นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางการฟื้นฟูฐานะการเงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยให้ รฟท.จัดตั้งบริษัทลูก 2 บริษัท คือ บริษัทเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ โดยให้แบ่งแยกภารกิจ สินทรัพย์ และหนี้สิน โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรีวันอังคารที่ 17 มีนาคม 2552 และจะต้องจดทะเบียนภายใน 30 วัน หลังจากได้รับการเห็นชอบจาก ครม.และจัดตั้งบริษัทภายในเวลา 6 เดือน โดยมั่นใจว่าจะไม่มีการคัดค้านจากสภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ รฟท. เพราะได้มีหารือและเห็นชอบร่วมกันแล้ว
นายประดิษฐ์ กล่าวว่า บริษัทบริหารสินทรัพย์ จะทำหน้าที่หาเอกชนเข้ามาพัฒนาและบริหารที่ดินทั้งหมด โดยจะดำเนินการในลักษณะให้เอกชนเช่าพื้นที่ และ รฟท.เข้าไปร่วมทุนในพื้นที่ที่มีศักยภาพ แต่ รฟท.จะต้องไม่เข้าไปบริหารเอง เนื่องจากไม่มีความถนัดและเกรงจะไม่ประสบความสำเร็จ โดยได้ให้ รฟท.ไปทบทวนแผนการบริหารทรัพย์สินใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเป้าหมายรายได้ของ รฟท.ในการบริหารทรัพย์สินต้องมากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี เนื่องจากที่ดินของ รฟท.ที่มีอยู่กว่า 400 แห่ง มีมูลค่าทรัพย์สินทางบัญชีสูงถึง 200,000 ล้านบาท ดังนั้น จะต้องมีรายได้มากกว่าที่เสนอมา เพื่อที่จะได้นำมาจ่ายภาระเงินบำนาญ 52,600 ล้านบาท และจ่ายภาระหนี้สิน 72,850 ล้านบาท
ด้านนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า รฟท.ได้ของบประมาณจากรัฐบาลในการจัดตั้ง 2 บริษัทลูก วงเงิน 560 ล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียนเบื้องต้นจัดตั้งบริษัทเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งก์ 500 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียนทั้งหมด 7,000 ล้านบาท และสำหรับบริษัทบริหารสินทรัพย์ อีก 60 ล้านบาท ซึ่งหากดำเนินการได้ตามแผนงานที่รฟท.วางเป้าหมายไว้ ในปีที่ 1 บริษัทเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งก์ จะมีกำไรภายใน 6 ปี และ รฟท.จะชำระภาระบำนาญได้ภายใน 10 ปี
นายประดิษฐ์ กล่าวว่า บริษัทบริหารสินทรัพย์ จะทำหน้าที่หาเอกชนเข้ามาพัฒนาและบริหารที่ดินทั้งหมด โดยจะดำเนินการในลักษณะให้เอกชนเช่าพื้นที่ และ รฟท.เข้าไปร่วมทุนในพื้นที่ที่มีศักยภาพ แต่ รฟท.จะต้องไม่เข้าไปบริหารเอง เนื่องจากไม่มีความถนัดและเกรงจะไม่ประสบความสำเร็จ โดยได้ให้ รฟท.ไปทบทวนแผนการบริหารทรัพย์สินใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเป้าหมายรายได้ของ รฟท.ในการบริหารทรัพย์สินต้องมากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี เนื่องจากที่ดินของ รฟท.ที่มีอยู่กว่า 400 แห่ง มีมูลค่าทรัพย์สินทางบัญชีสูงถึง 200,000 ล้านบาท ดังนั้น จะต้องมีรายได้มากกว่าที่เสนอมา เพื่อที่จะได้นำมาจ่ายภาระเงินบำนาญ 52,600 ล้านบาท และจ่ายภาระหนี้สิน 72,850 ล้านบาท
ด้านนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า รฟท.ได้ของบประมาณจากรัฐบาลในการจัดตั้ง 2 บริษัทลูก วงเงิน 560 ล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียนเบื้องต้นจัดตั้งบริษัทเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งก์ 500 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียนทั้งหมด 7,000 ล้านบาท และสำหรับบริษัทบริหารสินทรัพย์ อีก 60 ล้านบาท ซึ่งหากดำเนินการได้ตามแผนงานที่รฟท.วางเป้าหมายไว้ ในปีที่ 1 บริษัทเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งก์ จะมีกำไรภายใน 6 ปี และ รฟท.จะชำระภาระบำนาญได้ภายใน 10 ปี