เว็บไซต์ Youtube Facebook และ Twitter รวมถึงเว็บไซต์อื่นๆ ที่เชื่อมเครือข่ายสังคมออนไลน์กำลังเป็นช่องทางหลักในการโฆษณาของบริษัทยาสูบข้ามชาติ ผ่านการโพสต์ข้อความ วิดีโอลิงก์ โดย น.ส.แบ็กลีย์ ฟรีแมน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ระบุว่า การเพิ่มขึ้นของการโฆษณาแฝงเช่นนี้เป็นเพราะหลายประเทศออกมาตรการควบคุมการโฆษณา ทำให้เครือข่ายเฝ้าระวังกลยุทธ์บริษัทบุหรี่ข้ามชาติต้องเพิ่มการทำงานผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตมากขึ้น เนื่องจากผลวิจัยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การโฆษณาผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต สามารถดึงกลุ่มลูกค้าที่เป็นกลุ่มวัยรุ่นและนักสูบหน้าใหม่ได้มากขึ้นกว่า 1 เท่าตัว และได้ผลดีกว่าการโฆษณาผ่านทีวี
นางบังอร ฤทธิภักดี ผู้อำนวยการเครือข่ายนักรณรงค์ควบคุมยาสูบอาเซียน ระบุว่า สถานการณ์การขยายช่องทางทางการตลาดของบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ คือการเจาะตลาดวัยรุ่น โดยการเพิ่มรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ให้น่าสะสม และปรุงแต่งรสชาติ รวมถึงการสนับสนุนการจัดคอนเสิร์ตด้วย
ขณะที่ ผศ.ฟ่ง ควิน นักวิจัยจากประเทศมาเลเซีย ระบุว่า ขณะนี้ได้ร่วมกับเครือข่ายในการจัดทำ Graphic Warning เกี่ยวกับการโฆษณาแฝงผ่านการออกแบบกราฟฟิคบนป้ายโฆษณา
การสัมมนาเครือข่ายเฝ้าระวังกลยุทธ์บุหรี่ข้ามชาติ และนักรณรงค์บุหรี่อาเซียน มีขึ้นตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน ที่โรงแรมสยามซิตี้ มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 40 คนจากทั่วโลก เพื่อร่วมกันระดมความเห็นเฝ้าระวังการขยายตลาดบุหรี่ การเข้าแทรกแซงมาตรการการควบคุมบุหรี่ในประเทศต่างๆ
นางบังอร ฤทธิภักดี ผู้อำนวยการเครือข่ายนักรณรงค์ควบคุมยาสูบอาเซียน ระบุว่า สถานการณ์การขยายช่องทางทางการตลาดของบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ คือการเจาะตลาดวัยรุ่น โดยการเพิ่มรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ให้น่าสะสม และปรุงแต่งรสชาติ รวมถึงการสนับสนุนการจัดคอนเสิร์ตด้วย
ขณะที่ ผศ.ฟ่ง ควิน นักวิจัยจากประเทศมาเลเซีย ระบุว่า ขณะนี้ได้ร่วมกับเครือข่ายในการจัดทำ Graphic Warning เกี่ยวกับการโฆษณาแฝงผ่านการออกแบบกราฟฟิคบนป้ายโฆษณา
การสัมมนาเครือข่ายเฝ้าระวังกลยุทธ์บุหรี่ข้ามชาติ และนักรณรงค์บุหรี่อาเซียน มีขึ้นตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน ที่โรงแรมสยามซิตี้ มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 40 คนจากทั่วโลก เพื่อร่วมกันระดมความเห็นเฝ้าระวังการขยายตลาดบุหรี่ การเข้าแทรกแซงมาตรการการควบคุมบุหรี่ในประเทศต่างๆ