บอร์ด ร.ฟ.ท.ล็อก 12 ส.ค.เปิดเดินรถ แอร์พอร์ตลิงก์ บีบ ร.ฟ.ท.จ้างเอกชนเดินรถช่วงแรก ทำสัญญา 2 ปีก่อน เผย 3 รายเข้าข่าย ทั้ง บีเอ็มซีแอล บีทีเอส และ ซีเมนส์ โยนร.ฟ.ท.หาวิธีคัดเลือกให้ทันวันเปิดเผยช่วงแรกเดินรถได้แค่สถานีมักกะสัน (CAT) ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เล็งใช้ฟรี เพราะการบริการไม่ 100% เตรียมชงครมซ 24 ก.พ. ของบเพิ่ม 300 ล้านบาท ขยายเวลาจ้าง CSC และทางเชื่อมต่อการเข้าออกสถานี
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท.ที่มี นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานวานนี้ (12 ก.พ.) ว่า ที่ประชุมได้ติดตามเร่งรัดการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารในเมือง หรือแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างมีความคืบหน้ากว่า 90% โดยคาดว่า จะสามารถเปิดให้บริการโครงการในวันที่ 12 ส.ค.2552 เฉพาะช่วง สถานีมักกะสัน (CAT) ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ และในช่วงแรก ร.ฟ.ท.จะต้องจ้างบริษัทเอกชนในรูปแบบ Outsource เข้ามารับเดินรถให้ ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะต้องเสนอว่าจะคัดเลือกเอกชนเข้ามาอย่างไร เพื่อให้ทันกับกำหนดเปิดเดินรถ
ทั้งนี้ คาดว่า งานโยธาจะก่อสร้างเสร็จก่อนเดือน ส.ค.ประมาณ 2-3 เดือน ดังนั้น เมื่อทดสอบการเชื่อมระบบเสร็จก็จะถือว่า ช่วง ส.ค.ที่เปิดให้บริการเป็นการทดสอบการเดินรถ (Test Run) ไปเลย ซึ่งการให้บริการจะยังไม่สมบูรณ์ 100% เพราะการอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งการจัดการกระเป๋าสัมภาระ ระบบเคาน์เตอร์เช็กอิน ระบบจัดส่งสัมภาระ ระบบสายพานลำเลียง ระบบความปลอดภัย จะยังไม่เสร็จ เพราะต้องหาผู้เข้ามาให้บริการในส่วนนี้ เช่น การบินไทย จำกัด (มหาชน) , บริษัท ไทยแอร์พอร์ต กราวด์ เซอรวิส จำกัด หรือ แทกส์ หรือบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด
นายสุพจน์ กล่าวว่า ในส่วนของการเดินรถนั้น ร.ฟ.ท.จำเป็นต้องว่าจ้างเอกชน ซึ่งจะทำสัญญาระยะสั้นประมาณ 2 ปีให้เดินรถพร้อมกับฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับพนักงานของ บริษัท เดินรถร่วม (ร.ฟ.ท.) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ร.ฟ.ท.จากนั้นบริษัทลูก ร.ฟ.ท.จะเดินรถเอง ซึ่งคาดว่า จะต้องใช้พนักงานในการปฏิบัติการเดินรถประมาณ 450 คน โดยขณะนี้มีบริษัทที่มีความพร้อมที่จะเข้ามารับจ้างเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ ทั้ง บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล,บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอส) และบริษัท ซีเมนส์ (ประเทศไทย) จำกัด
“รถไฟต้องเสนอว่าจะใช้วิธีใดในการหาเอกชนมาเดินรถให้ทันเดือน ส.ค.นี้ บอร์ดจะไม่ชี้นำ ว่าต้องเป็นวิธีพิเศษ หรือประมูล และในช่วงแรกที่เปิดให้บริการระบบยังไม่ 100% เป็นไปได้ที่เปิดให้บริการฟรี ซึ่งจะต้องนำเสนอบอร์ดพิจารณาอีกครั้ง เพราะคาดว่าผู้ใช้บริการช่วงแรกส่วนใหญ่จะเป็นพนักงานและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในสนามบิน” นายสุพจน์ กล่าว
นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการเสนอขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม 300 ล้านบาท เพื่อดำเนินการในส่วนของการเชื่อมต่อทางเข้าออกสถานีแอร์พอร์ตลิงก์ และการเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ารฟม.และรถไฟฟ้าบีทีเอส วงเงินประมาณ 100 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ(CSC) เนื่องจากบริษัท ซิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ได้รับการขยายเวลาก่อสร้างอีก 180 วัน ประมาณ 140 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษาอิสระหรือ IEC วงเงิน 50 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ในวันที่ 24 ก.พ.นี้
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท.ที่มี นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานวานนี้ (12 ก.พ.) ว่า ที่ประชุมได้ติดตามเร่งรัดการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารในเมือง หรือแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างมีความคืบหน้ากว่า 90% โดยคาดว่า จะสามารถเปิดให้บริการโครงการในวันที่ 12 ส.ค.2552 เฉพาะช่วง สถานีมักกะสัน (CAT) ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ และในช่วงแรก ร.ฟ.ท.จะต้องจ้างบริษัทเอกชนในรูปแบบ Outsource เข้ามารับเดินรถให้ ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะต้องเสนอว่าจะคัดเลือกเอกชนเข้ามาอย่างไร เพื่อให้ทันกับกำหนดเปิดเดินรถ
ทั้งนี้ คาดว่า งานโยธาจะก่อสร้างเสร็จก่อนเดือน ส.ค.ประมาณ 2-3 เดือน ดังนั้น เมื่อทดสอบการเชื่อมระบบเสร็จก็จะถือว่า ช่วง ส.ค.ที่เปิดให้บริการเป็นการทดสอบการเดินรถ (Test Run) ไปเลย ซึ่งการให้บริการจะยังไม่สมบูรณ์ 100% เพราะการอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งการจัดการกระเป๋าสัมภาระ ระบบเคาน์เตอร์เช็กอิน ระบบจัดส่งสัมภาระ ระบบสายพานลำเลียง ระบบความปลอดภัย จะยังไม่เสร็จ เพราะต้องหาผู้เข้ามาให้บริการในส่วนนี้ เช่น การบินไทย จำกัด (มหาชน) , บริษัท ไทยแอร์พอร์ต กราวด์ เซอรวิส จำกัด หรือ แทกส์ หรือบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด
นายสุพจน์ กล่าวว่า ในส่วนของการเดินรถนั้น ร.ฟ.ท.จำเป็นต้องว่าจ้างเอกชน ซึ่งจะทำสัญญาระยะสั้นประมาณ 2 ปีให้เดินรถพร้อมกับฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับพนักงานของ บริษัท เดินรถร่วม (ร.ฟ.ท.) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ร.ฟ.ท.จากนั้นบริษัทลูก ร.ฟ.ท.จะเดินรถเอง ซึ่งคาดว่า จะต้องใช้พนักงานในการปฏิบัติการเดินรถประมาณ 450 คน โดยขณะนี้มีบริษัทที่มีความพร้อมที่จะเข้ามารับจ้างเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ ทั้ง บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล,บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอส) และบริษัท ซีเมนส์ (ประเทศไทย) จำกัด
“รถไฟต้องเสนอว่าจะใช้วิธีใดในการหาเอกชนมาเดินรถให้ทันเดือน ส.ค.นี้ บอร์ดจะไม่ชี้นำ ว่าต้องเป็นวิธีพิเศษ หรือประมูล และในช่วงแรกที่เปิดให้บริการระบบยังไม่ 100% เป็นไปได้ที่เปิดให้บริการฟรี ซึ่งจะต้องนำเสนอบอร์ดพิจารณาอีกครั้ง เพราะคาดว่าผู้ใช้บริการช่วงแรกส่วนใหญ่จะเป็นพนักงานและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในสนามบิน” นายสุพจน์ กล่าว
นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการเสนอขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม 300 ล้านบาท เพื่อดำเนินการในส่วนของการเชื่อมต่อทางเข้าออกสถานีแอร์พอร์ตลิงก์ และการเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ารฟม.และรถไฟฟ้าบีทีเอส วงเงินประมาณ 100 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ(CSC) เนื่องจากบริษัท ซิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ได้รับการขยายเวลาก่อสร้างอีก 180 วัน ประมาณ 140 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษาอิสระหรือ IEC วงเงิน 50 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ในวันที่ 24 ก.พ.นี้