ASTVผู้จัดการรายวัน-แอร์พอร์ตลิ้งค์ยังไม่พร้อม ระบบ-ความปลอดภัย-บุคลากร ยังวุ่น ร.ฟ.ท.เร่งแก้ปัญหา ส่อเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ ไม่ทัน เม.ย.53 คาดเป็น ส.ค. 53 เหตุปัญหาหลัก ผู้บริหารการเดินรถ ยังไม่ชัด บริษัทลูก ไม่เกิด บุคลากรไม่พร้อม ที่ปรึกษาอิสระ ( ICE) ไม่รับรองความปลอดภัย ยังแก้ปัญหาแอร์พอร์ตลิ้งค์ยัง
นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือ แอร์พอร์ตลิ้งค์ว่า ผลการติดตามงานล่าสุดเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2553 ยังมีปัญหาหลัก 3 เรื่องคือ 1. ระบบติดต่อสื่อสารแต่ละสถานียังไม่มีความสมบูรณ์ 100 % โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในกรณีการเกิดเหตุความไม่ปลอดภัยในสถานี 2.การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เพิ่มเติมในจุดที่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของโครงการ และ 3. ระบบประตูภายในสถานีบางแห่งยังไม่มีความเรียบร้อย
นอกจากนี้ การตรวจเพื่อรับงานก่อสร้างโครงสร้างงานโยธาและการติดตั้งระบบรางและระบบไฟฟ้าเครื่องกล (E&M) จากกลุ่มกิจการร่วมค้า บี.กริมม์ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งมีบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นแกนนำ ยังไม่เรียบร้อย เนื่องจากยังพบปัญหาทางด้านเทคนิคบางอย่าง ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จสิ้น และจะมีการประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าอีกครั้งในสัปดาห์หน้า
“ปัญหา 3 เรื่องจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไขเพื่อให้ ที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ (Independent safety and system Certification Engineer : ICE) ตรวจสอบเพื่อออกหนังสือรับรองความปลอดภัย รับรองประกันความมั่นคงและความปลอดภัยของระบบรถไฟฟ้า ก่อนที่จะดำเนินการเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ให้ได้ภายในเดือนเม.ย.2553 นี้”นายยุทธนา กล่าว
สำหรับการจัดตั้งบริษัทลูกแอร์พอร์ตลิ้งค์นั้น นายยุทธนากล่าวว่า จะเร่งดำเนินการจัดตั้งให้เร็วที่สุด ซึ่งก่อนหน้านี้นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะกรรมการ ร.ฟ.ท. ได้ชี้แจงโครงสร้างการบริหารงานเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทลูก และหน่วยธุรกิจ กับพนักงานของร.ฟ.ท.เรียบร้อยแล้ว ซึ่งพนักงานก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
ก่อนหน้านี้นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า สาเหตุหลักที่ ICE ยังไม่ได้รับรองด้านความปลอดภัย โครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์ได้ เนื่องจากปัจจุบันยังติดปัญหาเรื่อง หน่วยงานบริหารการเดินรถ ทั้งเรื่อง จำนวนบุคคลากรที่จะเข้ามาปฎิบัติงาน ยังไม่มีความพร้อม โดยสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทำหน้าที่คัดเลือกบุคลากรเข้ามาปฎิบัติการเดินรถ คัดเลือกบุคลากรได้เพียง 30% จากที่ต้องการทั้งหมดประมาณ 400 คน
ส่วนการจัดตั้งบริษัทลูก หรือบริษัทเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์ มีความล่าช้ากว่าแผนที่จะต้องจัดตั้งตั้งแต่เดือนก.ค. 2552 แต่เลื่อนเป็นเดือนม.ค. 2553 เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการออกมาคัดค้านของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ร.ฟ.ท. และหากจัดตั้งบริษัทลูกแล้ว จะต้องได้รับการรับรองความปลอดภัย โครงการ ทั้ง 100% จาก ICE ก่อนจึงจะสามารถเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ได้
ซึ่งประเมินว่า จะสามารถเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ได้ประมาณเดือนส.ค. 2553
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท.ได้แก้ปัญหาที่ถูกสหภาพฯ ร.ฟ.ท.คัดต้านการจัดตั้งบริษัทลูก โดยว่าจ้างบริษัท Deutsche Bahn International (DBI) ซึ่งเป็นบริษัทเดินรถไฟของประเทศเยอรมันเข้ามาฝึกบุคลากร เป็นเวลา 9 เดือนแล้ว และว่าจ้าง การรถไฟแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือ Deutsche Bahn AG (DB) ที่เป็นบริษัทแม่ของ DBI เข้ามาเป็นผู้บริหารการเดินรถ และส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น การซ่อมบำรุงระบบความปลอดภัย ในช่วง 3 ปีแรก
นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือ แอร์พอร์ตลิ้งค์ว่า ผลการติดตามงานล่าสุดเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2553 ยังมีปัญหาหลัก 3 เรื่องคือ 1. ระบบติดต่อสื่อสารแต่ละสถานียังไม่มีความสมบูรณ์ 100 % โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในกรณีการเกิดเหตุความไม่ปลอดภัยในสถานี 2.การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เพิ่มเติมในจุดที่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของโครงการ และ 3. ระบบประตูภายในสถานีบางแห่งยังไม่มีความเรียบร้อย
นอกจากนี้ การตรวจเพื่อรับงานก่อสร้างโครงสร้างงานโยธาและการติดตั้งระบบรางและระบบไฟฟ้าเครื่องกล (E&M) จากกลุ่มกิจการร่วมค้า บี.กริมม์ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งมีบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นแกนนำ ยังไม่เรียบร้อย เนื่องจากยังพบปัญหาทางด้านเทคนิคบางอย่าง ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จสิ้น และจะมีการประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าอีกครั้งในสัปดาห์หน้า
“ปัญหา 3 เรื่องจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไขเพื่อให้ ที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ (Independent safety and system Certification Engineer : ICE) ตรวจสอบเพื่อออกหนังสือรับรองความปลอดภัย รับรองประกันความมั่นคงและความปลอดภัยของระบบรถไฟฟ้า ก่อนที่จะดำเนินการเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ให้ได้ภายในเดือนเม.ย.2553 นี้”นายยุทธนา กล่าว
สำหรับการจัดตั้งบริษัทลูกแอร์พอร์ตลิ้งค์นั้น นายยุทธนากล่าวว่า จะเร่งดำเนินการจัดตั้งให้เร็วที่สุด ซึ่งก่อนหน้านี้นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะกรรมการ ร.ฟ.ท. ได้ชี้แจงโครงสร้างการบริหารงานเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทลูก และหน่วยธุรกิจ กับพนักงานของร.ฟ.ท.เรียบร้อยแล้ว ซึ่งพนักงานก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
ก่อนหน้านี้นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า สาเหตุหลักที่ ICE ยังไม่ได้รับรองด้านความปลอดภัย โครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์ได้ เนื่องจากปัจจุบันยังติดปัญหาเรื่อง หน่วยงานบริหารการเดินรถ ทั้งเรื่อง จำนวนบุคคลากรที่จะเข้ามาปฎิบัติงาน ยังไม่มีความพร้อม โดยสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทำหน้าที่คัดเลือกบุคลากรเข้ามาปฎิบัติการเดินรถ คัดเลือกบุคลากรได้เพียง 30% จากที่ต้องการทั้งหมดประมาณ 400 คน
ส่วนการจัดตั้งบริษัทลูก หรือบริษัทเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์ มีความล่าช้ากว่าแผนที่จะต้องจัดตั้งตั้งแต่เดือนก.ค. 2552 แต่เลื่อนเป็นเดือนม.ค. 2553 เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการออกมาคัดค้านของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ร.ฟ.ท. และหากจัดตั้งบริษัทลูกแล้ว จะต้องได้รับการรับรองความปลอดภัย โครงการ ทั้ง 100% จาก ICE ก่อนจึงจะสามารถเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ได้
ซึ่งประเมินว่า จะสามารถเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ได้ประมาณเดือนส.ค. 2553
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท.ได้แก้ปัญหาที่ถูกสหภาพฯ ร.ฟ.ท.คัดต้านการจัดตั้งบริษัทลูก โดยว่าจ้างบริษัท Deutsche Bahn International (DBI) ซึ่งเป็นบริษัทเดินรถไฟของประเทศเยอรมันเข้ามาฝึกบุคลากร เป็นเวลา 9 เดือนแล้ว และว่าจ้าง การรถไฟแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือ Deutsche Bahn AG (DB) ที่เป็นบริษัทแม่ของ DBI เข้ามาเป็นผู้บริหารการเดินรถ และส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น การซ่อมบำรุงระบบความปลอดภัย ในช่วง 3 ปีแรก