กมธ. วิสามัญ พิจารณาร่าง พ.ร.บ. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิจารณาปรับลดเพดานสูงสุดการจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ลงอีก 40% ตามที่คลังเสนอ ระบุบทเฉพาะกาลกำหนดระยะเวลาการบรรเทาภาระภาษีส่วนที่เพิ่มให้แก่เจ้าของที่ดินไว้ใน 3 ปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย โดยปีแรกให้ทยอยจ่ายภาระภาษีภาระภาษีเก่าบวกด้วย 25% ของส่วนภาระภาษีที่เพิ่มขึ้น ส่วนปีที่ 2 และ 3 กำหนดให้จ่ายภาระภาษีเก่าบวกด้วย 50% และ 75% ตามลำดับ พร้อมกำหนดให้จ่ายภาษีส่วนที่เพิ่มเต็มทั้ง 100% เมื่อถึงปีที่ 4
นายชัยพร ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ... กล่าวในงานเสวนา “การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรับฟังความเห็นร่าง พ.ร.บ. ภาษีและสิ่งปลูกสร้าง” ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างฯ จากสภานิติบัญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้พิจารณาปรับลดเพดานอัตราภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างลง 40% จากอัตราที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อประชาชน
การปรับลดเพดานสูงสุดตามร่างกฎหมายดังกล่าวนั้น จะส่งผลให้อัตราการจัดเก็บจริงตามขั้นบันใดปรับลดตามไปด้วย เช่น ในกรณีบ้านที่อยู่อาศัยหลักแรกที่มีราคาไม่เกิน 20 ล้านบาท ขณะที่บ้าน และที่ดิน ซึ่งมีราคามากกว่า 20-50 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตรา 0.02% หรือล้านละ 200 บาท ส่วนบ้านที่มีราคาเกินกว่า 20 ล้านบาท กำหนดให้ใช้วิธีการคำนวณเฉพาะในส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาทขึ้นไป เช่น บ้าน และที่ดิน มีราคา 21 บาท กำหนดให้หักส่วนที่ได้รับการยกเว้นที่ 20 ล้านบาทแรกก่อนคำนวณภาษีจากมูลค่าในส่วนที่เหลือ
ขณะที่ในกรณีบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัย แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน โดยบุคคลนั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2019 เป็นต้นไป กำหนดให้ได้รับยกเว้นมูลค่าบ้าน และที่ดิน ที่ไม่เกิน 10 ล้านบาท ส่วนคนที่มีบ้านหลังที่ 2 ซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ 0-50 ล้านบาทนั้น กำหนดให้เสียภาษีตั้งแต่บาทแรกในอัตรา 0.02% เป็นต้น
สำหรับที่ดินเชิงพาณิชย์ และที่ดินที่ปล่อยรกร้างว่างเปล่า กำหนดให้เก็บภาษีตั้งแต่บาทแรกของมูลค่าที่ดินบวกราคาประเมินตัวบ้าน หรือเสียภาษีล้านละ 3 พันบาท อย่างไรก็ตาม กรณีที่ดินรกร้างว่างเปล่า และยังไม่มีการทำประโยชน์ตามสมควร กำหนดให้เพิ่มอัตราการจัดเก็บขึ้นอีก 0.3% ในทุกๆ 3 ปี ทั้งนี้ เพดานอัตราในการจัดเก็บสูงสุดต้องไม่เกิน 3%
สำหรับที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้นจะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ ในกรณีบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของที่ดินเพื่อการเกษตรที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับมูลค่าที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ตามราคาประเมินของกรมธนารักษ์ แต่หากมีราคามากกว่า 50-75 ล้านบาท กำหนดให้เสียภาษีในอัตรา 0.01% อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ดินเพื่อการเกษตรที่มีนิติบุคคลเป็นเจ้าของ จะไม่มีมูลค่าที่ดินที่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษี ดังนั้น จึงกำหนดให้เก็บภาษีที่ดินซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ 0-75 ล้านบาทในอัตรา 0.01%
ทั้งนี้ อัตราภาษีที่ใช้เก็บจริงดังกล่าวจะถูกกำหนดอยู่ในบัญชีแนบท้ายของ พ.ร.บ. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้จะใช้จัดเก็บในช่วง 2 ปีแรกของการเริ่มบังคับใช้กฎหมายใหม่ ซึ่งจะริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2562 แต่เมื่อขึ้นปีที่ 3 ของการบังคับใช้กฎหมายแล้ว การกำหนดอัตราภาษีที่ใช้จริงจะเป็นไปตามอำนาจของรัฐบาลที่จะพิจารณาตามความเห็นสมควรในการออกพระราชกฤษฎีกาต่อไป
สำหรับบทเฉพาะกาลเพื่อบรรเทาภาระภาษีจะกำหนดให้ดำเนินการใน 3 ปีแรกหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว โดยในกรณีของเข้าของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ที่มีภาระภาษีใหม่ ซึ่งสูงกว่าภาระภาษีตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือน และ พ.ร.บ. ภาษีที่ดิน ที่ใช้ในปัจจุบัน โดยกำหนดให้ทยอยจ่ายภาระภาษีส่งที่เพิ่มสำหรับปีแรก กำหนดให้จ่ายเท่ากับภาระภาษีเก่าบวกด้วย 25% ของส่วนภาระภาษีที่เพิ่มขึ้น, ปีที่ 2 กำหนดให้จ่ายภาระภาษีเก่าบวกด้วย 50% ของภาระภาษีส่วนที่เพิ่ม, และปีที่ 3 กำหนดให้จ่ายภาระภาษีเก่าบวกด้วย 75% ของภาระภาษีส่วนที่เพิ่มขึ้นมา อย่างไรก็ตาม กำหนดให้จ่ายภาระภาษีส่วนที่เพิ่มเต็มทั้ง 100% เมื่อถึงปีที่ 4 แล้ว
นอกจากนี้ ยังกำหนดประเภททรัพย์สินที่ได้รับการบรรเทาภาระภาษีตามพระราชบัญญัตินี้ เช่น บ้านอยู่อาศัยที่ได้รับมาทางมรดกก่อนที่กฎหมายนี้ จะมีผลบังคับใช้, ทรัพย์สินของสถานศึกษาเอกชน, ที่ดินที่กฎหมายห้ามทำประโยชน์บางอย่าง, ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ที่ใช้เป็นสถานที่เล่นกีฬา และสันทนาการ ที่มีกฎหมายกำหนด และที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง ที่ใช้เป็นที่จอดรถสาธารณะ เป็นต้น เช่น บ้านพักอาศัยที่ได้มาโดยมรดกก่อนมีกฎหมายนี้ หรือกิจการสาธารณะ เช่น โรงเรียนโดยรัฐบาลจะลดภาระภาษีให้ไม่เกิน 90%
ส่วนการจัดเก็บภาษีขององค์กรส่วนท้องถิ่นสามารถกำหนดอัตราจัดเก็บได้สูงกว่าอัตราที่ใช้จริงตามที่รัฐบาลกำหนดก็ได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าเพดานจัดเก็บสูงสุดที่กำหนด อีกทั้งองค์กรส่วนท้องถิ่น ยกเว้นกรุงเทพมหานคร (กทม.) ต้องเสนอร่างบัญญัติท้องถิ่น เพื่อให้คณะกรรมการถาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำจังหวัดเห็นชอบเสียก่อน ทั้งนี้ ยกเว้น กทม. ไม่ต้องเสนอให้คณะกรรมการประจำจังหวัดเห็นชอบเสียก่อน
ส่วนทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษีตามกฎหมายนี้ ได้แก่ ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, พิพิธภัณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด,ที่ดิน ที่กฎหมายห้ามไม่ให้ทำประโยชน์ เช่น ที่ดินที่กำหนดให้เป็นแนวกันชน ตามกำหมายว่าด้วยสิ่งแวดล้อม หรือกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ, สิ่งปลูกสร้างที่ใช้ต่อเนื่องกับอาคาร ดังนี้ ถนนคอนกรีต รั้ว บ่อบำบัดนำเสีย และสิ่งปลูกสร้างของรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานทางคมนาคม เช่น ทางด่วน, มอเตอร์เวย์, ทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน, ทางรถไฟฟ้าใต้ดิน, ทางรถไฟ, และรันเวย์สนามบิน เป็นต้น
นายชัยพร ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ... กล่าวในงานเสวนา “การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรับฟังความเห็นร่าง พ.ร.บ. ภาษีและสิ่งปลูกสร้าง” ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างฯ จากสภานิติบัญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้พิจารณาปรับลดเพดานอัตราภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างลง 40% จากอัตราที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อประชาชน
การปรับลดเพดานสูงสุดตามร่างกฎหมายดังกล่าวนั้น จะส่งผลให้อัตราการจัดเก็บจริงตามขั้นบันใดปรับลดตามไปด้วย เช่น ในกรณีบ้านที่อยู่อาศัยหลักแรกที่มีราคาไม่เกิน 20 ล้านบาท ขณะที่บ้าน และที่ดิน ซึ่งมีราคามากกว่า 20-50 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตรา 0.02% หรือล้านละ 200 บาท ส่วนบ้านที่มีราคาเกินกว่า 20 ล้านบาท กำหนดให้ใช้วิธีการคำนวณเฉพาะในส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาทขึ้นไป เช่น บ้าน และที่ดิน มีราคา 21 บาท กำหนดให้หักส่วนที่ได้รับการยกเว้นที่ 20 ล้านบาทแรกก่อนคำนวณภาษีจากมูลค่าในส่วนที่เหลือ
ขณะที่ในกรณีบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัย แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน โดยบุคคลนั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2019 เป็นต้นไป กำหนดให้ได้รับยกเว้นมูลค่าบ้าน และที่ดิน ที่ไม่เกิน 10 ล้านบาท ส่วนคนที่มีบ้านหลังที่ 2 ซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ 0-50 ล้านบาทนั้น กำหนดให้เสียภาษีตั้งแต่บาทแรกในอัตรา 0.02% เป็นต้น
สำหรับที่ดินเชิงพาณิชย์ และที่ดินที่ปล่อยรกร้างว่างเปล่า กำหนดให้เก็บภาษีตั้งแต่บาทแรกของมูลค่าที่ดินบวกราคาประเมินตัวบ้าน หรือเสียภาษีล้านละ 3 พันบาท อย่างไรก็ตาม กรณีที่ดินรกร้างว่างเปล่า และยังไม่มีการทำประโยชน์ตามสมควร กำหนดให้เพิ่มอัตราการจัดเก็บขึ้นอีก 0.3% ในทุกๆ 3 ปี ทั้งนี้ เพดานอัตราในการจัดเก็บสูงสุดต้องไม่เกิน 3%
สำหรับที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้นจะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ ในกรณีบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของที่ดินเพื่อการเกษตรที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับมูลค่าที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ตามราคาประเมินของกรมธนารักษ์ แต่หากมีราคามากกว่า 50-75 ล้านบาท กำหนดให้เสียภาษีในอัตรา 0.01% อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ดินเพื่อการเกษตรที่มีนิติบุคคลเป็นเจ้าของ จะไม่มีมูลค่าที่ดินที่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษี ดังนั้น จึงกำหนดให้เก็บภาษีที่ดินซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ 0-75 ล้านบาทในอัตรา 0.01%
ทั้งนี้ อัตราภาษีที่ใช้เก็บจริงดังกล่าวจะถูกกำหนดอยู่ในบัญชีแนบท้ายของ พ.ร.บ. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้จะใช้จัดเก็บในช่วง 2 ปีแรกของการเริ่มบังคับใช้กฎหมายใหม่ ซึ่งจะริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2562 แต่เมื่อขึ้นปีที่ 3 ของการบังคับใช้กฎหมายแล้ว การกำหนดอัตราภาษีที่ใช้จริงจะเป็นไปตามอำนาจของรัฐบาลที่จะพิจารณาตามความเห็นสมควรในการออกพระราชกฤษฎีกาต่อไป
สำหรับบทเฉพาะกาลเพื่อบรรเทาภาระภาษีจะกำหนดให้ดำเนินการใน 3 ปีแรกหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว โดยในกรณีของเข้าของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ที่มีภาระภาษีใหม่ ซึ่งสูงกว่าภาระภาษีตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือน และ พ.ร.บ. ภาษีที่ดิน ที่ใช้ในปัจจุบัน โดยกำหนดให้ทยอยจ่ายภาระภาษีส่งที่เพิ่มสำหรับปีแรก กำหนดให้จ่ายเท่ากับภาระภาษีเก่าบวกด้วย 25% ของส่วนภาระภาษีที่เพิ่มขึ้น, ปีที่ 2 กำหนดให้จ่ายภาระภาษีเก่าบวกด้วย 50% ของภาระภาษีส่วนที่เพิ่ม, และปีที่ 3 กำหนดให้จ่ายภาระภาษีเก่าบวกด้วย 75% ของภาระภาษีส่วนที่เพิ่มขึ้นมา อย่างไรก็ตาม กำหนดให้จ่ายภาระภาษีส่วนที่เพิ่มเต็มทั้ง 100% เมื่อถึงปีที่ 4 แล้ว
นอกจากนี้ ยังกำหนดประเภททรัพย์สินที่ได้รับการบรรเทาภาระภาษีตามพระราชบัญญัตินี้ เช่น บ้านอยู่อาศัยที่ได้รับมาทางมรดกก่อนที่กฎหมายนี้ จะมีผลบังคับใช้, ทรัพย์สินของสถานศึกษาเอกชน, ที่ดินที่กฎหมายห้ามทำประโยชน์บางอย่าง, ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ที่ใช้เป็นสถานที่เล่นกีฬา และสันทนาการ ที่มีกฎหมายกำหนด และที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง ที่ใช้เป็นที่จอดรถสาธารณะ เป็นต้น เช่น บ้านพักอาศัยที่ได้มาโดยมรดกก่อนมีกฎหมายนี้ หรือกิจการสาธารณะ เช่น โรงเรียนโดยรัฐบาลจะลดภาระภาษีให้ไม่เกิน 90%
ส่วนการจัดเก็บภาษีขององค์กรส่วนท้องถิ่นสามารถกำหนดอัตราจัดเก็บได้สูงกว่าอัตราที่ใช้จริงตามที่รัฐบาลกำหนดก็ได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าเพดานจัดเก็บสูงสุดที่กำหนด อีกทั้งองค์กรส่วนท้องถิ่น ยกเว้นกรุงเทพมหานคร (กทม.) ต้องเสนอร่างบัญญัติท้องถิ่น เพื่อให้คณะกรรมการถาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำจังหวัดเห็นชอบเสียก่อน ทั้งนี้ ยกเว้น กทม. ไม่ต้องเสนอให้คณะกรรมการประจำจังหวัดเห็นชอบเสียก่อน
ส่วนทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษีตามกฎหมายนี้ ได้แก่ ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, พิพิธภัณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด,ที่ดิน ที่กฎหมายห้ามไม่ให้ทำประโยชน์ เช่น ที่ดินที่กำหนดให้เป็นแนวกันชน ตามกำหมายว่าด้วยสิ่งแวดล้อม หรือกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ, สิ่งปลูกสร้างที่ใช้ต่อเนื่องกับอาคาร ดังนี้ ถนนคอนกรีต รั้ว บ่อบำบัดนำเสีย และสิ่งปลูกสร้างของรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานทางคมนาคม เช่น ทางด่วน, มอเตอร์เวย์, ทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน, ทางรถไฟฟ้าใต้ดิน, ทางรถไฟ, และรันเวย์สนามบิน เป็นต้น