ลูกโลมาเกิดใหม่ในลุ่มน้ำโขงตรงส่วนที่ไหลผ่านประเทศกัมพูชา ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดความวิตกว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทนี้อาจสูญพันธุ์ได้ในอนาคต
ประธานคณะกรรมการอนุรักษ์โลมาลุ่มน้ำโขง เผยว่า จากการสำรวจเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 พบลูกโลมาเกิดใหม่เพียงแค่ 3 ตัว ในบริเวณดังกล่าว และมีอยู่ตัวหนึ่งในนี้ที่ตายลง จึงเหลือลูกโลมารอดชีวิตมาได้แค่ 2 ตัวเท่านั้น ถือว่าลดจำนวนลงอย่างมาก เพราะจากการสำรวจเมื่อปีก่อนหน้า ยังพบลูกโลมาเกิดใหม่ถึง 6 ตัว
นอกจากนี้ ลูกโลมาเกิดใหม่ที่พบบริเวณลุ่มน้ำโขงในประเทศกัมพูชา ยังมีน้ำหนักตัวน้อยลงอีกด้วย เหลือไม่ถึง 2 กิโลกรัม ทั้งที่ในช่วงทศวรรษหลังปี 1980 ลูกโลมาเกิดใหม่ในบริเวณดังกล่าวจะมีน้ำหนักตัวมากถึง 5 กิโลกรัม และเมื่อไปสำรวจโลมาฝูงหนึ่งในลุ่มน้ำโขงตอนบน ซึ่งเป็นโลมาโตเต็มวัย 10 ตัว พบว่าพวกมันยังไม่ได้ให้กำเนิดลูกโลมาเลยสักตัวในปีนี้ คาดว่าน่าจะเป็นเพราะอาหารการกินของพวกมันไม่สมบูรณ์เหมือนเมื่อก่อน รวมถึงอุณหภูมิในลุ่มน้ำโขงที่สูงขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อกระบวนการแพร่พันธุ์ของโลมาฝูงนี้
โลมาเป็นสัตว์ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก ถ้าอุณหภูมิของน้ำหรือคุณภาพของน้ำเปลี่ยนไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อการเพิ่มประชากรโลมาได้ ซึ่งเมื่อปี 2549 กัมพูชามีคำสั่งห้ามทอดแหหาปลาใน จ.กระแจะ และสตึง แตร็ง ทางตะวันออกของประเทศ จึงช่วยให้โลมาในลุ่มน้ำโขงตอนบนมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 90 ตัว เป็น 150 ตัว
ประธานคณะกรรมการอนุรักษ์โลมาลุ่มน้ำโขง เผยว่า จากการสำรวจเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 พบลูกโลมาเกิดใหม่เพียงแค่ 3 ตัว ในบริเวณดังกล่าว และมีอยู่ตัวหนึ่งในนี้ที่ตายลง จึงเหลือลูกโลมารอดชีวิตมาได้แค่ 2 ตัวเท่านั้น ถือว่าลดจำนวนลงอย่างมาก เพราะจากการสำรวจเมื่อปีก่อนหน้า ยังพบลูกโลมาเกิดใหม่ถึง 6 ตัว
นอกจากนี้ ลูกโลมาเกิดใหม่ที่พบบริเวณลุ่มน้ำโขงในประเทศกัมพูชา ยังมีน้ำหนักตัวน้อยลงอีกด้วย เหลือไม่ถึง 2 กิโลกรัม ทั้งที่ในช่วงทศวรรษหลังปี 1980 ลูกโลมาเกิดใหม่ในบริเวณดังกล่าวจะมีน้ำหนักตัวมากถึง 5 กิโลกรัม และเมื่อไปสำรวจโลมาฝูงหนึ่งในลุ่มน้ำโขงตอนบน ซึ่งเป็นโลมาโตเต็มวัย 10 ตัว พบว่าพวกมันยังไม่ได้ให้กำเนิดลูกโลมาเลยสักตัวในปีนี้ คาดว่าน่าจะเป็นเพราะอาหารการกินของพวกมันไม่สมบูรณ์เหมือนเมื่อก่อน รวมถึงอุณหภูมิในลุ่มน้ำโขงที่สูงขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อกระบวนการแพร่พันธุ์ของโลมาฝูงนี้
โลมาเป็นสัตว์ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก ถ้าอุณหภูมิของน้ำหรือคุณภาพของน้ำเปลี่ยนไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อการเพิ่มประชากรโลมาได้ ซึ่งเมื่อปี 2549 กัมพูชามีคำสั่งห้ามทอดแหหาปลาใน จ.กระแจะ และสตึง แตร็ง ทางตะวันออกของประเทศ จึงช่วยให้โลมาในลุ่มน้ำโขงตอนบนมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 90 ตัว เป็น 150 ตัว