โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
“หลายประเพณี ที่สร้างตน ต้นลำธาร หวานผลไม้ ใต้เหมืองทอง”
คำขวัญ“อำเภอสุคิริน” อำเภอหนึ่งในจังหวัด“นราธิวาส” ที่มีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านคือมาเลเซีย
ตัวผมเองมีโอกาสไปเยือน อ.สุริคินครั้งแรกเมื่อช่วงกลางปีที่แล้ว ได้สัมผัสถึงสภาพพื้นที่อันสวยงาม น้ำมิตรจิตใจอันน่ารักของผู้คน มนต์เสน่ห์ของสิ่งน่าสนใจและเอกลักษณ์ท้องถิ่น ทำให้ติดใจ และตั้งใจว่าถ้ามีโอกาสจะกลับไปเยือนสุคิรินอีก เพราะในครั้งไปเยือนปีที่แล้วยังมีสิ่งคาใจกับประเพณีบุญบั้งไฟใน ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน ที่เราพลาดไป
ดังนั้นในปีนี้เมื่อรู้กำหนดการจัดงานบุญบั้งไฟใน อ.สุคิริน ผมกับเพื่อนๆจึงไม่ขอพลาดด้วยประการทั้งปวง เพราะนี่ถือเป็น“งานประเพณีบุญบั้งไฟหนึ่งเดียวในภาคใต้” ที่มีที่มาที่ไปและมีความน่าสนใจไม่น้อยเลย
บุญบั้งไฟ”หนึ่งเดียวในปักษ์ใต้
หลายคนทราบกันดีว่าบุญบั้งไฟเป็นงานประเพณีเอกลักษณ์ของชาวอีสานที่สืบทอดกันมาช้านาน จัดขึ้นเพื่อบูชาพญาแถน เทพเจ้าแห่งฝน ขอให้พญาแถนบันดาลให้ฝนตกลงมาเพื่อที่จะได้ทำนาปลูกข้าว ชาวอีสานจึงจัดงานบุญบั้งไฟขึ้นในช่วงเดือน 6 ก่อนเข้าฤดูฝน
แต่ทำไมงานบุญบั้งไฟจากอีสานถึงไปเกิดเป็นงานประเพณีอันโดดเด่นที่ อ.สุคิริน ที่มีการจัดสืบทอดกันมายาวนานปีนี้เป็นครั้ง 33 แล้ว
เรื่องนี้มาจากเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2518 ที่ ตำบลภูเขาทอง อ.สุคิริน ได้มีราษฎรชาวอีสานย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำกินอยู่ในเขตนิคมสร้างตนเอง ในโครงการพระราชดำริของในหลวง
“ชาวอีสานที่เข้ามาอยู่ใน ต.ภูเขาทอง ส่วนใหญ่ มาจากอีสานใต้ โคราช(นครราชสีมา) บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ วันนี้มี 3 พันกว่าคน ประมาณ 80% ของประชากรในพื้นที่”
พันธ์ ตั้งอยู่ กำนันบ้านภูเขาทอง เล่าให้ผมฟังท่ามกลางบรรยากาศของขบวนแห่งานบุญบั้งไฟ ต.ภูเขาทอง อันคึกคัก ซึ่งปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 12-14 มิ.ย.ที่ผ่านมา
“คนอีสานที่มาอยู่ที่นี่ก็นำประเพณีของตัวเองติดตัวมา โดยเฉพาะกับงานแห่บุญบั้งไฟ ขอให้ฝนตกตามฤดูกาล แล้วก็จัดเป็นประเพณีต่อเนื่องเรื่อยมา” กำนันพันธ์เล่าเพิ่มเติม
สำหรับประเพณีบุญบั้งไฟใน ต.ภูเขาทอง นั้นมีความโดดเด่นในฐานะงานบุญบั้งไฟหนึ่งเดียวในภาคใต้ แรกเริ่มเดิมทีจัดขึ้นในช่วงปี 2522 ที่บ้านไอบาโจ หลังจากนั้นแต่ละหมู่บ้านก็เวียนกันจัดเรื่อยมา ปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 33 โดยมีบ้านโดนสมบูรณ์เป็นเจ้าภาพ(ปัจจุบันผลัดกันเวียนกันเป็นเจ้าภาพหมู่บ้านละ 3 ปี) รวมถึงยังมีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) มาร่วมโปรโมทส่งเสริมประชาสัมพันธ์
งานบุญบั้งไฟ ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน แม้จะไม่ได้จัดใหญ่อลังการอย่างงานบุญบั้งไฟหลายๆแห่งในภาคอีสาน แต่ก็เป็นงานประเพณีที่สนุก คึกคัก ดูแล้วยังคงเสน่ห์ของความเป็นประเพณีดั้งเดิมเอาไว้มากกว่างานบุญบั้งไฟใหญ่ๆในหลายพื้นที่ที่ตอนหลังงานผิดเพี้ยนกลายเป็นเรื่องของการแข่งขัน การพนันขันต่อไป
งานบุญบั้งไฟ ต.ภูเขาทอง ปีนี้มีทั้งหมด 8 หมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านต่างก็มีรถบั้งไฟเอ้ อันสวยงามส่งเข้าประกวด พร้อมการแสดงรำฟ้อน ที่สาวงามคนถือป้าย และนางรำหลายๆคนก็มีหน้าตาสะสวยแบบคนอีสาน แต่อีกหลายๆคนก็สะสวยคมขำในแบบสาวใต้
ขณะที่ถือเป็นความพิเศษก็คือภาพความร่วมมือร่วมใจ กลมเกลียวปรองดองกัน ทั้งระหว่างคนในพื้นที่ คนอีสาน-คนใต้, ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม, ชาวบ้าน-เจ้าหน้าที่ทหารที่เข้าไปช่วยดูแลความสงบเรียบร้อย ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐคนหนึ่งบอกกับผมว่า ที่ อ.สุคิริน นี่ชาวบ้านอยู่กันอย่างกลมเกลียว สงบปลอดภัย และความที่เป็นเมืองปิดทำให้ทุกคนช่วยเป็นหูเป็นตา ใครแปลกหน้ามาแบบผิดกลิ่น มีพิรุธ ส่อแววมิจฉาชีพก็จะส่งข่าวบอกต่อๆกันให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาช่วยดูแล
แต่กระนั้นทั้งชาวบ้าน เจ้าหน้าที่รัฐ เขาก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีนักท่องเที่ยวคนต่างถิ่นมาเยือน ผมเจอชาวบ้านหลายคนบอกดีใจมากที่ผมกับเพื่อนและคณะนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นๆมาเที่ยวชมงานบุญบั้งไฟในวันเปิดงาน ซึ่งในวันนี้นอกจากชาวบ้านในพื้นที่ แล้วก็ยังมีนักท่องเที่ยวจากพื้นที่ใกล้เคียง นักท่องเที่ยวต่างถิ่นจากจังหวัดอื่น รวมไปถึงนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียจำนวนหนึ่งมาร่วมเที่ยวชมงานบุญบั้งไฟหนึ่งเดียวในภาคใต้ที่เป็นการร่วมสืบสานงานประเพณีพื้นบ้านอีสาน ผ่านการจัดงานอย่างสนุกคึกคัก และเปี่ยมไปด้วยบรรยากาศแห่งความปรองดองสามัคคี นอกจากนี้ก็ยังมีลูกหลานที่จากบ้านไปทำมาหากินต่างถิ่น ต่างก็เดินทางกลับ
ป่าบาลา-ฮาลา
ความที่อำเภอสุคิรินเป็นดินแดนแห่งขุนเขา ป่าไม้ อากาศดีมีธรรมชาติสวยงาม ทำให้นี่นี่ได้รับการขนานนามจากใครหลายๆคนว่าเป็น “สวิตเซอร์แลนด์แดนใต้” โดย อ.สุคิริน มีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นผืนป่าดงดิบสำคัญของประเทศไทยนั่นก็คือ“ผืนป่าฮาลา-บาลา”(เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา) ซึ่งเป็นแหล่งนกเงือกสำคัญของเมืองไทย พบนกเงือกที่นี่ถึง 10 ชนิด จากจำนวน 13 ชนิดที่สำรวจพบในเมืองไทย
ฮาลา-บาลา เป็นป่าดงดิบ 2 ผืน ที่ไม่ต่อเนื่องกันแต่มีชื่อเรียกคู่กัน ประกอบด้วย“ป่าฮาลา” ที่ครอบคลุมพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา และ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส กับ“ป่าบาลา” ที่ครอบคลุมพื้นที่ อ.แว้ง และ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส โดยชาวบ้านจะเรียกป่าในฝั่งนราธิวาสว่าป่า“บาลา-ฮาลา” และในฝั่งยะลาว่าป่า“ฮาลา-บาลา”
ป่าบาลา-ฮาลา มีพื้นที่บางส่วนเปิดให้ประชาชนเข้าไปเที่ยวชมศึกษาธรรมชาติ มีการตัดถนนสายความมั่นคง(ทางหลวงหมายเลข 4026) ไปตามเทือกเขาสันกาลาคีรี จากบ้านบูเก๊ะตา อ.แว้ง ผ่านป่าบาลา เชื่อมระหว่างอำเภอ สู่บ้านภูเขาทอง อ.สุคิริน ซึ่งผมมีโอกาสได้นั่งหลังกระบะรถเจ้าหน้าที่ป่าไม้ชมวิวทิวทัศน์ในยามเช้าตรู่ ต้องขอบอกว่าเป็นป่าที่สมบูรณ์มาก อุดมไปด้วยต้นไม้ใหญ่อันร่มรื่นเขียวครึ้ม แถมยังมีพันธุ์ไม้หายากอย่างเฟินมหาสดำขึ้นอยู่ 2 ข้างทางเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ก็ยังมีไม้หายากอย่างต้นยวม ไม้ยืนต้นวงศ์ถั่วเปลือกขาวนวลสวยเด่น ต้นกะพงยักษ์หรือต้นสมพงขนาดใหญ่ 28 คนโอบ รวมไปถึงเห็นชะนีห้อยโหนส่งเสียงทักทายระหว่างทาง มีนกให้ชมกันไปเป็นระยะๆ โดยเฉพาะกับ“นกเงือก”ที่โฉบบินไป-มา สร้างความน่าตื่นตาตื่นใจในยามที่พบเจอเป็นยิ่งนัก
ในเส้นทางสายนี้ไม่ไกลจากต้นกะพงยักษ์เท่าใดนัก ยังมีอีกหนึ่งความน่าทึ่งจากสภาพภูมิประเทศของพื้นที่นั่นก็คือ “เนินพิศวง”(บ้านภูเขาทอง ต.ภูเขาทอง) กับสถานที่ที่มีลักษณะพิเศษมีความยาวประมาณ 30 เมตร ดูเผินๆเหมือนเป็นเนินที่มีความลาดเอียงตามปกติ แต่เนินนี้มีความพิศวงน่าทึ่งตรงที่ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ วัตถุ สิ่งของที่ไปตั้งวางที่เนินแห่งนี้ จะดูเหมือนมันกำลังไหลขึ้น(ทั้งๆที่ในความเป็นจริงวัตถุต้องไหลงลงจากที่สูงลงที่ต่ำ)
ไม่ว่าจะเป็นการทดลองวางลูกบอลไว้ ลูกบอลก็จะไหลจากที่ต่ำจะกลิ้งไหลไปยังที่สูง หรือแม้กระทั่งการทดลองให้รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ ดับเครื่องและไม่ได้เข้าเบรก(โดยมีคนบังคับทิศทาง)นำไปจอดที่เนินพิศวงก็จะได้ผลเช่นเดียวกัน คือ รถจะค่อยๆเลื่อนไหลจากที่เนินที่ตำกว่าไปสู่เนินที่สูงกว่า ซึ่งนี่เป็นปรากฏการณ์ภาพหลอกตาของธรรมชาติ เพราะเมื่อเปลี่ยนมุมมองไปมองอีกฝั่งหนึ่งของเนินพิศวงก็จะเห็นเป็นเนินไหลลาดลงตามปกติ
สุคิริน ดินแดน “พรรณไม้งามเขียวชอุ่ม”
จากป่าบาลา-ฮาลา ผมเดินทางข้ามอำเภอจาก อ.แว้ง สู่. อ.สุคิริน เพื่อไปสัมผัสกับมนต์เสน่ห์ของอำเภอแห่งนี้ โดยคำว่า“สุคิริน” มีความหมายว่า “พรรณไม้งามเขียวชอุ่ม” เป็นชื่อตำหนักที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีหรือ“สมเด็จย่า”ของปวงชนชาวไทย พระราชทานเมื่อคราวเสด็จมาประทับแรม เมื่อปี พ.ศ. 2510 ซึ่งพระองค์ท่านได้พระราชทานนามตามสภาพพื้นที่ที่เต็มไปด้วยขุนเขา ป่าไม้ และพันธุ์ไม้นานาชนิดที่ขึ้นอยู่อย่างงดงาม
สำหรับพระตำหนักสุคิริน(พระตำหนักสมเด็จย่า) วันนี้ทางอำเภอสุคิรินได้ทำการพัฒนาให้เป็นอีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวน่าสนใจ ด้านหน้ามี“พระบรมรูปสมเด็จย่า” ให้สักการะ ท่ามกลางวิวทิวทัศน์อันสวยงาม พร้อมด้วยต้นไม้ชวนทึ่งคือ “ย่านดาโอ๊ะ” หรือ “ใบไม้สีทอง” ที่ยามมันเปลี่ยนใบจากสีเขียวเป็นเหลืองทองจะดูสวยงามมากทีเดียว
ใน อ.สุคิริน ยังมีสิ่งยึดเหนี่ยวใจสำคัญ 3 แห่ง คือ “วัดโต๊ะโมะ” (บ้านโต๊ะโมะ ต.ภูเขาทอง) วัดหลวงที่ในหลวงและพระราชินี โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาและศูนย์รวมจิตใจของชาวตำบลภูเขาทอง, “ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ” ที่อยู่บริเวณเชิงเขาโต๊ะโมะ(บ้านโต๊ะโมะ ต.ภูเขาทอง) ซึ่งเดิมประดิษฐานเจ้าแม่โต๊ะโมะที่มีคนเคารพนับถือกันมาก ก่อนที่จะถูกอัญเชิญไหว้ยังศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะที่ อ.สุไหงโกโลก แต่ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะจำลองและเทพเจ้าอื่นๆให้สักการะบูชากัน
ส่วนอีกหนึ่งที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจแห่งใหม่ เพราะเพิ่งสร้างได้ไม่นานก็คือ “เจดีย์ภูเขาทอง” แห่งวัดภูเขาทอง ที่องค์เจดีย์มีสีทองอร่าม เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกที่ได้รับประทานเนื่องมาจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เพื่อให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวและพึ่งทางจิตใจของชาวชุมชน
สุคิริน ถิ่นทองคำ
ใน อ.สุคิริน โดยเฉพาะที่ บ้านภูเขาทอง ยังมีความอะเมซิ่งจากสภาพพื้นที่ที่เป็นแหล่งแร่ทองคำสำคัญ ในอดีตที่นี่เคยมีเหมืองทองคำที่ชาวฝรั่งเศสเคยมารับสัมปทานขุดหาทอง มาวันนี้แม้จะเลิกสัมปทานไปแต่ความอุดมสมบูรณ์ของแร่ทองคำยังคงอยู่ ซึ่งนี่ได้กลายเป็นอีกหนึ่งวิถีของชาวสุคิริน
การร่อนทองก็จะเหมือนกับที่อื่นๆ ด้วยการนำอุปกรณ์ร่อนทองที่ชาวบ้านที่นี่เขาเรียกว่า “ชะเลียง” เป็นอุปกรณ์ร่อนทองรูปร่างคล้ายกระทะทำจากไม้หลุมพอ แล้วลงไปหาตำแหน่งน้ำไหลที่น่าจะมีแร่ทองคำลงไปร่อนแร่ ร่อนไปเป็นรอบๆไม่นานก็ได้ทองคำขึ้นมาให้รวบรวมนำไปขายได้แล้ว
พี่ที่ชำนาญการร่อนแร่หาทองคำคนหนึ่งให้คำแนะนำผมว่า เราต้องรู้จุด รู้ตำแหน่งน้ำไหล แล้วก็วิธีการในการแยกทองออกจากเศษดินทราย ซึ่งถ้าทำเป็นโอกาสได้ทองที่นี่มีถึง 80-90 % เลยทีเดียว
สำหรับทองคำที่นี่เป็นทองคำบริสุทธิ์ เป็นหนึ่งในวิถีของชาวสุคิรินที่ทำเป็นอาชีพเสริม โดยเมื่อเสร็จจากอาชีพหลักก็จะลงไปร่อนแร่หาทองคำกันในลำคลอง(นิยมทำกันในช่วงเย็น เพราะไม่ร้อนมาก) สนนราคาขายกันกรัมละพันกว่าบาท บางคนหาขายทองได้หลักร้อย หลักหลายร้อยต่อวัน บางคนโชคดีก็ขายได้วันละเป็นพัน นับเป็นรายได้เสริมที่รายได้ดีทีเดียว
ผมเคยไปดูชาวบ้านเขาร่อนแร่หาทองคำที่สุคิรินกัน ไม่น่าเชื่อว่าแค่ลงไปประมาณ 10 นาทีก็ได้ทองคำขึ้นมาพอขายได้หลายร้อยบาทแล้ว งานนี้เห็นแล้วอยากเปลี่ยนอาชีพไปร่อนแร่หาทองคำเสียจริง แต่นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายหรอกเพราะเราทำไม่เป็น ร่อนไปก็ได้แต่เศษดินเศษทราย งานนี้จึงเป็นได้แค่เพียงคนยืนดู
แต่ถ้าหากใครอยากจะลองร่อนทองลุ้นโชคก็สามารถทำกันได้ เพราะทางอำเภอเขามีโครงการเปิดให้นักท่องเที่ยวทำกิจกรรมร่อนทองลุ้นโชคกันด้วย
สำหรับอำเภอสุคิรินแล้ว สิ่งต่างๆเหล่านี้ที่ผมเขียนบอกเล่ามา มันคือเหรียญอีกด้านหนึ่งของนราธิวาส เป็นแง่งามที่หลายคนไม่รู้ ซึ่งช่วยเปลี่ยนทัศนะคติมุมมองของคนภายนอกส่วนหนึ่งที่ยังมองนราธิวาสในแง่ลบที่ยังติดอยู่กับภาพความรุนแรงน่ากลัวได้ไม่น้อยเลย
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
“หลายประเพณี ที่สร้างตน ต้นลำธาร หวานผลไม้ ใต้เหมืองทอง”
คำขวัญ“อำเภอสุคิริน” อำเภอหนึ่งในจังหวัด“นราธิวาส” ที่มีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านคือมาเลเซีย
ตัวผมเองมีโอกาสไปเยือน อ.สุริคินครั้งแรกเมื่อช่วงกลางปีที่แล้ว ได้สัมผัสถึงสภาพพื้นที่อันสวยงาม น้ำมิตรจิตใจอันน่ารักของผู้คน มนต์เสน่ห์ของสิ่งน่าสนใจและเอกลักษณ์ท้องถิ่น ทำให้ติดใจ และตั้งใจว่าถ้ามีโอกาสจะกลับไปเยือนสุคิรินอีก เพราะในครั้งไปเยือนปีที่แล้วยังมีสิ่งคาใจกับประเพณีบุญบั้งไฟใน ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน ที่เราพลาดไป
ดังนั้นในปีนี้เมื่อรู้กำหนดการจัดงานบุญบั้งไฟใน อ.สุคิริน ผมกับเพื่อนๆจึงไม่ขอพลาดด้วยประการทั้งปวง เพราะนี่ถือเป็น“งานประเพณีบุญบั้งไฟหนึ่งเดียวในภาคใต้” ที่มีที่มาที่ไปและมีความน่าสนใจไม่น้อยเลย
บุญบั้งไฟ”หนึ่งเดียวในปักษ์ใต้
หลายคนทราบกันดีว่าบุญบั้งไฟเป็นงานประเพณีเอกลักษณ์ของชาวอีสานที่สืบทอดกันมาช้านาน จัดขึ้นเพื่อบูชาพญาแถน เทพเจ้าแห่งฝน ขอให้พญาแถนบันดาลให้ฝนตกลงมาเพื่อที่จะได้ทำนาปลูกข้าว ชาวอีสานจึงจัดงานบุญบั้งไฟขึ้นในช่วงเดือน 6 ก่อนเข้าฤดูฝน
แต่ทำไมงานบุญบั้งไฟจากอีสานถึงไปเกิดเป็นงานประเพณีอันโดดเด่นที่ อ.สุคิริน ที่มีการจัดสืบทอดกันมายาวนานปีนี้เป็นครั้ง 33 แล้ว
เรื่องนี้มาจากเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2518 ที่ ตำบลภูเขาทอง อ.สุคิริน ได้มีราษฎรชาวอีสานย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำกินอยู่ในเขตนิคมสร้างตนเอง ในโครงการพระราชดำริของในหลวง
“ชาวอีสานที่เข้ามาอยู่ใน ต.ภูเขาทอง ส่วนใหญ่ มาจากอีสานใต้ โคราช(นครราชสีมา) บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ วันนี้มี 3 พันกว่าคน ประมาณ 80% ของประชากรในพื้นที่”
พันธ์ ตั้งอยู่ กำนันบ้านภูเขาทอง เล่าให้ผมฟังท่ามกลางบรรยากาศของขบวนแห่งานบุญบั้งไฟ ต.ภูเขาทอง อันคึกคัก ซึ่งปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 12-14 มิ.ย.ที่ผ่านมา
“คนอีสานที่มาอยู่ที่นี่ก็นำประเพณีของตัวเองติดตัวมา โดยเฉพาะกับงานแห่บุญบั้งไฟ ขอให้ฝนตกตามฤดูกาล แล้วก็จัดเป็นประเพณีต่อเนื่องเรื่อยมา” กำนันพันธ์เล่าเพิ่มเติม
สำหรับประเพณีบุญบั้งไฟใน ต.ภูเขาทอง นั้นมีความโดดเด่นในฐานะงานบุญบั้งไฟหนึ่งเดียวในภาคใต้ แรกเริ่มเดิมทีจัดขึ้นในช่วงปี 2522 ที่บ้านไอบาโจ หลังจากนั้นแต่ละหมู่บ้านก็เวียนกันจัดเรื่อยมา ปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 33 โดยมีบ้านโดนสมบูรณ์เป็นเจ้าภาพ(ปัจจุบันผลัดกันเวียนกันเป็นเจ้าภาพหมู่บ้านละ 3 ปี) รวมถึงยังมีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) มาร่วมโปรโมทส่งเสริมประชาสัมพันธ์
งานบุญบั้งไฟ ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน แม้จะไม่ได้จัดใหญ่อลังการอย่างงานบุญบั้งไฟหลายๆแห่งในภาคอีสาน แต่ก็เป็นงานประเพณีที่สนุก คึกคัก ดูแล้วยังคงเสน่ห์ของความเป็นประเพณีดั้งเดิมเอาไว้มากกว่างานบุญบั้งไฟใหญ่ๆในหลายพื้นที่ที่ตอนหลังงานผิดเพี้ยนกลายเป็นเรื่องของการแข่งขัน การพนันขันต่อไป
งานบุญบั้งไฟ ต.ภูเขาทอง ปีนี้มีทั้งหมด 8 หมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านต่างก็มีรถบั้งไฟเอ้ อันสวยงามส่งเข้าประกวด พร้อมการแสดงรำฟ้อน ที่สาวงามคนถือป้าย และนางรำหลายๆคนก็มีหน้าตาสะสวยแบบคนอีสาน แต่อีกหลายๆคนก็สะสวยคมขำในแบบสาวใต้
ขณะที่ถือเป็นความพิเศษก็คือภาพความร่วมมือร่วมใจ กลมเกลียวปรองดองกัน ทั้งระหว่างคนในพื้นที่ คนอีสาน-คนใต้, ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม, ชาวบ้าน-เจ้าหน้าที่ทหารที่เข้าไปช่วยดูแลความสงบเรียบร้อย ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐคนหนึ่งบอกกับผมว่า ที่ อ.สุคิริน นี่ชาวบ้านอยู่กันอย่างกลมเกลียว สงบปลอดภัย และความที่เป็นเมืองปิดทำให้ทุกคนช่วยเป็นหูเป็นตา ใครแปลกหน้ามาแบบผิดกลิ่น มีพิรุธ ส่อแววมิจฉาชีพก็จะส่งข่าวบอกต่อๆกันให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาช่วยดูแล
แต่กระนั้นทั้งชาวบ้าน เจ้าหน้าที่รัฐ เขาก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีนักท่องเที่ยวคนต่างถิ่นมาเยือน ผมเจอชาวบ้านหลายคนบอกดีใจมากที่ผมกับเพื่อนและคณะนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นๆมาเที่ยวชมงานบุญบั้งไฟในวันเปิดงาน ซึ่งในวันนี้นอกจากชาวบ้านในพื้นที่ แล้วก็ยังมีนักท่องเที่ยวจากพื้นที่ใกล้เคียง นักท่องเที่ยวต่างถิ่นจากจังหวัดอื่น รวมไปถึงนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียจำนวนหนึ่งมาร่วมเที่ยวชมงานบุญบั้งไฟหนึ่งเดียวในภาคใต้ที่เป็นการร่วมสืบสานงานประเพณีพื้นบ้านอีสาน ผ่านการจัดงานอย่างสนุกคึกคัก และเปี่ยมไปด้วยบรรยากาศแห่งความปรองดองสามัคคี นอกจากนี้ก็ยังมีลูกหลานที่จากบ้านไปทำมาหากินต่างถิ่น ต่างก็เดินทางกลับ
ป่าบาลา-ฮาลา
ความที่อำเภอสุคิรินเป็นดินแดนแห่งขุนเขา ป่าไม้ อากาศดีมีธรรมชาติสวยงาม ทำให้นี่นี่ได้รับการขนานนามจากใครหลายๆคนว่าเป็น “สวิตเซอร์แลนด์แดนใต้” โดย อ.สุคิริน มีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นผืนป่าดงดิบสำคัญของประเทศไทยนั่นก็คือ“ผืนป่าฮาลา-บาลา”(เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา) ซึ่งเป็นแหล่งนกเงือกสำคัญของเมืองไทย พบนกเงือกที่นี่ถึง 10 ชนิด จากจำนวน 13 ชนิดที่สำรวจพบในเมืองไทย
ฮาลา-บาลา เป็นป่าดงดิบ 2 ผืน ที่ไม่ต่อเนื่องกันแต่มีชื่อเรียกคู่กัน ประกอบด้วย“ป่าฮาลา” ที่ครอบคลุมพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา และ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส กับ“ป่าบาลา” ที่ครอบคลุมพื้นที่ อ.แว้ง และ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส โดยชาวบ้านจะเรียกป่าในฝั่งนราธิวาสว่าป่า“บาลา-ฮาลา” และในฝั่งยะลาว่าป่า“ฮาลา-บาลา”
ป่าบาลา-ฮาลา มีพื้นที่บางส่วนเปิดให้ประชาชนเข้าไปเที่ยวชมศึกษาธรรมชาติ มีการตัดถนนสายความมั่นคง(ทางหลวงหมายเลข 4026) ไปตามเทือกเขาสันกาลาคีรี จากบ้านบูเก๊ะตา อ.แว้ง ผ่านป่าบาลา เชื่อมระหว่างอำเภอ สู่บ้านภูเขาทอง อ.สุคิริน ซึ่งผมมีโอกาสได้นั่งหลังกระบะรถเจ้าหน้าที่ป่าไม้ชมวิวทิวทัศน์ในยามเช้าตรู่ ต้องขอบอกว่าเป็นป่าที่สมบูรณ์มาก อุดมไปด้วยต้นไม้ใหญ่อันร่มรื่นเขียวครึ้ม แถมยังมีพันธุ์ไม้หายากอย่างเฟินมหาสดำขึ้นอยู่ 2 ข้างทางเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ก็ยังมีไม้หายากอย่างต้นยวม ไม้ยืนต้นวงศ์ถั่วเปลือกขาวนวลสวยเด่น ต้นกะพงยักษ์หรือต้นสมพงขนาดใหญ่ 28 คนโอบ รวมไปถึงเห็นชะนีห้อยโหนส่งเสียงทักทายระหว่างทาง มีนกให้ชมกันไปเป็นระยะๆ โดยเฉพาะกับ“นกเงือก”ที่โฉบบินไป-มา สร้างความน่าตื่นตาตื่นใจในยามที่พบเจอเป็นยิ่งนัก
ในเส้นทางสายนี้ไม่ไกลจากต้นกะพงยักษ์เท่าใดนัก ยังมีอีกหนึ่งความน่าทึ่งจากสภาพภูมิประเทศของพื้นที่นั่นก็คือ “เนินพิศวง”(บ้านภูเขาทอง ต.ภูเขาทอง) กับสถานที่ที่มีลักษณะพิเศษมีความยาวประมาณ 30 เมตร ดูเผินๆเหมือนเป็นเนินที่มีความลาดเอียงตามปกติ แต่เนินนี้มีความพิศวงน่าทึ่งตรงที่ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ วัตถุ สิ่งของที่ไปตั้งวางที่เนินแห่งนี้ จะดูเหมือนมันกำลังไหลขึ้น(ทั้งๆที่ในความเป็นจริงวัตถุต้องไหลงลงจากที่สูงลงที่ต่ำ)
ไม่ว่าจะเป็นการทดลองวางลูกบอลไว้ ลูกบอลก็จะไหลจากที่ต่ำจะกลิ้งไหลไปยังที่สูง หรือแม้กระทั่งการทดลองให้รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ ดับเครื่องและไม่ได้เข้าเบรก(โดยมีคนบังคับทิศทาง)นำไปจอดที่เนินพิศวงก็จะได้ผลเช่นเดียวกัน คือ รถจะค่อยๆเลื่อนไหลจากที่เนินที่ตำกว่าไปสู่เนินที่สูงกว่า ซึ่งนี่เป็นปรากฏการณ์ภาพหลอกตาของธรรมชาติ เพราะเมื่อเปลี่ยนมุมมองไปมองอีกฝั่งหนึ่งของเนินพิศวงก็จะเห็นเป็นเนินไหลลาดลงตามปกติ
สุคิริน ดินแดน “พรรณไม้งามเขียวชอุ่ม”
จากป่าบาลา-ฮาลา ผมเดินทางข้ามอำเภอจาก อ.แว้ง สู่. อ.สุคิริน เพื่อไปสัมผัสกับมนต์เสน่ห์ของอำเภอแห่งนี้ โดยคำว่า“สุคิริน” มีความหมายว่า “พรรณไม้งามเขียวชอุ่ม” เป็นชื่อตำหนักที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีหรือ“สมเด็จย่า”ของปวงชนชาวไทย พระราชทานเมื่อคราวเสด็จมาประทับแรม เมื่อปี พ.ศ. 2510 ซึ่งพระองค์ท่านได้พระราชทานนามตามสภาพพื้นที่ที่เต็มไปด้วยขุนเขา ป่าไม้ และพันธุ์ไม้นานาชนิดที่ขึ้นอยู่อย่างงดงาม
สำหรับพระตำหนักสุคิริน(พระตำหนักสมเด็จย่า) วันนี้ทางอำเภอสุคิรินได้ทำการพัฒนาให้เป็นอีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวน่าสนใจ ด้านหน้ามี“พระบรมรูปสมเด็จย่า” ให้สักการะ ท่ามกลางวิวทิวทัศน์อันสวยงาม พร้อมด้วยต้นไม้ชวนทึ่งคือ “ย่านดาโอ๊ะ” หรือ “ใบไม้สีทอง” ที่ยามมันเปลี่ยนใบจากสีเขียวเป็นเหลืองทองจะดูสวยงามมากทีเดียว
ใน อ.สุคิริน ยังมีสิ่งยึดเหนี่ยวใจสำคัญ 3 แห่ง คือ “วัดโต๊ะโมะ” (บ้านโต๊ะโมะ ต.ภูเขาทอง) วัดหลวงที่ในหลวงและพระราชินี โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาและศูนย์รวมจิตใจของชาวตำบลภูเขาทอง, “ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ” ที่อยู่บริเวณเชิงเขาโต๊ะโมะ(บ้านโต๊ะโมะ ต.ภูเขาทอง) ซึ่งเดิมประดิษฐานเจ้าแม่โต๊ะโมะที่มีคนเคารพนับถือกันมาก ก่อนที่จะถูกอัญเชิญไหว้ยังศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะที่ อ.สุไหงโกโลก แต่ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะจำลองและเทพเจ้าอื่นๆให้สักการะบูชากัน
ส่วนอีกหนึ่งที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจแห่งใหม่ เพราะเพิ่งสร้างได้ไม่นานก็คือ “เจดีย์ภูเขาทอง” แห่งวัดภูเขาทอง ที่องค์เจดีย์มีสีทองอร่าม เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกที่ได้รับประทานเนื่องมาจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เพื่อให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวและพึ่งทางจิตใจของชาวชุมชน
สุคิริน ถิ่นทองคำ
ใน อ.สุคิริน โดยเฉพาะที่ บ้านภูเขาทอง ยังมีความอะเมซิ่งจากสภาพพื้นที่ที่เป็นแหล่งแร่ทองคำสำคัญ ในอดีตที่นี่เคยมีเหมืองทองคำที่ชาวฝรั่งเศสเคยมารับสัมปทานขุดหาทอง มาวันนี้แม้จะเลิกสัมปทานไปแต่ความอุดมสมบูรณ์ของแร่ทองคำยังคงอยู่ ซึ่งนี่ได้กลายเป็นอีกหนึ่งวิถีของชาวสุคิริน
การร่อนทองก็จะเหมือนกับที่อื่นๆ ด้วยการนำอุปกรณ์ร่อนทองที่ชาวบ้านที่นี่เขาเรียกว่า “ชะเลียง” เป็นอุปกรณ์ร่อนทองรูปร่างคล้ายกระทะทำจากไม้หลุมพอ แล้วลงไปหาตำแหน่งน้ำไหลที่น่าจะมีแร่ทองคำลงไปร่อนแร่ ร่อนไปเป็นรอบๆไม่นานก็ได้ทองคำขึ้นมาให้รวบรวมนำไปขายได้แล้ว
พี่ที่ชำนาญการร่อนแร่หาทองคำคนหนึ่งให้คำแนะนำผมว่า เราต้องรู้จุด รู้ตำแหน่งน้ำไหล แล้วก็วิธีการในการแยกทองออกจากเศษดินทราย ซึ่งถ้าทำเป็นโอกาสได้ทองที่นี่มีถึง 80-90 % เลยทีเดียว
สำหรับทองคำที่นี่เป็นทองคำบริสุทธิ์ เป็นหนึ่งในวิถีของชาวสุคิรินที่ทำเป็นอาชีพเสริม โดยเมื่อเสร็จจากอาชีพหลักก็จะลงไปร่อนแร่หาทองคำกันในลำคลอง(นิยมทำกันในช่วงเย็น เพราะไม่ร้อนมาก) สนนราคาขายกันกรัมละพันกว่าบาท บางคนหาขายทองได้หลักร้อย หลักหลายร้อยต่อวัน บางคนโชคดีก็ขายได้วันละเป็นพัน นับเป็นรายได้เสริมที่รายได้ดีทีเดียว
ผมเคยไปดูชาวบ้านเขาร่อนแร่หาทองคำที่สุคิรินกัน ไม่น่าเชื่อว่าแค่ลงไปประมาณ 10 นาทีก็ได้ทองคำขึ้นมาพอขายได้หลายร้อยบาทแล้ว งานนี้เห็นแล้วอยากเปลี่ยนอาชีพไปร่อนแร่หาทองคำเสียจริง แต่นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายหรอกเพราะเราทำไม่เป็น ร่อนไปก็ได้แต่เศษดินเศษทราย งานนี้จึงเป็นได้แค่เพียงคนยืนดู
แต่ถ้าหากใครอยากจะลองร่อนทองลุ้นโชคก็สามารถทำกันได้ เพราะทางอำเภอเขามีโครงการเปิดให้นักท่องเที่ยวทำกิจกรรมร่อนทองลุ้นโชคกันด้วย
สำหรับอำเภอสุคิรินแล้ว สิ่งต่างๆเหล่านี้ที่ผมเขียนบอกเล่ามา มันคือเหรียญอีกด้านหนึ่งของนราธิวาส เป็นแง่งามที่หลายคนไม่รู้ ซึ่งช่วยเปลี่ยนทัศนะคติมุมมองของคนภายนอกส่วนหนึ่งที่ยังมองนราธิวาสในแง่ลบที่ยังติดอยู่กับภาพความรุนแรงน่ากลัวได้ไม่น้อยเลย
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com