นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในการเดินทางไปลงนามสัญญากู้เงินกับธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ เจบิก ในโครงการรถไฟฟ้า ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม ที่ประเทศญี่ปุ่น จะมีโอกาสได้พบกับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งจะนำแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นในช่วง 6 เดือน ไปชี้แจงให้บรรดานักธุรกิจญี่ปุ่นรับทราบด้วย รวมถึงชี้แจงแนวทางการตั้งรับของไทยเพื่อรองรับปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐที่กำลังชะลอตัว
นายแพทย์สุรพงษ์ ยืนยันว่า เศรษฐกิจไทยขณะนี้ยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะที่มีเงินเฟ้อสูง เพราะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้นอย่างเดียว ไม่ได้เกิดปัญหาเงินเฟ้อสูงแล้วคนไทยไม่มีเงินซื้อของแต่อย่างใด ในทางกลับกันคนไทยยังมีเงิน แต่ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอยมากกว่า อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด เพื่อหามาตรการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทย โดยเน้นให้เศรษฐกิจในประเทศเติบโตอย่างรวดเร็วและมั่นคง เพื่อรองรับการชะลอตัวของการส่งออก ซึ่งแนวทางที่ต้องเร่งดำเนินการมี 3 แนวทางคือ การผลักดันการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากที่จะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันที่ 25 มีนาคมนี้ ทั้งโครงการเอสเอ็มแอล ที่จะอัดฉีดเงินจำนวน 18,687 ล้านบาท เข้าสู่หมู่บ้านและชุมชนทั้ง 78,358 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงการอัดฉีดเงินอีกจำนวน 1,600 ล้านบาท ให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่เกิดขึ้นใหม่ การพักชำระหนี้ให้เกษตรกรที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่คาดว่าต้องใช้เงินงบประมาณ 1,000 ล้านบาท เข้ามาชดเชยอัตราดอกเบี้ยให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
นอกจากนี้ ยังเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ร้อยละ 94 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายปี 2551 โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่ยังเบิกจ่ายล่าช้ามาก ซึ่งในสัปดาห์นี้ได้เชิญส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมามอบนโยบายพร้อมออกมาตรการเร่งรัดที่ชัดเจนต่อไป ที่สำคัญจะเร่งรัดโครงการเมกะโปรเจกต์อื่นที่สามารถลงทุนได้เร็ว เช่น โครงการด้านการศึกษา สาธารณสุข ให้เกิดขึ้นภายในกลางปีนี้ แทนที่จะรอโครงการรถไฟฟ้าที่ยังต้องใช้เวลา ซึ่งรัฐบาลจะเร่งสร้างความมั่นใจให้กับเอกชนเพื่อขยายการลงทุน รวมถึงการทำกิจกรรมการค้าขายและการท่องเที่ยว ให้มากขึ้นตามไปด้วย
นายแพทย์สุรพงษ์ ยืนยันว่า เศรษฐกิจไทยขณะนี้ยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะที่มีเงินเฟ้อสูง เพราะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้นอย่างเดียว ไม่ได้เกิดปัญหาเงินเฟ้อสูงแล้วคนไทยไม่มีเงินซื้อของแต่อย่างใด ในทางกลับกันคนไทยยังมีเงิน แต่ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอยมากกว่า อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด เพื่อหามาตรการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทย โดยเน้นให้เศรษฐกิจในประเทศเติบโตอย่างรวดเร็วและมั่นคง เพื่อรองรับการชะลอตัวของการส่งออก ซึ่งแนวทางที่ต้องเร่งดำเนินการมี 3 แนวทางคือ การผลักดันการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากที่จะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันที่ 25 มีนาคมนี้ ทั้งโครงการเอสเอ็มแอล ที่จะอัดฉีดเงินจำนวน 18,687 ล้านบาท เข้าสู่หมู่บ้านและชุมชนทั้ง 78,358 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงการอัดฉีดเงินอีกจำนวน 1,600 ล้านบาท ให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่เกิดขึ้นใหม่ การพักชำระหนี้ให้เกษตรกรที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่คาดว่าต้องใช้เงินงบประมาณ 1,000 ล้านบาท เข้ามาชดเชยอัตราดอกเบี้ยให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
นอกจากนี้ ยังเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ร้อยละ 94 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายปี 2551 โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่ยังเบิกจ่ายล่าช้ามาก ซึ่งในสัปดาห์นี้ได้เชิญส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมามอบนโยบายพร้อมออกมาตรการเร่งรัดที่ชัดเจนต่อไป ที่สำคัญจะเร่งรัดโครงการเมกะโปรเจกต์อื่นที่สามารถลงทุนได้เร็ว เช่น โครงการด้านการศึกษา สาธารณสุข ให้เกิดขึ้นภายในกลางปีนี้ แทนที่จะรอโครงการรถไฟฟ้าที่ยังต้องใช้เวลา ซึ่งรัฐบาลจะเร่งสร้างความมั่นใจให้กับเอกชนเพื่อขยายการลงทุน รวมถึงการทำกิจกรรมการค้าขายและการท่องเที่ยว ให้มากขึ้นตามไปด้วย