ASTVผู้จัดการรายวัน- ใบสั่ง Outsource จ้างเอกชน เดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ จับตาบิ๊กร.ฟ.ท.สนองผลประโยชน์การเมือง ตั้งเงื่อนเวลาเลี่ยงประมูลใช้จ้างวิธีพิเศษ อ้างเหตุ ร.ฟ.ท.ไร้ฝีมือ ทำเองขาดประสิทธิภาพ แฉกระบวนการเตะถ่วง ตั้งบริษัทลูกเดินรถมีมาตั้งแต่รัฐบาลก่อน ทำให้บริษัทลูกไม่คืบหน้าเพราะนโยบายไม่ชัดเจน เผย 12 ส.ค.52 เปิดเดินไม่ได้ เหตุ งานก่อสร้างคืบหน้า 93.83% ล่าช้ากว่าแผน 4.15% พร้อมเดินรถ พ.ย. 52
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ขณะนี้ มีความพยายามจากฝ่ายการเมืองให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่าจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาเดินรถในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (แอร์พอร์ตเรลลิงก์) ในรูปแบบ Outsource จากบริษัทลูกที่ร.ฟ.ท.จัดตั้งขึ้นอีกต่อหนึ่ง โดยอ้างเหตุผลว่า ร.ฟ.ท.ไม่มีประสิทธิภาพที่จะเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์เอง ซึ่งจะทำให้บริการไม่ดี ทำให้ภาพพจน์ร.ฟ.ท.เสียหาย ถ้าจ้างเอกชนจะทำให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีกว่า นอกจากนี้ จะใช้วิธีพิเศษในการว่าจ้าง โดยอ้างเหตุว่า มีเวลาที่จำกัด ไม่สามารถเปิดประมูลได้ทันกับการเปิดดินรถ วันที่ 12 ส.ค. 2552 เพราะการเปิดประมูลต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4 เดือน และบริษัทที่ได้รับคัดเลือกต้องจัดหาบุคลากรอย่างน้อย 300 คนเพื่อฝึกอบรม ซึ่งต้องใช้อีกอย่างน้อย 3 เดือน
"เมื่อเร็วๆ นี้ ฝ่ายการเมืองซึ่งอยู่เหนือจากนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ได้กำชับให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. และกรรมการร.ฟ.ท.บางคน ให้ Outsource การเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ให้เอกชน ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีเอกชนที่ให้ความสนใจเข้ามารับจ้างเดินรถแล้ว"แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ช่วงเดือนต.ค. 2551 กรรมการ ร.ฟ.ท.ได้เสนอให้ผู้บริหารร.ฟ.ท.ดำเนินการจ้างบริษัทเอกชนที่ชำนาญในด้านการเดินรถ เช่น บีทีเอส หรือ ซีเมนส์ มาดำเนินการก่อนในช่วงแรก จากนั้นให้ส่งบุคลากรของร.ฟ.ท. เข้าไปฝึกหัดอบรม แล้วค่อยมีการจัดตั้งบริษัทเดินรถไฟ แต่ทางฝ่ายบริหารเห็นว่า ควรที่จะจัดตั้งบริษัทตามแผนที่วางไว้ พร้อมทั้งจัดหาบุคลากร 5 คนมาบริหารงาน โดยในขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มบริษัท AM Offshore Tech,DB International, Siemens Limited และ Utility Design Consultant ได้ยื่นข้อเสนอมายังร.ฟ.ท.เพื่อขอรับสัมปทานเดินรถไฟฟ้า บำรุงรักษา จัดซื้ออะไหล่พร้อมเครื่องมือ บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ทุกสถานี จัดเก็บค่าโดยสาร และสรรหาบุคลากร เป็นเวลา 20 ปี หรือ 30 ปี
โดยก่อนหน้านี้ นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม กรรมการร.ฟ.ท.เคยกล่าวว่า บอร์ดไม่เห็นด้วยที่จะเอาคน 5 คนมาจัดตั้งบริษัท เพราะเหลือเวลาอีกเพียง 8 เดือน ที่จะต้องเดินรถ ตอนนี้การจัดตั้งบริษัทยังไม่มีอะไรคืบหน้า ได้คนมา 5 คนก็เท่านั้น แผนจัดตั้งยังไม่มี คนเข้ามาทำอะไร ซึ่งบอร์ดได้พยายามขอแผนการตั้งบริษัทลูก โครงสร้างบริษัท แผนการใช้เงิน การหาเงินเพื่อจดทะเบียนตั้งบริษัทก็ยังไม่มี ซึ่งบอร์ดได้ให้คำแนะนำกับผู้บริหารไปแล้วแต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เหมือนกับว่าพอเสนอไป ทางรถไฟไม่เห็นด้วยก็หยุดเลยไม่ทำอะไร ไม่มีการตอบกับมายังบอร์ดเลยสักครั้ง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 50 บอร์ดร.ฟ.ท.อนุมัติงบ 20 ล้านบาทสำหรับจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารรถไฟฟ้า ต่อมาวันที่ 6 พ.ค. 51 บอร์ดร.ฟ.ท.เห็นชอบจ้างผู้เชี่ยวชาญ 5 คน แต่นโยบายเริ่มมีความสับสนอีกครั้งเมื่อนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคมในขณะนั้นเห็นว่า ร.ฟ.ท.ควรรวมบริษัทลูกเดินรถไฟฟ้า และบริษัทลูกเดินรถไฟสายตะวันออก เป็นบริษัทเดียวกันคือบริษัทเดินรถไฟรวม ทำให้การจัดตั้งบริษัทลูกเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ต้องชะงักอีกครั้ง
"สิ่งที่ร.ฟ.ท.ต้องตอบคำถามคือ ทำไมไม่เดินรถแอร์พอร์ตลิงก์เอง เพราะโครงการนี้ขาดทุนตั้งแต่ยังไม่เปิด ในขณะที่ร.ฟ.ท.ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนเอกชนก็คงไม่รับจ้างทำงานโดยไม่บวกกำไร แน่นอน "แหล่งข่าวกล่าวว่า
อย่างไรก็ตาม นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ระบุว่า เมื่อเดือนธ.ค.2551 ได้ดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทลูกเดิน แอร์พอร์ตลิงก์ ในชื่อ บริษัท เดินรถร่วม (ร.ฟ.ท.) จำกัด ไว้ที่กระทรวงพาณิชย์ โดยยังไม่ได้ชำระทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท เนื่องจากต้องให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติก่อน ส่วนการเดินรถนั้นร.ฟ.ท.มีความพร้อมเปิดตามกำหนดวันที่ 12 ส.ค. 2552 โดยจะให้บริการจอดรับส่งเฉพาะสถานีต้นทาง-ปลายทางในระยะแรกก่อน ระยะต่อไปจึงจะให้บริการครบทุกสถานี แต่ในส่วนของการก่อสร้างยังไม่แน่ใจว่าจะเสร็จทันเดือนส.ค.หรือไม่เพราะบริษัท ซิโน-ไทย ขอใช้สิทธิขยายเวลาก่อสร้างอีก 180 วัน ตามมติครม. ชุดนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกฯ
***ฟันธงเสร็จไม่ทัน 12 ส.ค.52
แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างแอร์พอร์ตลิงก์ว่า ภาพรวมการก่อสร้างสิ้นสุด เดือนธ.ค. 51 คืบหน้า 93.83% ล่าช้ากว่าแผน 4.15% โดยงายโยธาคืบหน้า 96.34% งานไฟฟ้าและเครื่องกล คืบหน้า 91.68% โดยมีการจ่ายเงินผู้รับเหมาคือบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ไปแล้ว 78% อย่างไรก็ตาม บอร์ดร.ฟ.ท.ได้เห็นชอบขยายเวลาก่อสร้างอีก 180 วัน ตามที่บริษัท ซิโน-ไทย ได้ทำหนังสือขอใช้สิทธิ์ตามมติครม.แล้ว โดยคาดว่าจะลงนามในแนบท้ายสัญญาได้ต้นเดือนก.พ.นี้
แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า สัญญาเดิมกำหนดงานก่อสร้างจะเสร็จวันที่ 7 ก.พ. 52 จากนั้นจะทดสอบระบบอีก 3 เดือนและทดสอบการเดินรถอีก 3 เดือนหรือประมาณ 12 ส.ค. 52 ถึงจะเปิดเดินรถได้ แต่จากการประเมินล่าสุดพบว่าโครงการจะก่อสร้างเสร็จล่าช้าออกไปอีก ประมาณ 3 เดือน ทำให้งานทดสอบระบบจะเริ่มได้ประมาณพ.ค. 52 และต้องใช้เวลาอีก 6 เดือนถึงจะเดินรถได้ หรือประมาณเดือนพ.ย. 52
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ขณะนี้ มีความพยายามจากฝ่ายการเมืองให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่าจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาเดินรถในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (แอร์พอร์ตเรลลิงก์) ในรูปแบบ Outsource จากบริษัทลูกที่ร.ฟ.ท.จัดตั้งขึ้นอีกต่อหนึ่ง โดยอ้างเหตุผลว่า ร.ฟ.ท.ไม่มีประสิทธิภาพที่จะเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์เอง ซึ่งจะทำให้บริการไม่ดี ทำให้ภาพพจน์ร.ฟ.ท.เสียหาย ถ้าจ้างเอกชนจะทำให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีกว่า นอกจากนี้ จะใช้วิธีพิเศษในการว่าจ้าง โดยอ้างเหตุว่า มีเวลาที่จำกัด ไม่สามารถเปิดประมูลได้ทันกับการเปิดดินรถ วันที่ 12 ส.ค. 2552 เพราะการเปิดประมูลต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4 เดือน และบริษัทที่ได้รับคัดเลือกต้องจัดหาบุคลากรอย่างน้อย 300 คนเพื่อฝึกอบรม ซึ่งต้องใช้อีกอย่างน้อย 3 เดือน
"เมื่อเร็วๆ นี้ ฝ่ายการเมืองซึ่งอยู่เหนือจากนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ได้กำชับให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. และกรรมการร.ฟ.ท.บางคน ให้ Outsource การเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ให้เอกชน ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีเอกชนที่ให้ความสนใจเข้ามารับจ้างเดินรถแล้ว"แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ช่วงเดือนต.ค. 2551 กรรมการ ร.ฟ.ท.ได้เสนอให้ผู้บริหารร.ฟ.ท.ดำเนินการจ้างบริษัทเอกชนที่ชำนาญในด้านการเดินรถ เช่น บีทีเอส หรือ ซีเมนส์ มาดำเนินการก่อนในช่วงแรก จากนั้นให้ส่งบุคลากรของร.ฟ.ท. เข้าไปฝึกหัดอบรม แล้วค่อยมีการจัดตั้งบริษัทเดินรถไฟ แต่ทางฝ่ายบริหารเห็นว่า ควรที่จะจัดตั้งบริษัทตามแผนที่วางไว้ พร้อมทั้งจัดหาบุคลากร 5 คนมาบริหารงาน โดยในขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มบริษัท AM Offshore Tech,DB International, Siemens Limited และ Utility Design Consultant ได้ยื่นข้อเสนอมายังร.ฟ.ท.เพื่อขอรับสัมปทานเดินรถไฟฟ้า บำรุงรักษา จัดซื้ออะไหล่พร้อมเครื่องมือ บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ทุกสถานี จัดเก็บค่าโดยสาร และสรรหาบุคลากร เป็นเวลา 20 ปี หรือ 30 ปี
โดยก่อนหน้านี้ นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม กรรมการร.ฟ.ท.เคยกล่าวว่า บอร์ดไม่เห็นด้วยที่จะเอาคน 5 คนมาจัดตั้งบริษัท เพราะเหลือเวลาอีกเพียง 8 เดือน ที่จะต้องเดินรถ ตอนนี้การจัดตั้งบริษัทยังไม่มีอะไรคืบหน้า ได้คนมา 5 คนก็เท่านั้น แผนจัดตั้งยังไม่มี คนเข้ามาทำอะไร ซึ่งบอร์ดได้พยายามขอแผนการตั้งบริษัทลูก โครงสร้างบริษัท แผนการใช้เงิน การหาเงินเพื่อจดทะเบียนตั้งบริษัทก็ยังไม่มี ซึ่งบอร์ดได้ให้คำแนะนำกับผู้บริหารไปแล้วแต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เหมือนกับว่าพอเสนอไป ทางรถไฟไม่เห็นด้วยก็หยุดเลยไม่ทำอะไร ไม่มีการตอบกับมายังบอร์ดเลยสักครั้ง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 50 บอร์ดร.ฟ.ท.อนุมัติงบ 20 ล้านบาทสำหรับจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารรถไฟฟ้า ต่อมาวันที่ 6 พ.ค. 51 บอร์ดร.ฟ.ท.เห็นชอบจ้างผู้เชี่ยวชาญ 5 คน แต่นโยบายเริ่มมีความสับสนอีกครั้งเมื่อนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคมในขณะนั้นเห็นว่า ร.ฟ.ท.ควรรวมบริษัทลูกเดินรถไฟฟ้า และบริษัทลูกเดินรถไฟสายตะวันออก เป็นบริษัทเดียวกันคือบริษัทเดินรถไฟรวม ทำให้การจัดตั้งบริษัทลูกเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ต้องชะงักอีกครั้ง
"สิ่งที่ร.ฟ.ท.ต้องตอบคำถามคือ ทำไมไม่เดินรถแอร์พอร์ตลิงก์เอง เพราะโครงการนี้ขาดทุนตั้งแต่ยังไม่เปิด ในขณะที่ร.ฟ.ท.ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนเอกชนก็คงไม่รับจ้างทำงานโดยไม่บวกกำไร แน่นอน "แหล่งข่าวกล่าวว่า
อย่างไรก็ตาม นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ระบุว่า เมื่อเดือนธ.ค.2551 ได้ดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทลูกเดิน แอร์พอร์ตลิงก์ ในชื่อ บริษัท เดินรถร่วม (ร.ฟ.ท.) จำกัด ไว้ที่กระทรวงพาณิชย์ โดยยังไม่ได้ชำระทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท เนื่องจากต้องให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติก่อน ส่วนการเดินรถนั้นร.ฟ.ท.มีความพร้อมเปิดตามกำหนดวันที่ 12 ส.ค. 2552 โดยจะให้บริการจอดรับส่งเฉพาะสถานีต้นทาง-ปลายทางในระยะแรกก่อน ระยะต่อไปจึงจะให้บริการครบทุกสถานี แต่ในส่วนของการก่อสร้างยังไม่แน่ใจว่าจะเสร็จทันเดือนส.ค.หรือไม่เพราะบริษัท ซิโน-ไทย ขอใช้สิทธิขยายเวลาก่อสร้างอีก 180 วัน ตามมติครม. ชุดนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกฯ
***ฟันธงเสร็จไม่ทัน 12 ส.ค.52
แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างแอร์พอร์ตลิงก์ว่า ภาพรวมการก่อสร้างสิ้นสุด เดือนธ.ค. 51 คืบหน้า 93.83% ล่าช้ากว่าแผน 4.15% โดยงายโยธาคืบหน้า 96.34% งานไฟฟ้าและเครื่องกล คืบหน้า 91.68% โดยมีการจ่ายเงินผู้รับเหมาคือบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ไปแล้ว 78% อย่างไรก็ตาม บอร์ดร.ฟ.ท.ได้เห็นชอบขยายเวลาก่อสร้างอีก 180 วัน ตามที่บริษัท ซิโน-ไทย ได้ทำหนังสือขอใช้สิทธิ์ตามมติครม.แล้ว โดยคาดว่าจะลงนามในแนบท้ายสัญญาได้ต้นเดือนก.พ.นี้
แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า สัญญาเดิมกำหนดงานก่อสร้างจะเสร็จวันที่ 7 ก.พ. 52 จากนั้นจะทดสอบระบบอีก 3 เดือนและทดสอบการเดินรถอีก 3 เดือนหรือประมาณ 12 ส.ค. 52 ถึงจะเปิดเดินรถได้ แต่จากการประเมินล่าสุดพบว่าโครงการจะก่อสร้างเสร็จล่าช้าออกไปอีก ประมาณ 3 เดือน ทำให้งานทดสอบระบบจะเริ่มได้ประมาณพ.ค. 52 และต้องใช้เวลาอีก 6 เดือนถึงจะเดินรถได้ หรือประมาณเดือนพ.ย. 52