ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน โดยต้องจับตาสถานการณ์การเมืองไทย รวมถึงผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ คืนวันที่ 18-19 มี.ค.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปภาพรวมความเคลื่อนไหวค่าเงินบาทตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา (10-14 มี.ค.) เคลื่อนไหวผันผวนตลอดสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าช่วงต้น-กลางสัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับทิศทางชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับลดวงเงินซื้อสินทรัพย์อีกครั้งในการประชุม FOMC เดือน มี.ค. อย่างไรก็ดี เงินบาทฟื้นตัวขึ้นในช่วงต่อมาตามทิศทางของตลาดเอเชีย ประกอบกับมีแรงขายเงินดอลลาร์ฯ จากตลาดในประเทศ หลังราคาทองคำในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น แต่กระนั้นกระแสการหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยง หลังสถานการณ์ในยูเครนตึงเครียดมากขึ้น ก็กดดันให้เงินบาท และสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชียอ่อนค่าลง
โดยวันศุกร์ที่14 มี.ค. เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 32.30 เทียบกับระดับ 32.26 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (7 มี.ค.)
พร้อมกันนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ความเคลื่อนไหวค่าเงินบาทในสัปดาห์หน้า (17-21 มี.ค.) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 32.20-32.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยต้องจับตาสถานการณ์การเมืองไทย รวมถึงผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (18-19 มี.ค.) ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์ก ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียเดือน มี.ค. ยอดขายบ้านมือสอง ดัชนีราคาผู้บริโภค ข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน การอนุญาตก่อสร้าง ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือน ก.พ. ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิเดือน ม.ค. ดุลบัญชีเดินสะพัดไตรมาส 4/2556 และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ ตลาดอาจจับตาความตึงเครียดระหว่างชาติตะวันตก และรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการลงประชามติในแคว้นไครเมีย ในวันอาทิตย์ที่ 16 มี.ค.นี้
ส่วนปัจจัยในประเทศ ธนาคารพาณิชย์จะมีการตัดจ่ายเงินภาษีมูลค่าเพิ่มรายเดือนผ่านระบบธนาคารในช่วงต้นสัปดาห์ และจะมีการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคาร และเข้าสู่ปักษ์ใหม่ในวันพุธ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินน่าจะยังทรงตัวต่อเนื่องใกล้ระดับ 2.00%
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ประเภทอายุ 5 ปี ปิดที่ระดับ 3.19% ในวันศุกร์ ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับ 3.21% ในสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ จากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ ก่อนที่จะปรับลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง.
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ประเภทอายุ 10 ปี ปิดที่ระดับ 2.64% ในวันพฤหัสบดีลดลงเมื่อเทียบกับระดับ 2.79% ในสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับลดลงต่อเนื่องในสัปดาห์นี้ โดยมีแรงซื้ออย่างต่อเนื่องจากนักลงทุน ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และการชะลอตัวเศรษฐกิจจีน หลังข้อมูลเศรษฐกิจออกมาอ่อนแออย่างต่อเนื่อง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปภาพรวมความเคลื่อนไหวค่าเงินบาทตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา (10-14 มี.ค.) เคลื่อนไหวผันผวนตลอดสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าช่วงต้น-กลางสัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับทิศทางชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับลดวงเงินซื้อสินทรัพย์อีกครั้งในการประชุม FOMC เดือน มี.ค. อย่างไรก็ดี เงินบาทฟื้นตัวขึ้นในช่วงต่อมาตามทิศทางของตลาดเอเชีย ประกอบกับมีแรงขายเงินดอลลาร์ฯ จากตลาดในประเทศ หลังราคาทองคำในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น แต่กระนั้นกระแสการหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยง หลังสถานการณ์ในยูเครนตึงเครียดมากขึ้น ก็กดดันให้เงินบาท และสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชียอ่อนค่าลง
โดยวันศุกร์ที่14 มี.ค. เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 32.30 เทียบกับระดับ 32.26 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (7 มี.ค.)
พร้อมกันนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ความเคลื่อนไหวค่าเงินบาทในสัปดาห์หน้า (17-21 มี.ค.) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 32.20-32.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยต้องจับตาสถานการณ์การเมืองไทย รวมถึงผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (18-19 มี.ค.) ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์ก ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียเดือน มี.ค. ยอดขายบ้านมือสอง ดัชนีราคาผู้บริโภค ข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน การอนุญาตก่อสร้าง ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือน ก.พ. ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิเดือน ม.ค. ดุลบัญชีเดินสะพัดไตรมาส 4/2556 และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ ตลาดอาจจับตาความตึงเครียดระหว่างชาติตะวันตก และรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการลงประชามติในแคว้นไครเมีย ในวันอาทิตย์ที่ 16 มี.ค.นี้
ส่วนปัจจัยในประเทศ ธนาคารพาณิชย์จะมีการตัดจ่ายเงินภาษีมูลค่าเพิ่มรายเดือนผ่านระบบธนาคารในช่วงต้นสัปดาห์ และจะมีการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคาร และเข้าสู่ปักษ์ใหม่ในวันพุธ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินน่าจะยังทรงตัวต่อเนื่องใกล้ระดับ 2.00%
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ประเภทอายุ 5 ปี ปิดที่ระดับ 3.19% ในวันศุกร์ ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับ 3.21% ในสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ จากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ ก่อนที่จะปรับลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง.
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ประเภทอายุ 10 ปี ปิดที่ระดับ 2.64% ในวันพฤหัสบดีลดลงเมื่อเทียบกับระดับ 2.79% ในสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับลดลงต่อเนื่องในสัปดาห์นี้ โดยมีแรงซื้ออย่างต่อเนื่องจากนักลงทุน ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และการชะลอตัวเศรษฐกิจจีน หลังข้อมูลเศรษฐกิจออกมาอ่อนแออย่างต่อเนื่อง