โดย: มะเมี้ยะ
ครุ่นคิดอยู่นานว่าการมากับคาราวานทริปนี้ที่นำเสนอผ่านไป 2 ตอน หลงลืมอะไรที่สำคัญไปหรือเปล่าที่ยังไม่ได้เอ่ยถึง พลันก็นึกได้ทันควันในมโนสำนึกว่า ลืม…ไกด์ชาวลาวคนสำคัญไปได้อย่างไร ไกด์ชาวลาวที่คอยให้ข้อมูลตลอดจนอำนวยความสะดวกเรื่องต่างๆ
"ทองสุก บุนนะลาด" ไกด์ชาวลาว เดินทางมาร่วมสมทบกับชาวคาราวาน ตั้งแต่ที่ด่านน้ำเงินแขวงไชยบุรี และเป็นคนนำพวกเราท่องเที่ยวหลวงพระบาง ตลอดจนให้รายละเอียดข้อมูลต่างๆ ตามสถานที่จะคาราวานของเราย่างกรายผ่าน
หลังออกจากหลวงพระบางดินแดนมรดกโลกอันแสนสุขใจแล้วนั้น ขบวนคาราวานก็มุ่งหน้าไปยังจุดหมายต่อไปประจำวันนี้ คือ แขวงอุดมไชย ที่ตามกำหนดการเราจะแวะพักที่อุดมไชยหนึ่งคืน
สำหรับเส้นทางยังไม่เปลี่ยนแปลงคงเส้นคงวา เป็นถนนลูกรังอัดแน่น ในบางช่วงพบเจอถนนลาดยางบ้างบางขณะ และอีกหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือความงดงามของสองข้างทางที่รถสัญจรผ่าน
ระหว่างทางมีแวะเติมเสบียงกันบ้างตามจุดที่เป็นตัวหมู่บ้านใหญ่ที่บ้านสามัคคีไชย ที่นี่ฉันสังเกตเห็นมีส้มเช้งกองขายอยู่หลายร้าน สอบถามพ่อค้าจึงรู้ว่าสินค้าเหล่านี้ขนส่งมาจากชายแดนจีนทางบ่อเต็น สมบุกสมบันกันมาจนถึงแขวงอุดมไชยก็มืดค่ำพอดี
นอนเอาแรงกันแต่หัวค่ำ จากนั้นตื่นแต่เช้าพร้อมออกเดินทางทันที ผ่านตัวเมืองอุดมไชยก็แวะแลกเงินที่ตลาดในเมืองอุดมไชยที่นี่มีเงินจีน เงินเวียดนามให้แลกกันอยู่หลายเจ้า ที่แขวงอุดมไชยเป็นเมืองใหญ่ที่ค่อนข้างเจริญ เมื่อเปรียบเทียบกับเส้นทางหมู่บ้านต่างๆที่ผ่านมา
อุดมไชยเดิมมีป่าไม้หนาแน่น แต่ด้วยทางรัฐบาลลาวต้องการตอบแทนประเทศจีนที่เสียเงินจำนวนไม่น้อยสร้างถนนให้ จึงยกสัมปทานไม้ในแขวงอุดมไชยให้จีน ส่งผลให้ป่าไม้บริเวณนี้ถูกทำลายลงไปมาก ที่นี่เราจะเริ่มสังเกตเห็นอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมากขึ้นในรูปแบบของสินค้าอุปโภค บริโภค
อุดมไชยมีพระธาตุสำคัญอยู่แห่งหนึ่งที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวอุมดไชยชื่อว่า "พูพระธาตุ" เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชาวลาวและเป็นจุดที่สามารถชมวิวทิวทัศน์ได้รอบเมือง ตั้งรอบล้อมด้วยภูเขาสูงอันรื่นรมย์
ปัจจุบันอุดมไชยมีความสำคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางการเดินทางของชาวลาว มีสถานีขนส่งขนาดใหญ่ที่พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวไปยังเมืองอื่น เช่น เวียงจันทน์ หลวงพระบาง หลวงน้ำทา พงสาลี บ่อเต็นเมืองชายแดนเขตประเทศจีนที่ติดยูนนานได้
จากอุดมไชย เลียบเลาะผ่านหมู่บ้านชาวเขาน้อยใหญ่ที่ยังคงความเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์จะแสดงให้เห็นความยินดีในการต้อนรับผู้มาเยือนผ่านทางสีหน้าอันยิ้มแย้ม ยามเห็นรถคาราวานขับผ่านก็ออกมายืนโบกไม้โบกมือให้ ทิวทัศน์ในเส้นทางนี้ก็งดงาม บางคราขับผ่านทุ่งนาเขียวขจี จนอดใจไม่ไหวต้องขอหยุดขบวนเป็นการชั่วคราวเพื่อถ่ายรูปไว้เป็นความทรงจำ
บนเส้นทางนี้เราผ่านมาทาง "เมืองหล้า"ด้วย ที่เมืองหล้าเราแวะไหว้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อว่า "พระเจ้าสิงห์คำ"หรือแซงคำ ทองสุกไกด์ชาวลาว บอกเล่าด้วยภาษาลาวที่ฟังง่ายว่า พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปศิลปะขอมตามตำนานมีอายุราว 400 ปี
มีชาวเขาเผ่าขมุพบเจอในลำน้ำพากสายน้ำสำคัญของคนเมืองหล้า โดยจะอันเชิญสรงน้ำปีละหนในวันสงกรานต์ ผู้ที่สามารถอันเชิญได้จะเป็นชาวขมุเท่านั้น ความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าสิงห์คำ เชื่อว่าบนบานเรื่องขอลูกจะได้ลูก ใครทำของหายได้ก็จะได้คืน
จากเมืองหล้าต้องมาข้ามแพขนานยนต์กันอีกรอบ ที่ริมฝั่งแม่น้ำอู แม่น้ำที่มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ไหลมาบรรจบแม่น้ำโขงที่บ้านปากอู ในแขวงหลวงพระบาง หลายคนอาจจะคุ้นชื่ออยู่บ้างเพราะแม่น้ำอูนี้อยู่บริเวณเดียวกับถ้ำติ่งสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่งของหลวงพระบาง
เมื่อข้ามแพขนานยนต์กันแล้ว พวกเราก็เข้าสู่เขต "เมืองขวา" ตามสำเนียงไทย แต่ถ้าเป็นภาษาลาวทองสุกบอกเขาเรียกกันเมืองขัว จากเมืองขวาอีกราว 60 กิโลเมตร จะถึงพรมแดนเวียดนาม และจากพรมแดนเวียดนามอีก 20 กิโลเมตร จะถึงเมือง "เดียนเบียนฟู" เมืองที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์สงครามของเวียดนาม
เมืองขวาเรียกได้ว่าเป็นด่านสุดท้ายก่อนเข้าสู่เขตเวียดนาม ที่เมืองขวาทางการจีนมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ช่วยเหลือพัฒนาเส้นทางถนนจากอุดมไชยมายังเมืองขวา ทั้งนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามในการสร้างถนนจากเมืองขวาต่อไปยังเดียนเบียนฟูอีกด้วย
ทำให้ทางสายนี้กลายเป็นทางเชื่อมคมนาคมชั้นดีจากฝั่งตะวันออกสู่ฝั่งตะวันตกของลาวเหนือ เป็นศูนย์กลางการค้าขายระหว่างไทย ลาว จีน เวียดนาม ที่เมืองขวาเราจะสังเกตเห็นสินค้ามากมายหลายชนิดจากหลายประเทศมีทั้งของไทย ของจีน ของเวียดนาม
แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจอยู่ไม่น้อย ที่ดูเหมือนสินค้าไทยได้รับความนิยมมากกว่าสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านสังเกตได้จากการแวะซื้อเสบียงครั้งสุดท้ายของเราก่อนเข้าสู่เวียดนาม มีหญิงสาวชาวลาวเข้ามาสอบถามร้านค้าที่ตั้งอยู่ติดกัน2-3ร้านว่า "มีแฟ้บของไทยบ่" คนขายทั้ง 2-3 ร้านตอบเหมือนกันว่า ไม่มีของไทยขายดีหมดไวเหลือแต่ของเวียด ซึ่งเมื่อหญิงสาวชาวลาวได้รับคำตอบเช่นนั้น แทนที่เธอจะซื้อสินค้าชาติอื่น เธอกลับสั่งจองแล้วบอกจะมาเอาของไทยในวันหลัง เล่นเอาคนไทยที่ยืนฟังอยู่อดดีใจไม่ได้
จากเมืองขวาผ่านช่องเขาที่ทั้งแคบที่ชัน นั่งรถอาบฝุ่นกันมาเรื่อยๆ หวาดเสียวบ้าง เมื่อมีรถวิ่งสวนทางมาแต่ก็ปลอดภัย เพราะดูเหมือนคนที่นี่เขาขับรถบนเส้นทางแบบนี้กันจนชิน ในที่สุดพวกเราก็เขาสู่เขตชายแดนกันแล้ว ที่นี่ใช้เวลาค่อนข้างนานในการทำเอกสารต่างๆ
นอกจากคาราวานของพวกเรา ยังมีคนอื่นหลายกลุ่มที่รอข้ามแดนอยู่เช่นกัน มีทั้งรถบรรทุกที่ขนส่งสินค้าระหว่างสองประเทศ และแม่ค้าชาวลาวที่หอบของไปขายยังฝั่งเวียดนาม เมื่อจัดทำเรื่องเอกสารผ่านแดนทุกอย่างเรียบร้อย ทีนี้ก็เริ่มสตาร์ทเครื่องเดินหน้าเต็มเหนี่ยวเที่ยว "เดียนเบียนฟู"กันได้...(อ่านต่อตอนหน้า)
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
อุดมไชย หรือ เมืองไชย เป็นเมืองหลวงของแขวงอุดมไชย เป็นจุดเชื่อมการเดินทางไปยังเมืองใกล้ๆอย่าง แขวงพงสาลี หลวงพระบาง ไชยบุรี และหลวงน้ำทา ส่วนเมืองขวาเป็นเมองชายแดนของลาวติดต่อกับพรมแดนเวียดนาม :ลาว ใช้เงินกีบเป็นหลักในการซื้อขายโดย 1 บาท ประมาณ 250 กีบ แต่สามารถใช้เงินบาทได้
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
จากน่านสู่เดียนเบียนฟู เปิดประตูสู่อินโดจีน ตอนที่1: มนต์เมืองน่าน
จากน่านสู่เดียนเบียนฟู เปิดประตูสู่อินโดจีน ตอนที่2: สุขใจในหลวงพระบาง
ครุ่นคิดอยู่นานว่าการมากับคาราวานทริปนี้ที่นำเสนอผ่านไป 2 ตอน หลงลืมอะไรที่สำคัญไปหรือเปล่าที่ยังไม่ได้เอ่ยถึง พลันก็นึกได้ทันควันในมโนสำนึกว่า ลืม…ไกด์ชาวลาวคนสำคัญไปได้อย่างไร ไกด์ชาวลาวที่คอยให้ข้อมูลตลอดจนอำนวยความสะดวกเรื่องต่างๆ
"ทองสุก บุนนะลาด" ไกด์ชาวลาว เดินทางมาร่วมสมทบกับชาวคาราวาน ตั้งแต่ที่ด่านน้ำเงินแขวงไชยบุรี และเป็นคนนำพวกเราท่องเที่ยวหลวงพระบาง ตลอดจนให้รายละเอียดข้อมูลต่างๆ ตามสถานที่จะคาราวานของเราย่างกรายผ่าน
หลังออกจากหลวงพระบางดินแดนมรดกโลกอันแสนสุขใจแล้วนั้น ขบวนคาราวานก็มุ่งหน้าไปยังจุดหมายต่อไปประจำวันนี้ คือ แขวงอุดมไชย ที่ตามกำหนดการเราจะแวะพักที่อุดมไชยหนึ่งคืน
สำหรับเส้นทางยังไม่เปลี่ยนแปลงคงเส้นคงวา เป็นถนนลูกรังอัดแน่น ในบางช่วงพบเจอถนนลาดยางบ้างบางขณะ และอีกหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือความงดงามของสองข้างทางที่รถสัญจรผ่าน
ระหว่างทางมีแวะเติมเสบียงกันบ้างตามจุดที่เป็นตัวหมู่บ้านใหญ่ที่บ้านสามัคคีไชย ที่นี่ฉันสังเกตเห็นมีส้มเช้งกองขายอยู่หลายร้าน สอบถามพ่อค้าจึงรู้ว่าสินค้าเหล่านี้ขนส่งมาจากชายแดนจีนทางบ่อเต็น สมบุกสมบันกันมาจนถึงแขวงอุดมไชยก็มืดค่ำพอดี
นอนเอาแรงกันแต่หัวค่ำ จากนั้นตื่นแต่เช้าพร้อมออกเดินทางทันที ผ่านตัวเมืองอุดมไชยก็แวะแลกเงินที่ตลาดในเมืองอุดมไชยที่นี่มีเงินจีน เงินเวียดนามให้แลกกันอยู่หลายเจ้า ที่แขวงอุดมไชยเป็นเมืองใหญ่ที่ค่อนข้างเจริญ เมื่อเปรียบเทียบกับเส้นทางหมู่บ้านต่างๆที่ผ่านมา
อุดมไชยเดิมมีป่าไม้หนาแน่น แต่ด้วยทางรัฐบาลลาวต้องการตอบแทนประเทศจีนที่เสียเงินจำนวนไม่น้อยสร้างถนนให้ จึงยกสัมปทานไม้ในแขวงอุดมไชยให้จีน ส่งผลให้ป่าไม้บริเวณนี้ถูกทำลายลงไปมาก ที่นี่เราจะเริ่มสังเกตเห็นอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมากขึ้นในรูปแบบของสินค้าอุปโภค บริโภค
อุดมไชยมีพระธาตุสำคัญอยู่แห่งหนึ่งที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวอุมดไชยชื่อว่า "พูพระธาตุ" เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชาวลาวและเป็นจุดที่สามารถชมวิวทิวทัศน์ได้รอบเมือง ตั้งรอบล้อมด้วยภูเขาสูงอันรื่นรมย์
ปัจจุบันอุดมไชยมีความสำคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางการเดินทางของชาวลาว มีสถานีขนส่งขนาดใหญ่ที่พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวไปยังเมืองอื่น เช่น เวียงจันทน์ หลวงพระบาง หลวงน้ำทา พงสาลี บ่อเต็นเมืองชายแดนเขตประเทศจีนที่ติดยูนนานได้
จากอุดมไชย เลียบเลาะผ่านหมู่บ้านชาวเขาน้อยใหญ่ที่ยังคงความเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์จะแสดงให้เห็นความยินดีในการต้อนรับผู้มาเยือนผ่านทางสีหน้าอันยิ้มแย้ม ยามเห็นรถคาราวานขับผ่านก็ออกมายืนโบกไม้โบกมือให้ ทิวทัศน์ในเส้นทางนี้ก็งดงาม บางคราขับผ่านทุ่งนาเขียวขจี จนอดใจไม่ไหวต้องขอหยุดขบวนเป็นการชั่วคราวเพื่อถ่ายรูปไว้เป็นความทรงจำ
บนเส้นทางนี้เราผ่านมาทาง "เมืองหล้า"ด้วย ที่เมืองหล้าเราแวะไหว้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อว่า "พระเจ้าสิงห์คำ"หรือแซงคำ ทองสุกไกด์ชาวลาว บอกเล่าด้วยภาษาลาวที่ฟังง่ายว่า พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปศิลปะขอมตามตำนานมีอายุราว 400 ปี
มีชาวเขาเผ่าขมุพบเจอในลำน้ำพากสายน้ำสำคัญของคนเมืองหล้า โดยจะอันเชิญสรงน้ำปีละหนในวันสงกรานต์ ผู้ที่สามารถอันเชิญได้จะเป็นชาวขมุเท่านั้น ความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าสิงห์คำ เชื่อว่าบนบานเรื่องขอลูกจะได้ลูก ใครทำของหายได้ก็จะได้คืน
จากเมืองหล้าต้องมาข้ามแพขนานยนต์กันอีกรอบ ที่ริมฝั่งแม่น้ำอู แม่น้ำที่มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ไหลมาบรรจบแม่น้ำโขงที่บ้านปากอู ในแขวงหลวงพระบาง หลายคนอาจจะคุ้นชื่ออยู่บ้างเพราะแม่น้ำอูนี้อยู่บริเวณเดียวกับถ้ำติ่งสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่งของหลวงพระบาง
เมื่อข้ามแพขนานยนต์กันแล้ว พวกเราก็เข้าสู่เขต "เมืองขวา" ตามสำเนียงไทย แต่ถ้าเป็นภาษาลาวทองสุกบอกเขาเรียกกันเมืองขัว จากเมืองขวาอีกราว 60 กิโลเมตร จะถึงพรมแดนเวียดนาม และจากพรมแดนเวียดนามอีก 20 กิโลเมตร จะถึงเมือง "เดียนเบียนฟู" เมืองที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์สงครามของเวียดนาม
เมืองขวาเรียกได้ว่าเป็นด่านสุดท้ายก่อนเข้าสู่เขตเวียดนาม ที่เมืองขวาทางการจีนมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ช่วยเหลือพัฒนาเส้นทางถนนจากอุดมไชยมายังเมืองขวา ทั้งนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามในการสร้างถนนจากเมืองขวาต่อไปยังเดียนเบียนฟูอีกด้วย
ทำให้ทางสายนี้กลายเป็นทางเชื่อมคมนาคมชั้นดีจากฝั่งตะวันออกสู่ฝั่งตะวันตกของลาวเหนือ เป็นศูนย์กลางการค้าขายระหว่างไทย ลาว จีน เวียดนาม ที่เมืองขวาเราจะสังเกตเห็นสินค้ามากมายหลายชนิดจากหลายประเทศมีทั้งของไทย ของจีน ของเวียดนาม
แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจอยู่ไม่น้อย ที่ดูเหมือนสินค้าไทยได้รับความนิยมมากกว่าสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านสังเกตได้จากการแวะซื้อเสบียงครั้งสุดท้ายของเราก่อนเข้าสู่เวียดนาม มีหญิงสาวชาวลาวเข้ามาสอบถามร้านค้าที่ตั้งอยู่ติดกัน2-3ร้านว่า "มีแฟ้บของไทยบ่" คนขายทั้ง 2-3 ร้านตอบเหมือนกันว่า ไม่มีของไทยขายดีหมดไวเหลือแต่ของเวียด ซึ่งเมื่อหญิงสาวชาวลาวได้รับคำตอบเช่นนั้น แทนที่เธอจะซื้อสินค้าชาติอื่น เธอกลับสั่งจองแล้วบอกจะมาเอาของไทยในวันหลัง เล่นเอาคนไทยที่ยืนฟังอยู่อดดีใจไม่ได้
จากเมืองขวาผ่านช่องเขาที่ทั้งแคบที่ชัน นั่งรถอาบฝุ่นกันมาเรื่อยๆ หวาดเสียวบ้าง เมื่อมีรถวิ่งสวนทางมาแต่ก็ปลอดภัย เพราะดูเหมือนคนที่นี่เขาขับรถบนเส้นทางแบบนี้กันจนชิน ในที่สุดพวกเราก็เขาสู่เขตชายแดนกันแล้ว ที่นี่ใช้เวลาค่อนข้างนานในการทำเอกสารต่างๆ
นอกจากคาราวานของพวกเรา ยังมีคนอื่นหลายกลุ่มที่รอข้ามแดนอยู่เช่นกัน มีทั้งรถบรรทุกที่ขนส่งสินค้าระหว่างสองประเทศ และแม่ค้าชาวลาวที่หอบของไปขายยังฝั่งเวียดนาม เมื่อจัดทำเรื่องเอกสารผ่านแดนทุกอย่างเรียบร้อย ทีนี้ก็เริ่มสตาร์ทเครื่องเดินหน้าเต็มเหนี่ยวเที่ยว "เดียนเบียนฟู"กันได้...(อ่านต่อตอนหน้า)
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
อุดมไชย หรือ เมืองไชย เป็นเมืองหลวงของแขวงอุดมไชย เป็นจุดเชื่อมการเดินทางไปยังเมืองใกล้ๆอย่าง แขวงพงสาลี หลวงพระบาง ไชยบุรี และหลวงน้ำทา ส่วนเมืองขวาเป็นเมองชายแดนของลาวติดต่อกับพรมแดนเวียดนาม :ลาว ใช้เงินกีบเป็นหลักในการซื้อขายโดย 1 บาท ประมาณ 250 กีบ แต่สามารถใช้เงินบาทได้
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
จากน่านสู่เดียนเบียนฟู เปิดประตูสู่อินโดจีน ตอนที่1: มนต์เมืองน่าน
จากน่านสู่เดียนเบียนฟู เปิดประตูสู่อินโดจีน ตอนที่2: สุขใจในหลวงพระบาง