นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของภาครัฐโดยการผันงบประมาณ 15,000 ล้านบาทช่วยเหลือประชาชนระดับรากหญ้า โดยเชื่อว่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างดี เพราะมีการกระจายเม็ดเงินเข้าไปใน 70,000 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 200,000 บาท ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงาน เกิดรายได้ ส่วนมาตรการลดภาษีนั้นมองว่าเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางอ้อมมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามหากรวมทั้ง 2 มาตรการจะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบกว่า 50,000 ล้านบาท ซึ่งน่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในปี 2551 โตที่ร้อยละ 5.0 - 5.5 แต่ที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 6 นั้นต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในอนาคต ทั้งราคาน้ำมัน ปัญหาเศรษฐกิจซับไพร์มในสหรัฐฯ แต่อยากให้ภาครัฐมีมาตรการตัวอื่นมากระตุ้นเศรษฐกิจ โดยอัดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบให้ได้ 80,000 ล้านบาท เช่น พักหนี้เกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน SML รวมถึงการผลักดันโครงการเมกะโปรเจกต์
ทั้งนี้จากการสำรวจความเชื่อมั่นของคนในประเทศ และเศรษฐกิจของศูนย์พยากรเศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับต่ำหากภาครัฐมีนโยบายที่ชัดเจนจะสร้างความเชื่อมั่นได้มากขึ้น ส่วนเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในภาคใต้ล่าสุดวานนี้(15 มี.ค.) เป็นปัจจัยที่นักลงทุนไม่กล้าเข้ามาลงทุน แต่ปัจจัยดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะในพื้นที่ ซึ่งอาจจะทบต่อการท่องเที่ยว การลงทุน บ้าง แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจไทย ยังไม่เท่ากับสถานการณ์ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาทที่แข็งค่า ปัญหาเสถียรภาพทางการเงินในประเทศ
ทั้งนี้จากการสำรวจความเชื่อมั่นของคนในประเทศ และเศรษฐกิจของศูนย์พยากรเศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับต่ำหากภาครัฐมีนโยบายที่ชัดเจนจะสร้างความเชื่อมั่นได้มากขึ้น ส่วนเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในภาคใต้ล่าสุดวานนี้(15 มี.ค.) เป็นปัจจัยที่นักลงทุนไม่กล้าเข้ามาลงทุน แต่ปัจจัยดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะในพื้นที่ ซึ่งอาจจะทบต่อการท่องเที่ยว การลงทุน บ้าง แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจไทย ยังไม่เท่ากับสถานการณ์ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาทที่แข็งค่า ปัญหาเสถียรภาพทางการเงินในประเทศ