Youtube :Travel MGR
เมื่อเอ่ยถึง “แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง” อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ที่มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ย้อนหลังไปหลายพันปี ซึ่งร่องรอยหลักฐานที่ค้นพบที่บ้านเชียง แสดงให้เห็นขั้นตอนสำคัญของวิวัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งแสดงหลักฐานของการทำเกษตรกรรม แหล่งผลิตและการใช้โลหะในภูมิภาค ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคกว่า 5,000 ปีที่แล้ว ซึ่งความสำคัญนี้เอง จึงทำให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อปี พ.ศ. 2535
นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เมื่อมาเที่ยวที่บ้านเชียง ก็มักที่จะไม่พลาดไปชม “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง” ที่จัดแสดงความเป็นมา และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพบ้านเชียงในยุคหลายพันปีก่อนมากขึ้น แล้วก็อาจจะกลับกันแต่เพียงเท่านี้
แต่อยากจะบอกว่าที่ชุมชนบ้านเชียง ยังมีสิ่งที่น่าสนใจภายในชุมชนบ้านเชียงให้ได้ไปสัมผัสกัน อย่างเช่นการนั่งรถราง ท่องเที่ยวสัมผัสวีถีความเป็นอยู่ของบ้านเชียง ตามรอยดินดำอารยธรรมบ้านเชียง โดยนักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวรูปแบบนี้ สามารถทำการติดต่อขอใช้บริการรถรางท่องเที่ยวกับเทศบาลตำบลบ้านเชียงได้ (ควรที่จะติดต่อก่อนล่วงหน้า) โดยมีค่าบำรุงและค่าเจ้าหน้าที่นำชมคันละ 1,000 บาท
สำหรับเส้นทางการท่องเที่ยวเริ่มจากการพาชมภายในอาคารจัดแสดง 9 ห้อง จากนั้นรถจะจอดรอที่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์บ้านเชียง แล้วจะพาไปตามเส้นทางท่องเที่ยว ไปยังหลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีใน แล้วไปที่บ้านไทยพวน หรือบ้านพวนรับเสด็จ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของบ้านเชียง จากนั้นจะออกจากแหล่งท่องเที่ยวยังไปยังฐานเรียนรู้ชุมชนต่างๆ
โดยรถรางพามุ่งหน้ามายังฐานเรียนรู้ชุมชนบ้านดงเย็น ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 เพื่อมาสัมผัสกับกลุ่มผ้าย้อมโคลนคราม ที่ชาวบ้านนำเอาดินดำที่มีอยู่ในหมู่บ้านมาผสมกับคราม แล้วย้อมกับผ้าฝ้าย ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมโคลนครามที่สวยงาม มีทั้งผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ เสื้อสวยๆ
แล้วก็มีกลุ่มฐานเรียนรู้กลุ่มจักสาน ก็ถือว่าเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านเชียง ที่นำเอาไม้ไผ่มาจักสานเป็นเครื่องใช้ต่างๆ และมีการต่อยอดผลิตภัณฑ์จากการสานกระติ๊บข้าวธรรมดา เป็นกล่องทิชชู่ ตะกร้า โถมไฟไม้ไผ่ กล่องอเนกประสงค์ รวมไปถึงกระเป๋าสุภาพบุรุษ กระเป๋าสุภาพสตรี
อีกทั้งยังมีกลุ่มแม่บ้านทำอาหารว่างเครื่องดื่มไทยพวนบ้านเชียงให้ได้ลิ้มลองกัน โดยมีน้ำข่าเขียวพร้อมดื่ม น้ำชาใบข่าที่ดื่มแล้วหอมสดชื่นใจรวมถึงมีขนมข้าวปาด เป็นอาหารหวานของชุมชนบ้านเชียงที่มีมาแต่โบราณ
เสร็จจากกลุ่มเรียนรู้ที่บ้านดงเย็น ก็ขึ้นรถรางไปชมอัตลักษณ์และภูมิปัญญาอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ คือ กลุ่มทอผ้าเทศบาลตำบลบ้านเชียง จ.อุดรธานี หรือที่ผู้คนรู้จักกันในชื่อ กลุ่มทอผ้าบ้านเชียง เริ่มต้นมาจากชาวบ้านที่ทอผ้า ย้อมคราม เพื่อสวมใส่กันเองภายในหมู่บ้าน ก่อนจะได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะเป็นเอกลักษณ์ของชาวบ้านเชียง จนได้กลายมาเป็นสินค้าโอท็อปของหมู่บ้าน และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบัน
กลุ่มทอผ้าบ้านเชียงมีประวัติตั้งแต่ปีพ.ศ.2514เริ่มต้นจากคุณแม่ล้วน สิทธิพรหม เริ่มทอผ้าด้วยกี่ธรรมดาแค่ 2-3 หลัง จากนั้นเรื่อยมาก็มีการต่อยอดนวัตกรรม วิวัฒนาการการทอผ้าจากกี่ธรรมดามาเป็นกี่กระตุก เพื่อให้การทอผ้ามีความรวดเร็ว แล้วก็เพียงพอต่อความต้องการของตลาดมากขึ้น แต่เมื่อแม่ล้วนเสียชีวิตลง การทอผ้าที่บ้านเชียงก็ซบเซาลงไป จากนั้นเมื่อปีพ.ศ.2547 ได้มีการฟื้นฟูกลุ่มอาชีพทอผ้าขึ้นมาใหม่ โดยมีการตั้งกลุ่มอาชีพ หลังชาวบ้านเก็บเกี่ยวผลผลิตทางกานเกษตรเสร็จ มีการฟื้นฟูการทอผ้าขึ้นมาใหม่จนมาถึงปัจจุบันนี้
ปัจจุบันกลุ่มทอผ้าเป็นกลุ่มทอผ้าย้อมคราม ที่ได้มาจากการปลูกครามธรรมชาติ ชาวบ้านปลูกต้นครามเอง ไม่มีการใช้สารเคมี โดยต้นครามที่นำมาย้อมจะใช้ต้นครามที่มีอายุ 4-5 เดือน ซึ่งถ้าอายุเยอะกว่านั้นจะใช้ระหว่างกลางลำต้นไปจนถึงยอด จนถึงกิ่งของครามจะตัดเอามาแล้วนำลงไปย้อมกับน้ำทั้งหมด โดยมีการสกัดความเป็นด่างจากเพกา เปลือกมังคุด ในการย้อมครามแค่แช่ครามย้อมครามจะใช้เวลาในการทำหลายวัน แล้วหลังจากที่แช่ครามแล้ว จะนำฝ้ายหรือผ้าย้อมครามที่ได้ทำเป็นชิ้นนำไปจุ่มกับน้ำคราม ในการย้อมครามถ้าอยากได้สีที่ไม่เข้มมาก ก็จะย้อมแล้วนำไปผึ่งแค่รอบเดียว แต่ถ้าอยากได้ความเข้มของครามมากขึ้น จะต้องเพิ่มระยะเวลาในการย้อมผึ่งแล้วก็ตากผึ่งย้อมผึ่งแล้วก็ตากแบบนั้นหลายรอบ ผ้าย้อมครามเมื่อทอแล้วมีหลากหลายลวดลายสวยงาม
จากนั้นนั่งรถรางไปยังอีกหนึ่งกลุ่มอาชีพที่สำคัญคือ กลุ่มปั้นหม้อเขียนสี มาที่นี่จะได้เห็นทุกขั้นตอนการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ตั้งแต่ดินที่ได้มาจากห้วยดินดำอารยะธรรมบ้านเชียง ซึ่งการที่จะได้เครื่องปั้นดินเผาแต่ละใบ จะต้องมีความละเอียดอ่อนสูงมาก มีการเตรียมดิน ร่อนดิน เพื่อที่จะได้เอาเศษดินเศษทรายออกให้ได้ดินมี่มีลักษณะนุ่มเรียบลื่น จากนั้นก็จะนำดินไปผึ่งแดดอีกครั้ง แล้วก็จะนำไปนวดดินเสร็จแล้วก็ขึ้นรูปได้ แต่ถ้าเป็นเครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ ก็ยังมีการใช้มือ ใช้หินช่วยตบข้างๆ และตบแต่งลวดลายภาชนะเครื่องปั้นดินเผา และถ้าเป็นขนาดเล็กๆ ก็มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย มีเครื่องมาช่วยในการปั้นขึ้นรูป ลวดลายในการเขียนสีมีมากมายกว่า 200 ลาย เริ่มแรกก็มีลายก้นหอย หรือลายก้านขดก้างปลา เป็นลายแรกๆ จากนั้นก็มีวิวัฒนาการ มีการต่อยอดลวดลายต่างๆ ซึ่งก็มีลวดลายตามจินตนาการ หรือลวดลายอิสระที่ไม่เหมือนใครก็ถือเป็นอีกหนึ่งลวดลาย และการเผาปัจจุบันจะใช้เครื่องเผาแบบภูมิปัญญา คือการสร้างจากดินเป็นเตาเผาขึ้นมา โดยใช้อุณหภูมิแล้วแต่การเผาของแต่ละลักษณะ ของแต่ละขนาดเครื่องปั้นดินเผา และปัจจุบันนี้มีการต่อยอดผลิตภัณฑ์เป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ต่างหู
มาที่กลุ่มปั้นหม้อเขียนสี นอกจากจะได้เห็นถึงขั้นตอนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาแล้ว นักท่องเที่ยวยังสามารถลงมือทำเครื่องปั้นดินเผาได้ด้วยตัวเอง หรือสามารถเขียนสีลวดลายต่างๆ ลงบนผลิตภัณฑ์ที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือจะเดินเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่เป็นเอกลักษณ์อันสวยงามของบ้านเชียงติดไม้ติดมือกลับบ้านไป
แล้วถ้าใครอยากมาเที่ยวชุมชนบ้านเชียงแบบเจาะลึก อยากสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านแบบใกล้ชิด ที่นี่ก็มีโฮมสเตย์ให้บริการอยู่ประมาณ 10-20 หลัง สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกสบาย มากินมานอน ร่วมทำกิจกรรมกับชาวบ้านได้อย่างเพลินเพลิดใจ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจ การนั่งรถรางท่องเที่ยวชุมชนบ้านเชียง ตามรอยอารยธรรมบ้านเชียง ควรทำการจองล่วงหน้าสามารถติดต่อได้ที่คุณสุภา บัวฮมบุรา โทร. 08-6232-9794
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR
เมื่อเอ่ยถึง “แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง” อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ที่มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ย้อนหลังไปหลายพันปี ซึ่งร่องรอยหลักฐานที่ค้นพบที่บ้านเชียง แสดงให้เห็นขั้นตอนสำคัญของวิวัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งแสดงหลักฐานของการทำเกษตรกรรม แหล่งผลิตและการใช้โลหะในภูมิภาค ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคกว่า 5,000 ปีที่แล้ว ซึ่งความสำคัญนี้เอง จึงทำให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อปี พ.ศ. 2535
นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เมื่อมาเที่ยวที่บ้านเชียง ก็มักที่จะไม่พลาดไปชม “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง” ที่จัดแสดงความเป็นมา และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพบ้านเชียงในยุคหลายพันปีก่อนมากขึ้น แล้วก็อาจจะกลับกันแต่เพียงเท่านี้
แต่อยากจะบอกว่าที่ชุมชนบ้านเชียง ยังมีสิ่งที่น่าสนใจภายในชุมชนบ้านเชียงให้ได้ไปสัมผัสกัน อย่างเช่นการนั่งรถราง ท่องเที่ยวสัมผัสวีถีความเป็นอยู่ของบ้านเชียง ตามรอยดินดำอารยธรรมบ้านเชียง โดยนักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวรูปแบบนี้ สามารถทำการติดต่อขอใช้บริการรถรางท่องเที่ยวกับเทศบาลตำบลบ้านเชียงได้ (ควรที่จะติดต่อก่อนล่วงหน้า) โดยมีค่าบำรุงและค่าเจ้าหน้าที่นำชมคันละ 1,000 บาท
สำหรับเส้นทางการท่องเที่ยวเริ่มจากการพาชมภายในอาคารจัดแสดง 9 ห้อง จากนั้นรถจะจอดรอที่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์บ้านเชียง แล้วจะพาไปตามเส้นทางท่องเที่ยว ไปยังหลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีใน แล้วไปที่บ้านไทยพวน หรือบ้านพวนรับเสด็จ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของบ้านเชียง จากนั้นจะออกจากแหล่งท่องเที่ยวยังไปยังฐานเรียนรู้ชุมชนต่างๆ
โดยรถรางพามุ่งหน้ามายังฐานเรียนรู้ชุมชนบ้านดงเย็น ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 เพื่อมาสัมผัสกับกลุ่มผ้าย้อมโคลนคราม ที่ชาวบ้านนำเอาดินดำที่มีอยู่ในหมู่บ้านมาผสมกับคราม แล้วย้อมกับผ้าฝ้าย ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมโคลนครามที่สวยงาม มีทั้งผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ เสื้อสวยๆ
แล้วก็มีกลุ่มฐานเรียนรู้กลุ่มจักสาน ก็ถือว่าเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านเชียง ที่นำเอาไม้ไผ่มาจักสานเป็นเครื่องใช้ต่างๆ และมีการต่อยอดผลิตภัณฑ์จากการสานกระติ๊บข้าวธรรมดา เป็นกล่องทิชชู่ ตะกร้า โถมไฟไม้ไผ่ กล่องอเนกประสงค์ รวมไปถึงกระเป๋าสุภาพบุรุษ กระเป๋าสุภาพสตรี
อีกทั้งยังมีกลุ่มแม่บ้านทำอาหารว่างเครื่องดื่มไทยพวนบ้านเชียงให้ได้ลิ้มลองกัน โดยมีน้ำข่าเขียวพร้อมดื่ม น้ำชาใบข่าที่ดื่มแล้วหอมสดชื่นใจรวมถึงมีขนมข้าวปาด เป็นอาหารหวานของชุมชนบ้านเชียงที่มีมาแต่โบราณ
เสร็จจากกลุ่มเรียนรู้ที่บ้านดงเย็น ก็ขึ้นรถรางไปชมอัตลักษณ์และภูมิปัญญาอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ คือ กลุ่มทอผ้าเทศบาลตำบลบ้านเชียง จ.อุดรธานี หรือที่ผู้คนรู้จักกันในชื่อ กลุ่มทอผ้าบ้านเชียง เริ่มต้นมาจากชาวบ้านที่ทอผ้า ย้อมคราม เพื่อสวมใส่กันเองภายในหมู่บ้าน ก่อนจะได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะเป็นเอกลักษณ์ของชาวบ้านเชียง จนได้กลายมาเป็นสินค้าโอท็อปของหมู่บ้าน และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบัน
กลุ่มทอผ้าบ้านเชียงมีประวัติตั้งแต่ปีพ.ศ.2514เริ่มต้นจากคุณแม่ล้วน สิทธิพรหม เริ่มทอผ้าด้วยกี่ธรรมดาแค่ 2-3 หลัง จากนั้นเรื่อยมาก็มีการต่อยอดนวัตกรรม วิวัฒนาการการทอผ้าจากกี่ธรรมดามาเป็นกี่กระตุก เพื่อให้การทอผ้ามีความรวดเร็ว แล้วก็เพียงพอต่อความต้องการของตลาดมากขึ้น แต่เมื่อแม่ล้วนเสียชีวิตลง การทอผ้าที่บ้านเชียงก็ซบเซาลงไป จากนั้นเมื่อปีพ.ศ.2547 ได้มีการฟื้นฟูกลุ่มอาชีพทอผ้าขึ้นมาใหม่ โดยมีการตั้งกลุ่มอาชีพ หลังชาวบ้านเก็บเกี่ยวผลผลิตทางกานเกษตรเสร็จ มีการฟื้นฟูการทอผ้าขึ้นมาใหม่จนมาถึงปัจจุบันนี้
ปัจจุบันกลุ่มทอผ้าเป็นกลุ่มทอผ้าย้อมคราม ที่ได้มาจากการปลูกครามธรรมชาติ ชาวบ้านปลูกต้นครามเอง ไม่มีการใช้สารเคมี โดยต้นครามที่นำมาย้อมจะใช้ต้นครามที่มีอายุ 4-5 เดือน ซึ่งถ้าอายุเยอะกว่านั้นจะใช้ระหว่างกลางลำต้นไปจนถึงยอด จนถึงกิ่งของครามจะตัดเอามาแล้วนำลงไปย้อมกับน้ำทั้งหมด โดยมีการสกัดความเป็นด่างจากเพกา เปลือกมังคุด ในการย้อมครามแค่แช่ครามย้อมครามจะใช้เวลาในการทำหลายวัน แล้วหลังจากที่แช่ครามแล้ว จะนำฝ้ายหรือผ้าย้อมครามที่ได้ทำเป็นชิ้นนำไปจุ่มกับน้ำคราม ในการย้อมครามถ้าอยากได้สีที่ไม่เข้มมาก ก็จะย้อมแล้วนำไปผึ่งแค่รอบเดียว แต่ถ้าอยากได้ความเข้มของครามมากขึ้น จะต้องเพิ่มระยะเวลาในการย้อมผึ่งแล้วก็ตากผึ่งย้อมผึ่งแล้วก็ตากแบบนั้นหลายรอบ ผ้าย้อมครามเมื่อทอแล้วมีหลากหลายลวดลายสวยงาม
จากนั้นนั่งรถรางไปยังอีกหนึ่งกลุ่มอาชีพที่สำคัญคือ กลุ่มปั้นหม้อเขียนสี มาที่นี่จะได้เห็นทุกขั้นตอนการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ตั้งแต่ดินที่ได้มาจากห้วยดินดำอารยะธรรมบ้านเชียง ซึ่งการที่จะได้เครื่องปั้นดินเผาแต่ละใบ จะต้องมีความละเอียดอ่อนสูงมาก มีการเตรียมดิน ร่อนดิน เพื่อที่จะได้เอาเศษดินเศษทรายออกให้ได้ดินมี่มีลักษณะนุ่มเรียบลื่น จากนั้นก็จะนำดินไปผึ่งแดดอีกครั้ง แล้วก็จะนำไปนวดดินเสร็จแล้วก็ขึ้นรูปได้ แต่ถ้าเป็นเครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ ก็ยังมีการใช้มือ ใช้หินช่วยตบข้างๆ และตบแต่งลวดลายภาชนะเครื่องปั้นดินเผา และถ้าเป็นขนาดเล็กๆ ก็มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย มีเครื่องมาช่วยในการปั้นขึ้นรูป ลวดลายในการเขียนสีมีมากมายกว่า 200 ลาย เริ่มแรกก็มีลายก้นหอย หรือลายก้านขดก้างปลา เป็นลายแรกๆ จากนั้นก็มีวิวัฒนาการ มีการต่อยอดลวดลายต่างๆ ซึ่งก็มีลวดลายตามจินตนาการ หรือลวดลายอิสระที่ไม่เหมือนใครก็ถือเป็นอีกหนึ่งลวดลาย และการเผาปัจจุบันจะใช้เครื่องเผาแบบภูมิปัญญา คือการสร้างจากดินเป็นเตาเผาขึ้นมา โดยใช้อุณหภูมิแล้วแต่การเผาของแต่ละลักษณะ ของแต่ละขนาดเครื่องปั้นดินเผา และปัจจุบันนี้มีการต่อยอดผลิตภัณฑ์เป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ต่างหู
มาที่กลุ่มปั้นหม้อเขียนสี นอกจากจะได้เห็นถึงขั้นตอนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาแล้ว นักท่องเที่ยวยังสามารถลงมือทำเครื่องปั้นดินเผาได้ด้วยตัวเอง หรือสามารถเขียนสีลวดลายต่างๆ ลงบนผลิตภัณฑ์ที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือจะเดินเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่เป็นเอกลักษณ์อันสวยงามของบ้านเชียงติดไม้ติดมือกลับบ้านไป
แล้วถ้าใครอยากมาเที่ยวชุมชนบ้านเชียงแบบเจาะลึก อยากสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านแบบใกล้ชิด ที่นี่ก็มีโฮมสเตย์ให้บริการอยู่ประมาณ 10-20 หลัง สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกสบาย มากินมานอน ร่วมทำกิจกรรมกับชาวบ้านได้อย่างเพลินเพลิดใจ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจ การนั่งรถรางท่องเที่ยวชุมชนบ้านเชียง ตามรอยอารยธรรมบ้านเชียง ควรทำการจองล่วงหน้าสามารถติดต่อได้ที่คุณสุภา บัวฮมบุรา โทร. 08-6232-9794
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR