เมื่อเทียบเคียงข้อสรุปของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. 7 ข้อ และแถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ 4 ข้อ นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล เสนอแนะให้เปิดเวทีระดมความเห็น และแลกเปลี่ยนมุมมองกันอย่างกว้างขวาง หรือเรียกได้ว่า เวทีสานเสวนาแห่งชาติเพื่อความปรองดอง ก่อนนำไปสู่การปฏิบัติ เพราะบางประเด็นเห็นว่า ไม่ควรหยิบยกมาดำเนินการทันที อาทิ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ทั้งฉบับ การยกเลิกผลพวงต่างๆ หลังเหตุรัฐประหารเมื่อ 5 ปีก่อน และการแก้กฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งเกี่ยวข้องกับสถาบัน แต่ยอมรับว่า เรื่องการเยียวยา ชดเชย และฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุชุมนุมทางการเมือง สามารถดำเนินการได้ทันที
ขณะที่ช่วงบ่ายวันนี้ คอป.นำโดยนายกิตติพงษ์ กิตติยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะคณะกรรมการ คอป. จะนำผู้เชี่ยวชาญคณะกรรมการค้นหาความจริงและความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน พบกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ ก่อนนำมาวิเคราะห์ปัญหา หลังจากนั้นจะเข้าพบนายกรัฐมนตรี และประธานรัฐสภา
สำหรับข้อสรุปของ คอป. ประกอบด้วย การให้คำแนะนำต่อรัฐบาลเพื่อลดความขัดแย้ง คือการเดินหน้าดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม และย้ำให้รัฐบาลควบคุมการใช้อำนาจ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการสร้างความปรองดอง และเห็นว่าทุกฝ่ายควรยุติการกล่าวอ้างสถาบัน พร้อมกับการทบทวนข้อกล่าวหาคดีหมิ่นสถาบัน เพราะบางคดีเกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมือง ทั้งนี้ สนับสนุนให้ปล่อยตัวชั่วคราว และตั้งคณะกรรมการพิเศษ เพื่อดูแล เยียวยา ชดเชย และฟื้นฟู รวมถึงการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนและทำความเข้าใจในปัญหาร่วมกัน
แถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์เพื่อความปรองดองแห่งชาติ มีลักษณะสอดคล้องกัน คือ ลบล้างผลพวงจากเหตุรัฐประหาร หรือวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยเฉพาะการตั้งคณะกรรมการพิเศษ ขึ้นมาเยียวยา ชดเชย และฟื้นฟู รวมถึงคำวินิจฉัยต่างๆ ซึ่งมีที่มาจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส. พร้อมกับเสนอให้แก้ไขมาตรา 112 ในกฎหมายอาญา และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ซึ่งขัดต่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย รวมถึงการปฏิรูปกฎหมายเพื่อสร้างกระบวนการยุติธรรม
ขณะที่ช่วงบ่ายวันนี้ คอป.นำโดยนายกิตติพงษ์ กิตติยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะคณะกรรมการ คอป. จะนำผู้เชี่ยวชาญคณะกรรมการค้นหาความจริงและความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน พบกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ ก่อนนำมาวิเคราะห์ปัญหา หลังจากนั้นจะเข้าพบนายกรัฐมนตรี และประธานรัฐสภา
สำหรับข้อสรุปของ คอป. ประกอบด้วย การให้คำแนะนำต่อรัฐบาลเพื่อลดความขัดแย้ง คือการเดินหน้าดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม และย้ำให้รัฐบาลควบคุมการใช้อำนาจ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการสร้างความปรองดอง และเห็นว่าทุกฝ่ายควรยุติการกล่าวอ้างสถาบัน พร้อมกับการทบทวนข้อกล่าวหาคดีหมิ่นสถาบัน เพราะบางคดีเกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมือง ทั้งนี้ สนับสนุนให้ปล่อยตัวชั่วคราว และตั้งคณะกรรมการพิเศษ เพื่อดูแล เยียวยา ชดเชย และฟื้นฟู รวมถึงการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนและทำความเข้าใจในปัญหาร่วมกัน
แถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์เพื่อความปรองดองแห่งชาติ มีลักษณะสอดคล้องกัน คือ ลบล้างผลพวงจากเหตุรัฐประหาร หรือวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยเฉพาะการตั้งคณะกรรมการพิเศษ ขึ้นมาเยียวยา ชดเชย และฟื้นฟู รวมถึงคำวินิจฉัยต่างๆ ซึ่งมีที่มาจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส. พร้อมกับเสนอให้แก้ไขมาตรา 112 ในกฎหมายอาญา และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ซึ่งขัดต่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย รวมถึงการปฏิรูปกฎหมายเพื่อสร้างกระบวนการยุติธรรม