วันนี้ (31 พ.ค.) ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จัดสัมมนาการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใต้กรอบพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เรื่อง “พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์” ที่โรงแรมพูลแมน แกรนด์สุขุมวิท โดยนายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า การใช้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ฉบับใหม่ จะทำให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินตรงกับมูลค่าที่ดินในปัจจุบันและการจัดสรรที่ดินให้เหมาะกับสภาพการใช้งาน เนื่องจากการถือครองที่ดินยังกระจุกตัวอยู่ในคนกลุ่มน้อย โดยอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แบ่งเป็น 1.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในเกษตรกรรม คิดอัตราภาษี 0.2% ของราคาประเมิน 2.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย คิดอัตราภาษี 0.5% 3.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นพาณิชยกรรม คิดอัตราภาษี 2% และ 4.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ คิดอัตราภาษีไม่เกิน 2% และจะเพิ่มอัตราภาษี 0.5% ทุก 3 ปี แต่อัตราภาษีรวมไม่เกิน 5% โดยทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะมีอำนาจจัดเก็บภาษี ซึ่งจะต้องรอพระราชกฤษฎีกาและข้อสรุปการกำหนดอัตราภาษีอีกครั้ง
สำหรับประเด็นที่คณะกรรมาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะทบทวนข้อสังเกตเพิ่มเติม ในเรื่องข้อยกเว้นราคาบ้านพักอาศัยหลังแรกไม่เกิน 50 ล้านบาท ปรับลดมาเป็น 20 ล้านบาทนั้น ความคืบหน้าในขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม โดยจะต้องมีการเปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีและการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมว่าบ้านพักอาศัยในระดับราคาต่างๆ เมื่อแบ่งออกมาแล้วมีกี่ยูนิต ทั้งนี้ ตามข้อมูลที่รวบรวมได้ในขณะนี้พบว่า บ้านราคาเกิน 50 ล้านบาท ทั่วประเทศมีประมาณ 11,000 ยูนิต และบ้านราคาต่ำกว่า 5 ล้านบาท ทั่วประเทศมีสัดส่วนประมาณ 96.5%
นายพรชัย กล่าวอีกว่า ช่วงที่ผ่านมา กระทรวงการคลังสามารถเก็บภาษีบำรุงโรงเรือนและที่ดินได้ปีละประมาณ 27,000 ล้านบาท ภาษีบำรุงท้องที่ปีละประมาณ 980 ล้านบาท รวมเป็นปีละ 28,000 ล้านบาท ซึ่งการจัดทำ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ในครั้งนี้ คาดว่า จะสามารถจัดเก็บภาษีมากขึ้นในหลักหมื่นล้านบาท โดยเฉพาะในส่วนการจัดเก็บภาษีพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ในปัจจุบันร่างกฎหมายอยู่ระหว่างการพิจารณาของ สนช. คาดว่า จะพิจารณาครบทุกวาระภายในปีนี้ และกฎหมายเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 เป็นต้นไป
สำหรับประเด็นที่คณะกรรมาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะทบทวนข้อสังเกตเพิ่มเติม ในเรื่องข้อยกเว้นราคาบ้านพักอาศัยหลังแรกไม่เกิน 50 ล้านบาท ปรับลดมาเป็น 20 ล้านบาทนั้น ความคืบหน้าในขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม โดยจะต้องมีการเปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีและการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมว่าบ้านพักอาศัยในระดับราคาต่างๆ เมื่อแบ่งออกมาแล้วมีกี่ยูนิต ทั้งนี้ ตามข้อมูลที่รวบรวมได้ในขณะนี้พบว่า บ้านราคาเกิน 50 ล้านบาท ทั่วประเทศมีประมาณ 11,000 ยูนิต และบ้านราคาต่ำกว่า 5 ล้านบาท ทั่วประเทศมีสัดส่วนประมาณ 96.5%
นายพรชัย กล่าวอีกว่า ช่วงที่ผ่านมา กระทรวงการคลังสามารถเก็บภาษีบำรุงโรงเรือนและที่ดินได้ปีละประมาณ 27,000 ล้านบาท ภาษีบำรุงท้องที่ปีละประมาณ 980 ล้านบาท รวมเป็นปีละ 28,000 ล้านบาท ซึ่งการจัดทำ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ในครั้งนี้ คาดว่า จะสามารถจัดเก็บภาษีมากขึ้นในหลักหมื่นล้านบาท โดยเฉพาะในส่วนการจัดเก็บภาษีพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ในปัจจุบันร่างกฎหมายอยู่ระหว่างการพิจารณาของ สนช. คาดว่า จะพิจารณาครบทุกวาระภายในปีนี้ และกฎหมายเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 เป็นต้นไป