บรรดาธนาคารในเอเชีย ส่วนใหญ่สามารถหลบหลีกไม่เสียหายอะไรนักจากการล่มสลายของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทซับไพรม์ แต่เมื่อมาถึงขณะนี้ซึ่งวิกฤตทางการเงินกำลังสร้างความยับเยินในโลกตะวันตก แบงก์ของภูมิภาคแถบนี้ก็จะต้องคอยรับมือกับผลกระทบซึ่งจะทำให้ตลาดอยู่ในอาการย่ำแย่ ตลอดจนภาพของเศรษฐกิจโดยรวมมืดมนลง
คาดหมายกันว่า ธนาคารและสถาบันการเงินจำนวนมากในเอเชีย จะมีผลประกอบการที่เลวร้ายลง เพราะเผชิญแรงกดดันทั้งจากการที่อัตราเติบโตของการปล่อยกู้ชะลอตัว, คุณภาพสินทรัพย์เสื่อมค่าลงเรื่อยๆ, และต้นทุนของสินเชื่อก็เพิ่มขึ้นในเมื่ออัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบงก์และสถาบันการเงินที่ทำกำไรได้ก้อนโต้จากกิจกรรมซื้อขายหลักทรัพย์ คงจะเจ็บปวดมากกว่าเพื่อน ดังที่ ปีเตอร์ เท็บบัตต์ ผู้อำนวยการอาวุโสแห่งบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ฟิตช์ เรตติ้งส์ ให้ความเห็นว่า "ใครก็ตามที่กำลังเติบโตขยายตัวอย่างรวดเร็วก่อนหน้าเศรษฐกิจทรุด น่าจะเป็นพวกที่ต้องเจ็บตัวมากที่สุด"
กระนั้นก็ตาม มองโดยภาพรวมแล้ว พวกแบงก์ในเอเชียสามารถหลบหลีกความเสียหายอย่างมโหฬารที่พวกธนาคารและสถาบันการเงินในโลกตะวันตกจำนวนมากกำลังประสบอยู่ สืบเนื่องจากแบงก์เหล่านี้ไม่ได้พัวพันเกี่ยวข้องอะไรมากนัก กับการปล่อยกู้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ หรือไปถือตราสารหนี้ที่ผูกพันกับสินเชื่อเหล่านี้
แต่ใช่ว่าแบงก์ในเอเชียจะไม่ได้รับผลกระทบกระเทือนอะไร ตรงกันข้าม ความเสี่ยงสำคัญที่สุดของเอเชียก็คือภาวะเศรษฐกิจที่กำลังมืดมัวลงเรื่อยๆ เมื่อต้นเดือนนี้เอง เมอร์ริลลินช์ได้ลดตัวเลขคาดหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น สำหรับปีนี้มาอยู่ที่ 7.7% จากที่เคยให้ไว้ ณ 8% ส่วนสำหรับปีหน้าก็ลดมาเหลือ 7.3% จาก 7.8% โดยเหตุผลสำคัญก็คือยอดการส่งออกของเอเชียกำลังชะลอตัว
คาดหมายกันว่า ธนาคารและสถาบันการเงินจำนวนมากในเอเชีย จะมีผลประกอบการที่เลวร้ายลง เพราะเผชิญแรงกดดันทั้งจากการที่อัตราเติบโตของการปล่อยกู้ชะลอตัว, คุณภาพสินทรัพย์เสื่อมค่าลงเรื่อยๆ, และต้นทุนของสินเชื่อก็เพิ่มขึ้นในเมื่ออัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบงก์และสถาบันการเงินที่ทำกำไรได้ก้อนโต้จากกิจกรรมซื้อขายหลักทรัพย์ คงจะเจ็บปวดมากกว่าเพื่อน ดังที่ ปีเตอร์ เท็บบัตต์ ผู้อำนวยการอาวุโสแห่งบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ฟิตช์ เรตติ้งส์ ให้ความเห็นว่า "ใครก็ตามที่กำลังเติบโตขยายตัวอย่างรวดเร็วก่อนหน้าเศรษฐกิจทรุด น่าจะเป็นพวกที่ต้องเจ็บตัวมากที่สุด"
กระนั้นก็ตาม มองโดยภาพรวมแล้ว พวกแบงก์ในเอเชียสามารถหลบหลีกความเสียหายอย่างมโหฬารที่พวกธนาคารและสถาบันการเงินในโลกตะวันตกจำนวนมากกำลังประสบอยู่ สืบเนื่องจากแบงก์เหล่านี้ไม่ได้พัวพันเกี่ยวข้องอะไรมากนัก กับการปล่อยกู้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ หรือไปถือตราสารหนี้ที่ผูกพันกับสินเชื่อเหล่านี้
แต่ใช่ว่าแบงก์ในเอเชียจะไม่ได้รับผลกระทบกระเทือนอะไร ตรงกันข้าม ความเสี่ยงสำคัญที่สุดของเอเชียก็คือภาวะเศรษฐกิจที่กำลังมืดมัวลงเรื่อยๆ เมื่อต้นเดือนนี้เอง เมอร์ริลลินช์ได้ลดตัวเลขคาดหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น สำหรับปีนี้มาอยู่ที่ 7.7% จากที่เคยให้ไว้ ณ 8% ส่วนสำหรับปีหน้าก็ลดมาเหลือ 7.3% จาก 7.8% โดยเหตุผลสำคัญก็คือยอดการส่งออกของเอเชียกำลังชะลอตัว