โดย : The Minnie
แม้จะคุ้นชื่อ “ปีนัง” จากหนังละครยุคปริศนามานาน แต่ฉันก็ยังไม่มีโอกาสได้เยือนเกาะอันเลื่องชื่อแห่งนี้ จนกระทั่งต้องไปเป็นสักขีพยายานงานแต่งของเพื่อนที่ อ.สะเดา หมู่เราจึงมีไอเดียไถลไปเที่ยวต่างประเทศแบบใกล้ๆ กันเสียหน่อย
จากสะเดาเข้าออกปีนังไม่ยาก มีรถตู้ไปกลับหาดใหญ่-ปีนังให้บริการทุกวัน (แถมวันละหลายเที่ยว) หรือจะเป็นรถไฟก็มีตรงจากหัวลำโพง ผ่านภาคใต้สุดทางที่สถานีเมืองบัตเตอร์เวิร์ธ ประเทศมาเลเซีย จากนั้นก็ข้ามเรือที่ท่าชื่อเดียวกัน เข้าสู่เกาะปีนังได้อย่างสบายเช่นกัน
การเดินทางของพวกฉันครั้งนี้ เป็นแบบผสมผสาน ตามตารางเวลาที่เร่งเร้าให้เป็นเช่นนั้น โดยการบินไปลงที่ปีนัง แล้วนั่งรถย้อนกลับเข้าประเทศเพื่อร่วมพิธีสำคัญของเพื่อน พวกเราเลือกสายการบินราคาถูกจากกรุงเทพฯ เพราะใช้เวลาเดินทางแค่ 90 นาทีถึงปีนัง จึงไม่จำเป็นต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายระหว่างทาง
ไฟล์ทเช้าตรู่ คือ มติเอกฉันท์ของลูกทัวร์ เรามีเวลาที่ปีนังเพียงแค่ 2 วันกว่าๆ จึงทำให้การไปถึงแต่เช้า (ที่สุด) เป็นสิ่งที่ปรารถนายิ่งนัก
แต่แล้วสิ่งที่เขาร่ำลือก็มาถึง ช่วงหนึ่งสัปดาห์ก่อนการเดินทางฉันได้รับแจ้งจากสายการบินว่า “ขอยกเลิกไฟล์ทเช้า ให้พวกเราไปเดินทางในไฟล์ทบ่ายแทน” ไถ่ถามไปก็ให้เหตุผลที่น่ารับฟังว่า “ต้องเติมน้ำมันและทำความสะอาดเครื่องบิน จึงเตรียมเครื่องไม่ทัน” ไม่เช่นนั้นท่านก็เลือกวันอื่นๆ แต่ในเส้นทางเดิม เพราะตั๋วนี้ไม่สามารถเปลี่ยนคนหรือเปลี่ยนเส้นทางได้
ยอมรับว่าเสียเส้นพอควร เพราะช่วงเวลายังไงก็ต้องเป็นไปตามนั้น แต่ไม่อยากให้เสียอารมณ์ในการท่องเที่ยว จึงบ่นไปพองาม และจำยอมเดินทางในช่วงบ่าย (แต่ก็จำไว้เพราะไม่มีของขวัญขอโทษใดๆ แนบกลับมาให้เลย)
นั่นจึงทำให้พวกเราได้เหยียบสนามบินแห่ง “ปูเลาปีนัง” ในช่วงเย็น และรีบโบกแท็กซี่ที่เป็นยี่ห้ออื่นใดไปไม่ได้นอกจาก “โปรตรอน” นำพาสู่ที่หมายปลายทาง ณ ใจกลาง “จอร์จทาวน์” เมืองหลวงของรัฐปีนัง
จากสนามบินสู่ที่พักประมาณ 10 กิโลฯ (เอง) แต่พวกเราดันไปโผล่ในช่วงเวลาเลิกงานของเย็นวันศุกร์ กว่าจะถึงที่พักก็ใช้เวลาเกือบชั่วโมง แต่ช่วงเวลาเกินปกติบนแท็กซี่ก็หาได้น่าเบื่อ เพราะเพลินกับการสำรวจบ้านเมือง ไล่รวมไปถึง “เจ้าโปรตรอน” ที่วิ่งขวักไขว่มากหน้าหลายตา ผลงานสร้างสรรค์ภายในประเทศนี้
ฉันเลือกที่พักเป็นบ้านเก่าบน “ถนนปีนัง” เพราะสืบสาวราวเรื่องก่อนร่อนอีเมลมาจองได้ความว่า คฤหาสน์ร่วมร้อยปีหลังนี้เป็นของ “กูเด็น บินกูแมะ” (Ku Din Ku Meh) หรือ พระยาภูมินารถภักดี อดีตเจ้าเมืองสตูล สมัยช่วงรัชกาลที่ 5-6 ซึ่งปัจจุบันเปิดให้เป็นที่พัก และมีเหลนของท่านเป็นผู้จัดการดูแล
มาปีนังทั้งที ก็ขอเลือกพักระดับคฤหาสน์ท่านเจ้าคุณคงจะดูขลังดีไม่น้อย ที่สำคัญบ้านท่านอยู่ในสมรภูมิอันดียิ่ง ทั้งการเดินชมอาคารและการตามชิมอาหาร ซึ่งเป็น 2 กิจกรรมหลักในการท่องปีนังครั้งนี้
พักที่บ้านโบราณแล้ว ก็ต้องประเดิมการท่องเที่ยวด้วย “เส้นทางสายมรดกโลก” (Heritage Walk) ให้สมกับที่มาเยือนเมืองที่ได้รับตำแหน่ง “มรดกโลก” หมาดๆ เมื่อปีกลาย
อาคารบ้านเรือนที่เป็นส่วนของมรดกโลก อยู่กระจัดกระจายในแถบชายฝั่งเมืองจอร์จทาวน์ แต่ส่วนใหญ่ตั้งกระจุกตัวอยู่บนนถนน 2 สายหลักคือ “เชิร์ช สตรีท” (Church Street) และ “ไลท์ สตรีท” (Light Street) ที่ทอดยาวเกือบขนานกัน และยังขนานกับแนวชายฝั่งทะเลอีกด้วย
“บลูเฮาส์” คือจุดแรกที่ฉันเรียบๆ เคียงๆ ดู เป็นบ้านจีนสีสันสวยงาม (นำด้วยสีน้ำเงินเหมือนชื่อในภาษาฝรั่ง) ปัจจุบันเปิดเป็นที่พัก แต่ราคาค่อนข้างสูง เพราะที่แห่งนี้มีรางวัลพิเศษจากยูเนสโกประดับไว้ตั้งแต่ปี 2000 ในฐานะที่อนุรักษ์อาคารอายุกว่าศตวรรษให้เป็นมรดกที่สวยงามดั่งของเดิม
แม้ไม่พักที่นี่ แต่ก็มีทัวร์ชมตัวบ้านได้ (ในราคาคนละ 12 ริงกิต) น่าเสียดายที่ฉันมาเย็นเกินกว่าจะมีโอกาสได้เห็นห้องหับต่างๆ ที่มีมากถึง 38 ห้อง พร้อมด้วยหน้าต่างอีก 220 บานในบ้านสีน้ำเงินหลังนี้
จากบลูเฮาส์ เราเดินชมเมืองไปเรื่อยๆ ตามเชิร์ชสตรีท ซึ่งเป็นที่ชุมนุมของอาคารสถานที่เก่าสมัยปลายศตวรรษที่ 19 ตั้งอยู่เรียงราย อาทิ “โบสถ์อัสสัมชัญ” ถัดมาเป็น “พิพิธภัณฑ์ปีนังและอาร์ตแกลลอรี” และเดินไปอีกไม่ไกลเป็น “โบสถ์เซ็นต์จอร์จ” นิกายแองกลิกันที่ชาวอังกฤษนับถือ ถือได้ว่าเป็นโบสถ์ประจำนิกายเก่าแก่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ สร้างขึ้นจากแรงงานของนักโทษ
บนถนนแห่งนี้เต็มไปด้วยสถานที่สำคัญทางศาสนา สมกับที่ตั้งชื่อว่า “เชิร์ช” สะท้อนวิถีของผู้คนในสมัยนั้นที่ผูกพันกับศาสนาอย่างชัดเจน
พระอาทิตย์คล้อยต่ำลงแล้ว พวกฉันลัดเลาะเข้าสู่ถนนไลท์ ที่ตั้งขึ้นตามชื่อของ “เซอร์ฟรานซิส ไลท์” พ่อค้าชาวอังกฤษแห่งบริษัทอีสต์อินเดียน ผู้เดินทางมาหาท่าเทียบเรือรบและสินค้าก็ได้ขึ้นมาที่เกาะแห่งนี้ จนเจรจาขอเช่าเกาะได้ (ในยุคเดียวกันก็มีพ่อค้าชาวอังกฤษมาตั้งถิ่นฐานแถวนี้อีก 2 เกาะคือที่มะละกาและสิงคโปร์)
รูปปั้นของท่านเซอร์ไลท์ตั้งอยู่บริเวณที่ท่านขึ้นฝั่งในปี 1786 และข้างๆ เป็น “ป้อมคอร์นวาลลิส” (Fort Cornwallis) ที่ด้านในมี “เสรี รัมใบ” ปืนใหญ่ที่มีชื่อเสียงของฮอลันดา ซึ่งกำนัลให้แก่สุลต่านรัฐยะโฮร์ แต่ถูกโปรตุเกสชิงไป และส่งต่อไปยังชวา ท้ายที่สุดอังกฤษก็นำกลับมามาที่นี่
ปัจจุบันเสรี รัมใบไม่ใช่แค่ปืนใหญ่เก่าแก่ในตำนานที่ทรงพลานุภาพ แต่ยังมีความศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นที่เลื่องลือ หากหญิงใดต้องการได้ลูก ขอให้นำดอกไม้ไปวางที่ปากกระบอกปืนใหญ่และอธิษฐาน ทว่าสาวๆ ที่ร่วมทางยังไม่มีโครงการผลิตทายาท จึงเลียบเลาะกำแพงป้อมปืนผ่านไป
หลังจากรายงานตัวกับอดีตผู้มีอิทธิพลของเกาะแล้ว พวกฉันมุ่งสู้เส้นทางริมน้ำ เพื่อชมแสงสีบริเวณ “เอสพลานาร์ด” ที่ไม่ใช่ห้างกลางเมือง แต่เป็นพื้นที่โล่งริมชายหาด โดยมีอาคาร 2 หลังที่เคยใช้เป็น “ทาวน์ฮอลล์” และ “ซิตีฮอลล์” ประดับประดาด้วยแสงไฟ พร้อมด้วย “อนุสรณ์สงครามโลกครั้งที่ 1” (The Cenotaph) ตั้งอยู่บริเวณที่ลานแห่งนั้น
“ซิตีฮอลล์” นับเป็นอาคารสมัยโคโลเนียนที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ยิ่งนัก มีลักษณะเด่นของเสาแบบกรีก และหน้าต่างบานใหญ่ ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองของลัทธิจักรวรรดินิยม และครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ทำการของรัฐบาลท้องถิ่นมาแล้ว จึงได้รับการอนุรักษ์เป็นอย่างดีกระทั่งถึงปัจจุบัน
ที่บริเวณเอสพลานาร์ดแห่งนี้ มีสวนหย่อมและต้นไม้ใหญ่เรียงราย ไปตามทางเดินริมชายฝั่ง เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวปีนัง ทั้งหนุ่มสาวและครอบครัวต่างพากันมาสูดอากาศริมทะเล มองไปเห็นสะพานแขวนข้ามสู่ฝั่งลิบๆ (ถ้าในตอนกลางวันน่าจะมองเห็นได้ชัดเจน)
พวกเราสูดกลิ่นทะเลปีนังพร้อมกับลิ้มรสไอศกรีมรถเข็นในแบบมาเลย์กันอย่างสบายอารมณ์แล้ว ก็มุ่งหน้าต่อไปยังหอนาฬิกา ที่เป็นเสมือนหมุดปักใจกลางเมือง ซึ่งมีที่ทำการของรัฐปีนังอยู่ในบริเวณนั้น ที่วงเวียนหอนาฬิกานี้เชื่อมต่อกับเชิร์ชสตรีท และบีชสตรีท
“บีชสตรีท” เป็นชื่อถนนที่ไม่ได้อยู่เลียบชายหาดแต่อย่างใด ถนนที่ติดชายหาดจริงๆ ชื่อ “เวล์ด เควย์” (Weld Quay) ตามเส้นนี้จะมีท่าเทียบเรือข้ามฟากสู่แผ่นดินใหญ่ ไปลังกาวี และมะละกา ส่วนบีชสตรีทขนานกับเวล์ดเควย์ 2 ข้างทางของถนนแห่งนี้ก็ยังคงมีอาคารสูง 2-4 ชั้นสไตล์โคโลเนียนให้เราเดินชม
หลังจากเสพบรรยากาศเมืองเก่าที่มีกลิ่นอายของ “ผู้ดี” อย่างอิ่มเอมไปแล้ว ท้องของพวกเราก็เริ่มต้องการเสพอาหารบ้าง พวกขอเปลี่ยนหมวกจากสมัยวิกตอเรียน เป็นผ้าโพกหัวมุ่งหน้าสู่ “ลิตเติ้ลอินเดีย” ที่อยู่ระหว่างมาร์เก็ตสตรีทและไชน่าสตรีท !!
ใช่แล้ว ไม่มีอะไรผิดเลย ที่ไชน่าสตรีทก็พอมีคนจีนอยู่บ้าง แต่ไม่ได้เป็นที่ตั้งของไชน่าทาวน์ แถมเป็นย่านแขกเสียส่วนใหญ่ สิ่งการันตีว่าที่ไหนย่านใครได้ดีที่สุดก็คือ “เทวสถาน”
ที่บริเวณนี้มีโบสถ์ฮินดูมากมาย แต่ที่โดดเด่นคือ “วัดศรีมหามาริอัมมัน” โบสถ์ฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดในปีนัง สร้างในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ภายในประดิษฐานเทวรูปเทพเจ้าและเทพีที่ล้วนตกแต่งด้วยทองคำ เพชร มรกต และอีกสารพัดสิ่งล้ำค่า นับเป็นศาสนาสถานที่สำคัญของชาวอินเดียบนเกาะ
ระหว่างที่เรากำลังเพลิดเพลินบักทึกภาพ ท้องเริ่มเรียกร้องความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ทริปนี้ฉันไม่ค่อยได้เตรียมการเรื่องกินมาเท่าใดนัก กะว่าร้านไหนดูน่ากินก็แวะกันไปเลย เดินชมร้านอาหารย่านอินเดียกันอยู่พักหนึ่ง ในที่สุดเราก็สะดุดเข้ากับ “ไก่ปิ้งสีแดง”
“ทันดอรีชิกเก้น” คือไก่ย่างที่ทำให้ทุกคนตาวาว เป็นที่นิยมไม่น้อย เพราะกินง่ายกว่าเมนูอินเดียอื่นๆ แค่เลือกว่าต้องการกินแกล้มกับ “โรตีคาไน” (แผ่นแป้งโรตีทอดที่เราคุ้นเคยกัน) หรือกินกับ “นัน” (แป้งแผ่นหนามีงาและกระเทียมผสม) เสิร์ฟพร้อมผักและแกงกะหรี่ แต่ “โรตีคาไน” ก็เป็นหนึ่งในเมนูแนะนำของการท่องเที่ยวปีนัง ที่ให้กินกับแกงต่างๆ เราจึงสั่งมาลองชิมให้หายข้องใจ
แม้โรตีจะถูกจัดให้เป็นอาหารคาวไปแล้ว แต่เพื่อนร่วมทริปของเราก็ระลึกได้ว่ามีโรตีของหวานที่เป็นแบบเฉพาะของสิงคโปร์-มาเลย์ นั่นคือ “โรตีทิชชู่” โรตีที่ตีแผ่เป็นแผ่นใหญ่บาง ทอดพอสุกกรอบแล้วนำมาม้วนเป็นกรวยโรยด้วยนมและน้ำตาล เสิร์ฟกันเหมือนยกภูเขามาให้ ส่วนเราๆ ก็รุมทลายภูเขากันหนุบหนับ
ด้วยความสนุกกับของหวานเฉพาะถิ่น กลัวกลับบ้านจะไม่ได้กิน ทำให้เราพยายามตระเวนชิมโรตีทิชชู่ตามร้านอินเดียต่างๆ กระทั่งแน่นพุงกะทิ แต่ในคืนสุดท้ายเราก็ได้สังเกตว่า ข้างที่พักของเราก็มีโรตียักษ์ขาย จึงลองชิมแกล้มกับ “ชาชัก” หรือ “เตห์ตะริก” ที่แวะชิมกันทุกเบรก
ในที่สุดเราก็ได้รู้สึกถึงคำว่า “ใกล้เกลือกินด่าง” ก็งานนี้ล่ะ ทั้งชาชักและโรตีทิชชู่ ที่ร้านข้างบ้านพักอร่อยที่สุด มิน่าล่ะเมื่อฉันถามหาแหล่งของกินกับคุณเหลนท่านเจ้าคุณ เขาถึงกับออกอาการงงๆ ทำนองว่า ถนนหน้าบ้านก็มีอาหารอลังการพวกหนูๆ จะไปกินไหนกันอีก !!
เมื่อเปิดตาดูบนถนนปีนังที่ทอดผ่านหน้าบ้าน ก็พบว่าห่างไปไม่กี่เมตรบนถนนเส้นนี้ เป็นที่รวมชีวิตยามราตรี ทั้งศูนย์อาหาร ร้านโรตี ผับบาร์ จุดนัดพบสนทนา รู้แล้วว่าท่านเจ้าคุณเลือกบ้านได้ทำเลดีสุดๆ
“เมืองของพระเจ้าจอร์จ” แม้ไม่ใหญ่มากนัก แต่ก็เต็มไปด้วยผู้คนและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ยังมีที่กินที่เที่ยวอีกมากมาย โดยเฉพาะของกินเด็ดโดนใจ ตามไปลุยกันต่อได้ในสัปดาห์หน้า
แม้จะคุ้นชื่อ “ปีนัง” จากหนังละครยุคปริศนามานาน แต่ฉันก็ยังไม่มีโอกาสได้เยือนเกาะอันเลื่องชื่อแห่งนี้ จนกระทั่งต้องไปเป็นสักขีพยายานงานแต่งของเพื่อนที่ อ.สะเดา หมู่เราจึงมีไอเดียไถลไปเที่ยวต่างประเทศแบบใกล้ๆ กันเสียหน่อย
จากสะเดาเข้าออกปีนังไม่ยาก มีรถตู้ไปกลับหาดใหญ่-ปีนังให้บริการทุกวัน (แถมวันละหลายเที่ยว) หรือจะเป็นรถไฟก็มีตรงจากหัวลำโพง ผ่านภาคใต้สุดทางที่สถานีเมืองบัตเตอร์เวิร์ธ ประเทศมาเลเซีย จากนั้นก็ข้ามเรือที่ท่าชื่อเดียวกัน เข้าสู่เกาะปีนังได้อย่างสบายเช่นกัน
การเดินทางของพวกฉันครั้งนี้ เป็นแบบผสมผสาน ตามตารางเวลาที่เร่งเร้าให้เป็นเช่นนั้น โดยการบินไปลงที่ปีนัง แล้วนั่งรถย้อนกลับเข้าประเทศเพื่อร่วมพิธีสำคัญของเพื่อน พวกเราเลือกสายการบินราคาถูกจากกรุงเทพฯ เพราะใช้เวลาเดินทางแค่ 90 นาทีถึงปีนัง จึงไม่จำเป็นต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายระหว่างทาง
ไฟล์ทเช้าตรู่ คือ มติเอกฉันท์ของลูกทัวร์ เรามีเวลาที่ปีนังเพียงแค่ 2 วันกว่าๆ จึงทำให้การไปถึงแต่เช้า (ที่สุด) เป็นสิ่งที่ปรารถนายิ่งนัก
แต่แล้วสิ่งที่เขาร่ำลือก็มาถึง ช่วงหนึ่งสัปดาห์ก่อนการเดินทางฉันได้รับแจ้งจากสายการบินว่า “ขอยกเลิกไฟล์ทเช้า ให้พวกเราไปเดินทางในไฟล์ทบ่ายแทน” ไถ่ถามไปก็ให้เหตุผลที่น่ารับฟังว่า “ต้องเติมน้ำมันและทำความสะอาดเครื่องบิน จึงเตรียมเครื่องไม่ทัน” ไม่เช่นนั้นท่านก็เลือกวันอื่นๆ แต่ในเส้นทางเดิม เพราะตั๋วนี้ไม่สามารถเปลี่ยนคนหรือเปลี่ยนเส้นทางได้
ยอมรับว่าเสียเส้นพอควร เพราะช่วงเวลายังไงก็ต้องเป็นไปตามนั้น แต่ไม่อยากให้เสียอารมณ์ในการท่องเที่ยว จึงบ่นไปพองาม และจำยอมเดินทางในช่วงบ่าย (แต่ก็จำไว้เพราะไม่มีของขวัญขอโทษใดๆ แนบกลับมาให้เลย)
นั่นจึงทำให้พวกเราได้เหยียบสนามบินแห่ง “ปูเลาปีนัง” ในช่วงเย็น และรีบโบกแท็กซี่ที่เป็นยี่ห้ออื่นใดไปไม่ได้นอกจาก “โปรตรอน” นำพาสู่ที่หมายปลายทาง ณ ใจกลาง “จอร์จทาวน์” เมืองหลวงของรัฐปีนัง
จากสนามบินสู่ที่พักประมาณ 10 กิโลฯ (เอง) แต่พวกเราดันไปโผล่ในช่วงเวลาเลิกงานของเย็นวันศุกร์ กว่าจะถึงที่พักก็ใช้เวลาเกือบชั่วโมง แต่ช่วงเวลาเกินปกติบนแท็กซี่ก็หาได้น่าเบื่อ เพราะเพลินกับการสำรวจบ้านเมือง ไล่รวมไปถึง “เจ้าโปรตรอน” ที่วิ่งขวักไขว่มากหน้าหลายตา ผลงานสร้างสรรค์ภายในประเทศนี้
ฉันเลือกที่พักเป็นบ้านเก่าบน “ถนนปีนัง” เพราะสืบสาวราวเรื่องก่อนร่อนอีเมลมาจองได้ความว่า คฤหาสน์ร่วมร้อยปีหลังนี้เป็นของ “กูเด็น บินกูแมะ” (Ku Din Ku Meh) หรือ พระยาภูมินารถภักดี อดีตเจ้าเมืองสตูล สมัยช่วงรัชกาลที่ 5-6 ซึ่งปัจจุบันเปิดให้เป็นที่พัก และมีเหลนของท่านเป็นผู้จัดการดูแล
มาปีนังทั้งที ก็ขอเลือกพักระดับคฤหาสน์ท่านเจ้าคุณคงจะดูขลังดีไม่น้อย ที่สำคัญบ้านท่านอยู่ในสมรภูมิอันดียิ่ง ทั้งการเดินชมอาคารและการตามชิมอาหาร ซึ่งเป็น 2 กิจกรรมหลักในการท่องปีนังครั้งนี้
พักที่บ้านโบราณแล้ว ก็ต้องประเดิมการท่องเที่ยวด้วย “เส้นทางสายมรดกโลก” (Heritage Walk) ให้สมกับที่มาเยือนเมืองที่ได้รับตำแหน่ง “มรดกโลก” หมาดๆ เมื่อปีกลาย
อาคารบ้านเรือนที่เป็นส่วนของมรดกโลก อยู่กระจัดกระจายในแถบชายฝั่งเมืองจอร์จทาวน์ แต่ส่วนใหญ่ตั้งกระจุกตัวอยู่บนนถนน 2 สายหลักคือ “เชิร์ช สตรีท” (Church Street) และ “ไลท์ สตรีท” (Light Street) ที่ทอดยาวเกือบขนานกัน และยังขนานกับแนวชายฝั่งทะเลอีกด้วย
“บลูเฮาส์” คือจุดแรกที่ฉันเรียบๆ เคียงๆ ดู เป็นบ้านจีนสีสันสวยงาม (นำด้วยสีน้ำเงินเหมือนชื่อในภาษาฝรั่ง) ปัจจุบันเปิดเป็นที่พัก แต่ราคาค่อนข้างสูง เพราะที่แห่งนี้มีรางวัลพิเศษจากยูเนสโกประดับไว้ตั้งแต่ปี 2000 ในฐานะที่อนุรักษ์อาคารอายุกว่าศตวรรษให้เป็นมรดกที่สวยงามดั่งของเดิม
แม้ไม่พักที่นี่ แต่ก็มีทัวร์ชมตัวบ้านได้ (ในราคาคนละ 12 ริงกิต) น่าเสียดายที่ฉันมาเย็นเกินกว่าจะมีโอกาสได้เห็นห้องหับต่างๆ ที่มีมากถึง 38 ห้อง พร้อมด้วยหน้าต่างอีก 220 บานในบ้านสีน้ำเงินหลังนี้
จากบลูเฮาส์ เราเดินชมเมืองไปเรื่อยๆ ตามเชิร์ชสตรีท ซึ่งเป็นที่ชุมนุมของอาคารสถานที่เก่าสมัยปลายศตวรรษที่ 19 ตั้งอยู่เรียงราย อาทิ “โบสถ์อัสสัมชัญ” ถัดมาเป็น “พิพิธภัณฑ์ปีนังและอาร์ตแกลลอรี” และเดินไปอีกไม่ไกลเป็น “โบสถ์เซ็นต์จอร์จ” นิกายแองกลิกันที่ชาวอังกฤษนับถือ ถือได้ว่าเป็นโบสถ์ประจำนิกายเก่าแก่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ สร้างขึ้นจากแรงงานของนักโทษ
บนถนนแห่งนี้เต็มไปด้วยสถานที่สำคัญทางศาสนา สมกับที่ตั้งชื่อว่า “เชิร์ช” สะท้อนวิถีของผู้คนในสมัยนั้นที่ผูกพันกับศาสนาอย่างชัดเจน
พระอาทิตย์คล้อยต่ำลงแล้ว พวกฉันลัดเลาะเข้าสู่ถนนไลท์ ที่ตั้งขึ้นตามชื่อของ “เซอร์ฟรานซิส ไลท์” พ่อค้าชาวอังกฤษแห่งบริษัทอีสต์อินเดียน ผู้เดินทางมาหาท่าเทียบเรือรบและสินค้าก็ได้ขึ้นมาที่เกาะแห่งนี้ จนเจรจาขอเช่าเกาะได้ (ในยุคเดียวกันก็มีพ่อค้าชาวอังกฤษมาตั้งถิ่นฐานแถวนี้อีก 2 เกาะคือที่มะละกาและสิงคโปร์)
รูปปั้นของท่านเซอร์ไลท์ตั้งอยู่บริเวณที่ท่านขึ้นฝั่งในปี 1786 และข้างๆ เป็น “ป้อมคอร์นวาลลิส” (Fort Cornwallis) ที่ด้านในมี “เสรี รัมใบ” ปืนใหญ่ที่มีชื่อเสียงของฮอลันดา ซึ่งกำนัลให้แก่สุลต่านรัฐยะโฮร์ แต่ถูกโปรตุเกสชิงไป และส่งต่อไปยังชวา ท้ายที่สุดอังกฤษก็นำกลับมามาที่นี่
ปัจจุบันเสรี รัมใบไม่ใช่แค่ปืนใหญ่เก่าแก่ในตำนานที่ทรงพลานุภาพ แต่ยังมีความศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นที่เลื่องลือ หากหญิงใดต้องการได้ลูก ขอให้นำดอกไม้ไปวางที่ปากกระบอกปืนใหญ่และอธิษฐาน ทว่าสาวๆ ที่ร่วมทางยังไม่มีโครงการผลิตทายาท จึงเลียบเลาะกำแพงป้อมปืนผ่านไป
หลังจากรายงานตัวกับอดีตผู้มีอิทธิพลของเกาะแล้ว พวกฉันมุ่งสู้เส้นทางริมน้ำ เพื่อชมแสงสีบริเวณ “เอสพลานาร์ด” ที่ไม่ใช่ห้างกลางเมือง แต่เป็นพื้นที่โล่งริมชายหาด โดยมีอาคาร 2 หลังที่เคยใช้เป็น “ทาวน์ฮอลล์” และ “ซิตีฮอลล์” ประดับประดาด้วยแสงไฟ พร้อมด้วย “อนุสรณ์สงครามโลกครั้งที่ 1” (The Cenotaph) ตั้งอยู่บริเวณที่ลานแห่งนั้น
“ซิตีฮอลล์” นับเป็นอาคารสมัยโคโลเนียนที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ยิ่งนัก มีลักษณะเด่นของเสาแบบกรีก และหน้าต่างบานใหญ่ ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองของลัทธิจักรวรรดินิยม และครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ทำการของรัฐบาลท้องถิ่นมาแล้ว จึงได้รับการอนุรักษ์เป็นอย่างดีกระทั่งถึงปัจจุบัน
ที่บริเวณเอสพลานาร์ดแห่งนี้ มีสวนหย่อมและต้นไม้ใหญ่เรียงราย ไปตามทางเดินริมชายฝั่ง เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวปีนัง ทั้งหนุ่มสาวและครอบครัวต่างพากันมาสูดอากาศริมทะเล มองไปเห็นสะพานแขวนข้ามสู่ฝั่งลิบๆ (ถ้าในตอนกลางวันน่าจะมองเห็นได้ชัดเจน)
พวกเราสูดกลิ่นทะเลปีนังพร้อมกับลิ้มรสไอศกรีมรถเข็นในแบบมาเลย์กันอย่างสบายอารมณ์แล้ว ก็มุ่งหน้าต่อไปยังหอนาฬิกา ที่เป็นเสมือนหมุดปักใจกลางเมือง ซึ่งมีที่ทำการของรัฐปีนังอยู่ในบริเวณนั้น ที่วงเวียนหอนาฬิกานี้เชื่อมต่อกับเชิร์ชสตรีท และบีชสตรีท
“บีชสตรีท” เป็นชื่อถนนที่ไม่ได้อยู่เลียบชายหาดแต่อย่างใด ถนนที่ติดชายหาดจริงๆ ชื่อ “เวล์ด เควย์” (Weld Quay) ตามเส้นนี้จะมีท่าเทียบเรือข้ามฟากสู่แผ่นดินใหญ่ ไปลังกาวี และมะละกา ส่วนบีชสตรีทขนานกับเวล์ดเควย์ 2 ข้างทางของถนนแห่งนี้ก็ยังคงมีอาคารสูง 2-4 ชั้นสไตล์โคโลเนียนให้เราเดินชม
หลังจากเสพบรรยากาศเมืองเก่าที่มีกลิ่นอายของ “ผู้ดี” อย่างอิ่มเอมไปแล้ว ท้องของพวกเราก็เริ่มต้องการเสพอาหารบ้าง พวกขอเปลี่ยนหมวกจากสมัยวิกตอเรียน เป็นผ้าโพกหัวมุ่งหน้าสู่ “ลิตเติ้ลอินเดีย” ที่อยู่ระหว่างมาร์เก็ตสตรีทและไชน่าสตรีท !!
ใช่แล้ว ไม่มีอะไรผิดเลย ที่ไชน่าสตรีทก็พอมีคนจีนอยู่บ้าง แต่ไม่ได้เป็นที่ตั้งของไชน่าทาวน์ แถมเป็นย่านแขกเสียส่วนใหญ่ สิ่งการันตีว่าที่ไหนย่านใครได้ดีที่สุดก็คือ “เทวสถาน”
ที่บริเวณนี้มีโบสถ์ฮินดูมากมาย แต่ที่โดดเด่นคือ “วัดศรีมหามาริอัมมัน” โบสถ์ฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดในปีนัง สร้างในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ภายในประดิษฐานเทวรูปเทพเจ้าและเทพีที่ล้วนตกแต่งด้วยทองคำ เพชร มรกต และอีกสารพัดสิ่งล้ำค่า นับเป็นศาสนาสถานที่สำคัญของชาวอินเดียบนเกาะ
ระหว่างที่เรากำลังเพลิดเพลินบักทึกภาพ ท้องเริ่มเรียกร้องความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ทริปนี้ฉันไม่ค่อยได้เตรียมการเรื่องกินมาเท่าใดนัก กะว่าร้านไหนดูน่ากินก็แวะกันไปเลย เดินชมร้านอาหารย่านอินเดียกันอยู่พักหนึ่ง ในที่สุดเราก็สะดุดเข้ากับ “ไก่ปิ้งสีแดง”
“ทันดอรีชิกเก้น” คือไก่ย่างที่ทำให้ทุกคนตาวาว เป็นที่นิยมไม่น้อย เพราะกินง่ายกว่าเมนูอินเดียอื่นๆ แค่เลือกว่าต้องการกินแกล้มกับ “โรตีคาไน” (แผ่นแป้งโรตีทอดที่เราคุ้นเคยกัน) หรือกินกับ “นัน” (แป้งแผ่นหนามีงาและกระเทียมผสม) เสิร์ฟพร้อมผักและแกงกะหรี่ แต่ “โรตีคาไน” ก็เป็นหนึ่งในเมนูแนะนำของการท่องเที่ยวปีนัง ที่ให้กินกับแกงต่างๆ เราจึงสั่งมาลองชิมให้หายข้องใจ
แม้โรตีจะถูกจัดให้เป็นอาหารคาวไปแล้ว แต่เพื่อนร่วมทริปของเราก็ระลึกได้ว่ามีโรตีของหวานที่เป็นแบบเฉพาะของสิงคโปร์-มาเลย์ นั่นคือ “โรตีทิชชู่” โรตีที่ตีแผ่เป็นแผ่นใหญ่บาง ทอดพอสุกกรอบแล้วนำมาม้วนเป็นกรวยโรยด้วยนมและน้ำตาล เสิร์ฟกันเหมือนยกภูเขามาให้ ส่วนเราๆ ก็รุมทลายภูเขากันหนุบหนับ
ด้วยความสนุกกับของหวานเฉพาะถิ่น กลัวกลับบ้านจะไม่ได้กิน ทำให้เราพยายามตระเวนชิมโรตีทิชชู่ตามร้านอินเดียต่างๆ กระทั่งแน่นพุงกะทิ แต่ในคืนสุดท้ายเราก็ได้สังเกตว่า ข้างที่พักของเราก็มีโรตียักษ์ขาย จึงลองชิมแกล้มกับ “ชาชัก” หรือ “เตห์ตะริก” ที่แวะชิมกันทุกเบรก
ในที่สุดเราก็ได้รู้สึกถึงคำว่า “ใกล้เกลือกินด่าง” ก็งานนี้ล่ะ ทั้งชาชักและโรตีทิชชู่ ที่ร้านข้างบ้านพักอร่อยที่สุด มิน่าล่ะเมื่อฉันถามหาแหล่งของกินกับคุณเหลนท่านเจ้าคุณ เขาถึงกับออกอาการงงๆ ทำนองว่า ถนนหน้าบ้านก็มีอาหารอลังการพวกหนูๆ จะไปกินไหนกันอีก !!
เมื่อเปิดตาดูบนถนนปีนังที่ทอดผ่านหน้าบ้าน ก็พบว่าห่างไปไม่กี่เมตรบนถนนเส้นนี้ เป็นที่รวมชีวิตยามราตรี ทั้งศูนย์อาหาร ร้านโรตี ผับบาร์ จุดนัดพบสนทนา รู้แล้วว่าท่านเจ้าคุณเลือกบ้านได้ทำเลดีสุดๆ
“เมืองของพระเจ้าจอร์จ” แม้ไม่ใหญ่มากนัก แต่ก็เต็มไปด้วยผู้คนและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ยังมีที่กินที่เที่ยวอีกมากมาย โดยเฉพาะของกินเด็ดโดนใจ ตามไปลุยกันต่อได้ในสัปดาห์หน้า