาที่สำคัญ เช่น ประเทศจีน ทำให้การหาโอกาสการลงทุนจากตราสารหนี้ทั้งในประเทศและนอกประเทศเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้ และที่สำคัญไม่แพ้กันคือการเลือกจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม ดังนั้นการบริหารและการตัดสินใจการลงทุนโดยผู้จัดการกองทุนจึงมีความสำคัญกองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ เป็นทางเลือกหนึ่งที่อยากแนะนำแก่นักลงทุน เพราะกองเป็นกองทุนที่ตอบโจทย์ของนักลงทุนที่ต้องการลงทุนได้" นายบัณฑิต กล่าว