หมอเลี้ยบหวั่นมาตรการคุมราคาสินค้าของพาณิชย์หากนานเกินไปจะทำให้ผู้ประกอบการไม่ผลิตเพิ่ม-นักลงทุนไม่เชื่อมั่น ลั่นเดินหน้าเข็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเฟส 3 เข้าที่ ครม.อังคารหน้า ใช้ออมสิน-ธ.ก.ส.เป็นกำลังหลักหว่านรากหญ้าผ่านกองทุนหมู่บ้านและโครงการ SML หลังจากนั้นอัดงบ 1 พันล้าน ฝึกอบรมพัฒนาทักษะด้านวิชาชีพ
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง มาร่วมกล่าว กล่าวถึงการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่กระทรวงพาณิชย์โดยนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาว่า ในระยะสั้นไม่เกิน 6 เดือน จะไม่มีปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมมากนัก แต่หากเกิน 6 เดือนจะมีผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจในระยาว เนื่องจากการคุมราคาจะทำให้ภาคเอกชนไม่ลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติม และจะสร้างผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งหากจะให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งผู้ประกอบการและประชาชนจะต้องพิจารณาในด้านต้นทุนของผู้ประกอบการด้วย ขณะเดียวกันก็ต้องเพิ่มรายได้ประชาชนขึ้นมาให้สมดุล
ดังนั้นมาตรการการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะผลักดันออกมาใช้โดยเร็วเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันรายได้ของประชาชนไม่มีการปรับเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดแต่รายจ่ายกลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจะต้องหามาตรการเพิ่มรายได้ทั้งมนุษย์เงินเดือนที่ต้องหาอาชีพเสริมให้และหาวิธีเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนระดับรากหญ้ามากขึ้น
“การประหยัดก็เป็นเรื่องที่จำเป็นหากเห็นว่าเรื่องไหนเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยก็ควรที่จะประหยัดในส่วนนั้น แต่ในเรื่องของค่าครองชีพการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันที่ถือว่ามีความจำเป็นรัฐบาลก็ควรจะหามาตรการมาช่วยเหลือประชาชนในเรื่องนี้ให้มากที่สุด” นพ.สุรพงษ์กล่าว
***โชว์มาตรการกระตุ้นรากหญ้า
“มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุดที่ 3 จะใช้งบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาทอัดฉีดเข้าไปในโครงการเอสเอ็มแอลและ มีเงินจากการพักชำระหนี้เกษตรกรอีก 1 พันล้านบาท ซึ่งคาดว่าประชาชนในระดับรากหญ้าได้รับเม็ดเงินจำนวนนี้ในช่วงปลายเดือนเมษายน –มิถุนายน ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวจะเข้าไปหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจประมาณ 2-3 รอบ ก็สามารถขัดเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศให้ฟื้นตัวได้ใน 6 เดือนข้างหน้า” นพ.สุรพงษ์กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "นโยบายของรัฐต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของชาติ" จัดโดยสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย สมาคมการขายตรงไทย สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทยและสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย ภายใต้งานสัมมนา "ชวดนี้...ไม่มีชวด" ที่ รร.เซ็นทารา เซ็นทรัลเวิลด์ วานนี้
นพ.สุรพงษ์เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันอังคารที่ 25 มีนาคม นี้กระทรวงการคลังจะนำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 3 เข้าเสนอต่อที่ประชุม ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ของมาตรการดังกล่าวจะเน้นการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในระดับฐานรากที่ประสบปัญหารายได้คงที่ในขณะที่รายจ่ายปรับเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากอัตราค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน
ซึ่งมาตรการที่จะเสนอให้ ครม.ได้แก่ โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (เอสเอ็มแอล) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ.) โดยในเบื้องต้นจะนำเงินที่มีการค้างจ่ายจากโครงการอยู่ดีมีสุขของรัฐบาลชุมก่อนที่มีวงเงินเหลืออยู่ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการพักหนี้เกษตรกรโดยมีวงเงินเบื้องต้น 1 พันกว่าล้านบาทโดยจะทำการพักหนี้ให้กับเกษตรกรที่มีแผนฟื้นฟูส่วนเกษตรกรที่มีประวัติการชำระหนี้ดีก็จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยให้ด้วย และโครงการธนาคารประชาชนของธนาคารออมสิน ที่จะอัดสินเชื่อให้กับผุ้ต้องการมีรายได้เสริมในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ
***ออมสิน-ธ.ก.ส.ปล่อยกู้ SML-กทบ.
รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลังกล่าวว่า สำหรับการปล่อยกู้เพื่อเสริมศักยภาพให้กับกองทุนหมู่บ้านและเอสเอ็มแอลที่มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งและมีการบริหารจัดการที่ดีนั้น กระทรวงการคลังได้สั่งการให้ผู้บริหารธนาคารออมสินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และกทบ. ให้ไปตัดสินเองว่าจะปล่อยกู้เพิ่มเติมให้กับกองทุนใดบ้างที่ธนาคารคาดว่ามีศักยภาพในการชำระหนี้คืน เนื่องจากที่ผ่านมาธนาคารจะเป็นผู้ที่ทราบดีว่าโครงการใดมีศักยภาพในการดำเนินการ
“เบื้องต้นแนวทางนี้จะให้ธนาคารออมสินและธ.ก.ส.จัดวงเงินกู้เพิ่มเติมให้กับกองทุนหมู่บ้านที่มีศักยภาพ ซึ่งในช่วงแรกคาดว่าจะมีหมู่บ้านที่สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ประมาณ 100 กองทุนโดยโครงการนี้จะไม่เน้นการใส่งบประมาณของรัฐบาลลงไป จะปล่อยให้สถาบันการเงินของรัฐเป็นกลไกลสำคัญในการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบแทนซึ่งอาจมีการคิดดอกเบี้ยในอัตราพิเศษตามที่ตกลงกัน” รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลังกล่าว
***เฟส 4 อัด 1 พันล้านเน้นอบรมทักษะ
สำหรับมาตรการกระตุ้มเศรษฐกิจในชุดที่ 4 นั้น นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า จะเป็นโครงการกลับสู่ห้องเรียน โดยกระทรวงการคลังได้หารือเบื้องต้นกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และภาคเอกชนอื่นๆ ที่มีศักยภาพในการฝึกอบรมพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนทั่วไปที่สนใจพัฒนาความรู้ของตนเองนำไปใช้ประกอบอาชีพต่อไปในราคาประหยัด
ทั้งนี้ รัฐบาลได้ตั้งวงเงินสำหรับสนับสนุนโครงการนี้ไว้ประมาณ 1 พันล้านบาท โดยการดำเนินงานจะจัดให้มีการเปิดโครงการฝึกอบรมทักษะทางด้านวิชาชีพด้านต่างๆ อาทิ ธุรกิจอาหาร บริการ และสุขภาพ เป็นต้น โดยจะร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งรัฐบาลจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการบางส่วน ที่เหลือผู้เข้าร่วมโครงการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองและเมื่อสิ้นสุดโครงการแล้วรัฐบาลจะหาแหล่งเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำจากสถาบันการเงินของรัฐเพื่อนำไปประกอบอาชีพให้อีกทางหนึ่งด้วย.
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง มาร่วมกล่าว กล่าวถึงการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่กระทรวงพาณิชย์โดยนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาว่า ในระยะสั้นไม่เกิน 6 เดือน จะไม่มีปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมมากนัก แต่หากเกิน 6 เดือนจะมีผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจในระยาว เนื่องจากการคุมราคาจะทำให้ภาคเอกชนไม่ลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติม และจะสร้างผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งหากจะให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งผู้ประกอบการและประชาชนจะต้องพิจารณาในด้านต้นทุนของผู้ประกอบการด้วย ขณะเดียวกันก็ต้องเพิ่มรายได้ประชาชนขึ้นมาให้สมดุล
ดังนั้นมาตรการการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะผลักดันออกมาใช้โดยเร็วเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันรายได้ของประชาชนไม่มีการปรับเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดแต่รายจ่ายกลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจะต้องหามาตรการเพิ่มรายได้ทั้งมนุษย์เงินเดือนที่ต้องหาอาชีพเสริมให้และหาวิธีเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนระดับรากหญ้ามากขึ้น
“การประหยัดก็เป็นเรื่องที่จำเป็นหากเห็นว่าเรื่องไหนเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยก็ควรที่จะประหยัดในส่วนนั้น แต่ในเรื่องของค่าครองชีพการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันที่ถือว่ามีความจำเป็นรัฐบาลก็ควรจะหามาตรการมาช่วยเหลือประชาชนในเรื่องนี้ให้มากที่สุด” นพ.สุรพงษ์กล่าว
***โชว์มาตรการกระตุ้นรากหญ้า
“มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุดที่ 3 จะใช้งบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาทอัดฉีดเข้าไปในโครงการเอสเอ็มแอลและ มีเงินจากการพักชำระหนี้เกษตรกรอีก 1 พันล้านบาท ซึ่งคาดว่าประชาชนในระดับรากหญ้าได้รับเม็ดเงินจำนวนนี้ในช่วงปลายเดือนเมษายน –มิถุนายน ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวจะเข้าไปหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจประมาณ 2-3 รอบ ก็สามารถขัดเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศให้ฟื้นตัวได้ใน 6 เดือนข้างหน้า” นพ.สุรพงษ์กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "นโยบายของรัฐต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของชาติ" จัดโดยสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย สมาคมการขายตรงไทย สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทยและสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย ภายใต้งานสัมมนา "ชวดนี้...ไม่มีชวด" ที่ รร.เซ็นทารา เซ็นทรัลเวิลด์ วานนี้
นพ.สุรพงษ์เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันอังคารที่ 25 มีนาคม นี้กระทรวงการคลังจะนำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 3 เข้าเสนอต่อที่ประชุม ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ของมาตรการดังกล่าวจะเน้นการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในระดับฐานรากที่ประสบปัญหารายได้คงที่ในขณะที่รายจ่ายปรับเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากอัตราค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน
ซึ่งมาตรการที่จะเสนอให้ ครม.ได้แก่ โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (เอสเอ็มแอล) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ.) โดยในเบื้องต้นจะนำเงินที่มีการค้างจ่ายจากโครงการอยู่ดีมีสุขของรัฐบาลชุมก่อนที่มีวงเงินเหลืออยู่ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการพักหนี้เกษตรกรโดยมีวงเงินเบื้องต้น 1 พันกว่าล้านบาทโดยจะทำการพักหนี้ให้กับเกษตรกรที่มีแผนฟื้นฟูส่วนเกษตรกรที่มีประวัติการชำระหนี้ดีก็จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยให้ด้วย และโครงการธนาคารประชาชนของธนาคารออมสิน ที่จะอัดสินเชื่อให้กับผุ้ต้องการมีรายได้เสริมในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ
***ออมสิน-ธ.ก.ส.ปล่อยกู้ SML-กทบ.
รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลังกล่าวว่า สำหรับการปล่อยกู้เพื่อเสริมศักยภาพให้กับกองทุนหมู่บ้านและเอสเอ็มแอลที่มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งและมีการบริหารจัดการที่ดีนั้น กระทรวงการคลังได้สั่งการให้ผู้บริหารธนาคารออมสินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และกทบ. ให้ไปตัดสินเองว่าจะปล่อยกู้เพิ่มเติมให้กับกองทุนใดบ้างที่ธนาคารคาดว่ามีศักยภาพในการชำระหนี้คืน เนื่องจากที่ผ่านมาธนาคารจะเป็นผู้ที่ทราบดีว่าโครงการใดมีศักยภาพในการดำเนินการ
“เบื้องต้นแนวทางนี้จะให้ธนาคารออมสินและธ.ก.ส.จัดวงเงินกู้เพิ่มเติมให้กับกองทุนหมู่บ้านที่มีศักยภาพ ซึ่งในช่วงแรกคาดว่าจะมีหมู่บ้านที่สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ประมาณ 100 กองทุนโดยโครงการนี้จะไม่เน้นการใส่งบประมาณของรัฐบาลลงไป จะปล่อยให้สถาบันการเงินของรัฐเป็นกลไกลสำคัญในการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบแทนซึ่งอาจมีการคิดดอกเบี้ยในอัตราพิเศษตามที่ตกลงกัน” รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลังกล่าว
***เฟส 4 อัด 1 พันล้านเน้นอบรมทักษะ
สำหรับมาตรการกระตุ้มเศรษฐกิจในชุดที่ 4 นั้น นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า จะเป็นโครงการกลับสู่ห้องเรียน โดยกระทรวงการคลังได้หารือเบื้องต้นกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และภาคเอกชนอื่นๆ ที่มีศักยภาพในการฝึกอบรมพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนทั่วไปที่สนใจพัฒนาความรู้ของตนเองนำไปใช้ประกอบอาชีพต่อไปในราคาประหยัด
ทั้งนี้ รัฐบาลได้ตั้งวงเงินสำหรับสนับสนุนโครงการนี้ไว้ประมาณ 1 พันล้านบาท โดยการดำเนินงานจะจัดให้มีการเปิดโครงการฝึกอบรมทักษะทางด้านวิชาชีพด้านต่างๆ อาทิ ธุรกิจอาหาร บริการ และสุขภาพ เป็นต้น โดยจะร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งรัฐบาลจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการบางส่วน ที่เหลือผู้เข้าร่วมโครงการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองและเมื่อสิ้นสุดโครงการแล้วรัฐบาลจะหาแหล่งเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำจากสถาบันการเงินของรัฐเพื่อนำไปประกอบอาชีพให้อีกทางหนึ่งด้วย.