ASTV ผู้จัดการรายวัน-บอร์ดร.ฟ.ท. ล็อก 12 ส.ค. เปิดเดินรถ แอร์พอร์ตลิงก์ บีบร.ฟ.ท.จ้างเอกชนเดินรถช่วงแรก ทำสัญญา 2 ปีก่อน เผย 3 รายเข้าข่าย ทั้งบีเอ็มซีแอล บีทีเอสและซีเมนส์ โยนร.ฟ.ท.หาวิธีคัดเลือกให้ทันวันเปิดเผยช่วงแรกเดินรถได้แค่สถานีมักกะสัน (CAT) ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เล็งใช้ฟรี เพราะการบริการไม่ 100% เตรียมชงครมซ 24 ก.พ. ของบเพิ่ม 300 ล้านบาท ขยายเวลาจ้าง CSC และทางเชื่อมต่อการเข้าออกสถานี
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดร.ฟ.ท.ที่มีนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานวานนี้ (12 ก.พ.) ว่า ที่ประชุมฯ ได้ติดตามเร่งรัดการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารในเมืองหรือแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างมีความคืบหน้ากว่า 90% โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการโครงการในวันที่ 12 ส.ค. 2552 เฉพาะช่วง สถานีมักกะสัน (CAT) ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ และในช่วงแรกร.ฟ.ท.จะต้องจ้างบริษัทเอกชนในรูปแบบ Outsource เข้ามารับเดินรถให้ ซึ่งร.ฟ.ท.จะต้องเสนอว่าจะคัดเลือกเอกชนเข้ามาอย่างไร เพื่อให้ทันกับกำหนดเปิดเดินรถ
ทั้งนี้ คาดว่างานโยธาจะก่อสร้างเสร็จก่อนเดือนส.ค.ประมาณ 2-3 เดือน ดังนั้นเมื่อทดสอบการเชื่อมระบบเสร็จก็จะถือว่า ช่วงส.ค.ที่เปิดให้บริการเป็นการทดสอบการเดินรถ (Test Run) ไปเลย ซึ่งการให้บริการจะยังไม่สมบูรณ์ 100% เพราะการอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้ง การจัดการกระเป๋าสัมภาระ ระบบเคาท์เตอร์เช็คอิน ระบบจัดส่งสัมภาระ ระบบสายพานลำเลียง ระบบความปลอดภัย จะยังไม่เสร็จ เพราะต้องหาผู้เข้ามาให้บริการในส่วนนี้ เช่น การบินไทย จำกัด (มหาชน) , บริษัท ไทยแอร์พอร์ต กราวด์ เซอรวิส จำกัด หรือ แทกส์ หรือบริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด
นายสุพจน์กล่าวว่า ในส่วนของการเดินรถนั้น ร.ฟ.ท.จำเป็นต้องว่าจ้างเอกชนซึ่งจะทำสัญญาระยะสั้นประมาณ 2 ปีให้เดินรถพร้อมกับฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับพนักงานของ บริษัท เดินรถร่วม (ร.ฟ.ท.) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ร.ฟ.ท.จากนั้นบริษัทลูกร.ฟ.ท.จะเดินรถเอง ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้พนักงานในการปฏิบัติการเดินรถประมาณ 450 คน โดยขณะนี้มีบริษัทที่มีความพร้อมที่จะเข้ามารับจ้างเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ ทั้ง บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล,บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอส) และบริษัท ซีเมนส์ (ประเทศไทย) จำกัด
“รถไฟต้องเสนอว่าจะใช้วิธีใดในการหาเอกชนมาเดินรถให้ทันเดือนส.ค.นี้ บอร์ดจะไม่ชี้นำ ว่าต้องเป็นวิธีพิเศษ หรือประมูล และในช่วงแรกที่เปิดให้บริการระบบยังไม่ 100% เป็นไปได้ที่เปิดให้บริการฟรี ซึ่งจะต้องนำเสนอบอร์ดพิจารณาอีกครั้ง เพราะคาดว่าผู้ใช้บริการช่วงแรกส่วนใหญ่จะเป็นพนักงานและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในสนามบิน”นายสุพจน์กล่าว
นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการเสนอขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม 300 ล้านบาท เพื่อดำเนินการในส่วนของการเชื่อมต่อทางเข้าออกสถานีแอร์พอร์ตลิงก์และการเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ารฟม.และรถไฟฟ้าบีทีเอส วงเงินประมาณ 100 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ(CSC) เนื่องจากบริษัท ซิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ได้รับการขยายเวลาก่อสร้างอีก 180 วัน ประมาณ 140 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษาอิสระหรือ IEC วงเงิน 50 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเสนอครม.ได้ในวันที่ 24 ก.พ.นี้
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดร.ฟ.ท.ที่มีนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานวานนี้ (12 ก.พ.) ว่า ที่ประชุมฯ ได้ติดตามเร่งรัดการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารในเมืองหรือแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างมีความคืบหน้ากว่า 90% โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการโครงการในวันที่ 12 ส.ค. 2552 เฉพาะช่วง สถานีมักกะสัน (CAT) ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ และในช่วงแรกร.ฟ.ท.จะต้องจ้างบริษัทเอกชนในรูปแบบ Outsource เข้ามารับเดินรถให้ ซึ่งร.ฟ.ท.จะต้องเสนอว่าจะคัดเลือกเอกชนเข้ามาอย่างไร เพื่อให้ทันกับกำหนดเปิดเดินรถ
ทั้งนี้ คาดว่างานโยธาจะก่อสร้างเสร็จก่อนเดือนส.ค.ประมาณ 2-3 เดือน ดังนั้นเมื่อทดสอบการเชื่อมระบบเสร็จก็จะถือว่า ช่วงส.ค.ที่เปิดให้บริการเป็นการทดสอบการเดินรถ (Test Run) ไปเลย ซึ่งการให้บริการจะยังไม่สมบูรณ์ 100% เพราะการอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้ง การจัดการกระเป๋าสัมภาระ ระบบเคาท์เตอร์เช็คอิน ระบบจัดส่งสัมภาระ ระบบสายพานลำเลียง ระบบความปลอดภัย จะยังไม่เสร็จ เพราะต้องหาผู้เข้ามาให้บริการในส่วนนี้ เช่น การบินไทย จำกัด (มหาชน) , บริษัท ไทยแอร์พอร์ต กราวด์ เซอรวิส จำกัด หรือ แทกส์ หรือบริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด
นายสุพจน์กล่าวว่า ในส่วนของการเดินรถนั้น ร.ฟ.ท.จำเป็นต้องว่าจ้างเอกชนซึ่งจะทำสัญญาระยะสั้นประมาณ 2 ปีให้เดินรถพร้อมกับฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับพนักงานของ บริษัท เดินรถร่วม (ร.ฟ.ท.) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ร.ฟ.ท.จากนั้นบริษัทลูกร.ฟ.ท.จะเดินรถเอง ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้พนักงานในการปฏิบัติการเดินรถประมาณ 450 คน โดยขณะนี้มีบริษัทที่มีความพร้อมที่จะเข้ามารับจ้างเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ ทั้ง บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล,บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอส) และบริษัท ซีเมนส์ (ประเทศไทย) จำกัด
“รถไฟต้องเสนอว่าจะใช้วิธีใดในการหาเอกชนมาเดินรถให้ทันเดือนส.ค.นี้ บอร์ดจะไม่ชี้นำ ว่าต้องเป็นวิธีพิเศษ หรือประมูล และในช่วงแรกที่เปิดให้บริการระบบยังไม่ 100% เป็นไปได้ที่เปิดให้บริการฟรี ซึ่งจะต้องนำเสนอบอร์ดพิจารณาอีกครั้ง เพราะคาดว่าผู้ใช้บริการช่วงแรกส่วนใหญ่จะเป็นพนักงานและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในสนามบิน”นายสุพจน์กล่าว
นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการเสนอขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม 300 ล้านบาท เพื่อดำเนินการในส่วนของการเชื่อมต่อทางเข้าออกสถานีแอร์พอร์ตลิงก์และการเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ารฟม.และรถไฟฟ้าบีทีเอส วงเงินประมาณ 100 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ(CSC) เนื่องจากบริษัท ซิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ได้รับการขยายเวลาก่อสร้างอีก 180 วัน ประมาณ 140 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษาอิสระหรือ IEC วงเงิน 50 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเสนอครม.ได้ในวันที่ 24 ก.พ.นี้