นายสมศักดิ์ ศิวะไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ท่าเรือประจวบ จำกัด ในเครือสหวิริยา เปิดเผยกรณีแกนนำกลุ่มคัดค้านโครงการโรงถลุงเหล็กฯ ระบุท่าเทียบเรือน้ำลึกปัจจุบันของบริษัทมีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่อาจเป็นเท็จ และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศแหล่งท่องเที่ยว ว่า การจัดทำอีไอเอของท่าเทียบเรือน้ำลึก มีการศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบด้านโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นที่ยอมรับ โปร่งใสในทุกขั้นตอน โดยผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
นายสมศักดิ์กล่าวว่า ส่วนประเด็นท่าเรือฯ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศก็ไม่เป็นความจริง เพราะจากการศึกษาของ United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) พบว่า อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีสภาพภูมิประเทศเป็นร่องน้ำลึกโดยธรรมชาติ เหมาะแก่การสร้างท่าเรือน้ำลึกโดยไม่ทำลายสภาพแวดล้อม ไม่ต้องขุดลอกดินออกปริมาณมากๆ เหมือนท่าเรืออื่นๆ ทั้งยังมีการตกตะกอนของดินน้อย ทำให้ไม่มีผลกระทบจากระดับน้ำขึ้น น้ำลง และการพัดพาของดินตะกอน
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพของอ่าวเทียนนั้น เดิมอ่าวเทียนเป็นหาดหินที่ถูกปล่อยทิ้งให้รกร้าง เมื่อบริษัทฯ ได้รับอนุญาตให้ดำเนินโครงการ ท่าเทียบเรือน้ำลึกจึงมีการใช้พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างเป็นท่าเรือน้ำลึกที่ได้มาตรฐานรวมถึงเขื่อนกันคลื่น หลังสร้างท่าเรือส่วนขยายมีหาดทรายเกิดขึ้นเพราะลมใต้พัดเอาทรายที่ทำการขุดลอกบางส่วนยกตัวขึ้นมา ซึ่งก็เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ไม่ได้เกิดจากการตกตะกอน ไม่มีผลกระทบด้านทัศนียภาพใดๆ
ส่วนอ่าวบ่อทองหลาง ปัจจุบันมีสภาพน้ำใส สวยงาม นิเวศวิทยาบริเวณหัวเขาหลังเขื่อนกันคลื่นก็ยังสมบูรณ์ มีชาวบ้านตกปลา เล่นน้ำกันตามปกติ
นายสมศักด์ กล่าวว่า การออกมาให้ข่าวของกลุ่มคัดค้านในลักษณะนี้ ทำให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหายและเสื่อมเสียชื่อเสียง ที่สำคัญ บริษัท ท่าเรือประจวบ จำกัด ถือหุ้นโดย บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ เอสเอสไอ ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บริษัทฯ จำเป็นต้องพึ่งกระบวนการทางกฎหมายเพื่อรักษาชื่อเสียงและทำความจริงให้ปรากฏ
นายประเสริฐ ทองแดง ชาวประมงพื้นบ้านหมู่ 3 ต.แม่รำพึง กล่าวกรณีกลุ่มคัดค้านระบุสภาพหินสีดำในบริเวณพื้นที่ท่าเรือว่า ตนเกิดมา 50 กว่าปี ก็เห็นหินเป็นสีดำ และเมื่อมีการสร้างท่าเรือก็สามารถจับปลาได้เป็นจำนวนมาก บางคืนได้ถึง 7 หมื่นบาท และชายหาดที่เป็นทราย ชาวประมงก็ได้อาศัยพักเรือกว่า 20 ลำ
นายสมศักดิ์กล่าวว่า ส่วนประเด็นท่าเรือฯ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศก็ไม่เป็นความจริง เพราะจากการศึกษาของ United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) พบว่า อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีสภาพภูมิประเทศเป็นร่องน้ำลึกโดยธรรมชาติ เหมาะแก่การสร้างท่าเรือน้ำลึกโดยไม่ทำลายสภาพแวดล้อม ไม่ต้องขุดลอกดินออกปริมาณมากๆ เหมือนท่าเรืออื่นๆ ทั้งยังมีการตกตะกอนของดินน้อย ทำให้ไม่มีผลกระทบจากระดับน้ำขึ้น น้ำลง และการพัดพาของดินตะกอน
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพของอ่าวเทียนนั้น เดิมอ่าวเทียนเป็นหาดหินที่ถูกปล่อยทิ้งให้รกร้าง เมื่อบริษัทฯ ได้รับอนุญาตให้ดำเนินโครงการ ท่าเทียบเรือน้ำลึกจึงมีการใช้พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างเป็นท่าเรือน้ำลึกที่ได้มาตรฐานรวมถึงเขื่อนกันคลื่น หลังสร้างท่าเรือส่วนขยายมีหาดทรายเกิดขึ้นเพราะลมใต้พัดเอาทรายที่ทำการขุดลอกบางส่วนยกตัวขึ้นมา ซึ่งก็เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ไม่ได้เกิดจากการตกตะกอน ไม่มีผลกระทบด้านทัศนียภาพใดๆ
ส่วนอ่าวบ่อทองหลาง ปัจจุบันมีสภาพน้ำใส สวยงาม นิเวศวิทยาบริเวณหัวเขาหลังเขื่อนกันคลื่นก็ยังสมบูรณ์ มีชาวบ้านตกปลา เล่นน้ำกันตามปกติ
นายสมศักด์ กล่าวว่า การออกมาให้ข่าวของกลุ่มคัดค้านในลักษณะนี้ ทำให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหายและเสื่อมเสียชื่อเสียง ที่สำคัญ บริษัท ท่าเรือประจวบ จำกัด ถือหุ้นโดย บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ เอสเอสไอ ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บริษัทฯ จำเป็นต้องพึ่งกระบวนการทางกฎหมายเพื่อรักษาชื่อเสียงและทำความจริงให้ปรากฏ
นายประเสริฐ ทองแดง ชาวประมงพื้นบ้านหมู่ 3 ต.แม่รำพึง กล่าวกรณีกลุ่มคัดค้านระบุสภาพหินสีดำในบริเวณพื้นที่ท่าเรือว่า ตนเกิดมา 50 กว่าปี ก็เห็นหินเป็นสีดำ และเมื่อมีการสร้างท่าเรือก็สามารถจับปลาได้เป็นจำนวนมาก บางคืนได้ถึง 7 หมื่นบาท และชายหาดที่เป็นทราย ชาวประมงก็ได้อาศัยพักเรือกว่า 20 ลำ