TMB Analytics มองจีดีพีไตรมาส 3 อาจขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 3 หลังเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจรายเดือนยังคงอ่อนแอ ยันเศรษฐกิจไทยปีนี้โตไม่สวยหรู
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบีประเมินว่า จีดีพีในไตรมาส 3 น่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า จากภาคส่งออกที่ชะลอตัวลงมาก โดยกระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับลดเป้าการส่งออกของไทยเหลือเพียงร้อยละ 1 จากเดิมที่ร้อยละ 7 ขณะที่กำลังซื้อภายในประเทศยังมีสัญญาณอ่อนแอลงค่อนข้างมาก แต่ก็อาจมีปัจจัยเซอร์ไพรส์ตลาด คือ ส่วนเปลี่ยนแปลงสินค้าคงคลังที่อาจทำให้การเติบโตของจีดีพีคลาดเคลื่อนไปจากคาดการณ์เล็กน้อย ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสต๊อกข้าว และทองคำ ทำให้ยังคงมุมมองที่ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ร้อยละ 3.1 ในปีนี้
ส่วนโอกาสที่จะได้เห็นตัวเลขทั้งปีที่ระดับร้อยละ 3.5-4.0 ตามที่หลายหน่วยงานคาดหวัง ก็ดูเหมือนจะริบหรี่ลง จากภาวะการบริโภค และลงทุนภายในประเทศของทั้งรัฐ และเอกชนที่น่าจะชะลอตัวยาวไปถึงปีหน้า แต่น่าจะกลับมาเห็นสัญญาณบวกชัดเจนในช่วงกลางปี 2557
ในช่วงที่เหลือของปี ความหวังจึงอยู่ที่ภาคส่งออกของไทย ซึ่งถ้าหากขยายตัวได้เกินคาดในช่วงไตรมาส 4 ก็จะทำให้ตัวเลขจีดีพีออกมาสวยกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ นั่นหมายความว่า การส่งออกสินค้าต้องมีอัตราการขยายตัวทั้งปีอย่างน้อยร้อยละ 2 ซึ่งเป็นขอบบนประมาณการของเรา (ที่ร้อยละ 1.4 ถึง 2.0) และเป็น 2 เท่าของเป้าหมายล่าสุดของกระทรวงพาณิชย์ ที่ร้อยละ 1 ซึ่งรายงานสถิติการค้าระหว่างประเทศเดือนล่าสุดก็ยังคงบ่งชี้ว่า การส่งออกหมวดสำคัญๆ เช่น ยานพาหนะก็ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ล้วนหดตัวทั้งสิ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
และเมื่อพึ่งการส่งออกสินค้าไม่ได้ ก็ต้องอาศัยการส่งออกบริการ ซึ่งหมายถึงภาคท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ ให้มีอัตราการขยายตัวสูงเกินร้อยละ 22.6 ซึ่งสูงมาก เพราะขนาดปี 2555 ที่ท่องเที่ยวไทยขยายตัวอย่างมาก การส่งออกบริการก็ยังขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 20 ในขณะที่ตัวเลขในช่วงครึ่งปีแรกของ 2556 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น
ส่วนสถานการณ์ที่เศรษฐกิจในประเทศกลุ่มใหญ่ๆ เช่น สหรัฐฯ และยุโรป ยังมีทีท่าไม่ได้ดีนัก กอปรกับปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยเองที่ส่งผลกระทบ โดยเฉพาะต่อความเชื่อมั่นในกิจการค้าขาย และการท่องเที่ยว การส่งออกสินค้าและบริการจึงไม่ใช่หัวจักรที่จะนำการขยายตัวของไทยในปลายปีนี้ ดังนั้น เราจึงมองว่าตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 3 ที่สภาพัฒน์จะรายงาน น่าจะฟุบมากกว่าฟื้น และอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจสำคัญที่นักลงทุนต้องจับตาดูเป็นพิเศษ โดยเฉพาะสำหรับเซียนหุ้นทั้งหลาย ที่ตลาดอ่อนไหวกับข่าว และสามารถผันผวนขึ้นลงในอดีตได้ถึงวันละ 20-30 จุดเลยทีเดียว
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบีประเมินว่า จีดีพีในไตรมาส 3 น่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า จากภาคส่งออกที่ชะลอตัวลงมาก โดยกระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับลดเป้าการส่งออกของไทยเหลือเพียงร้อยละ 1 จากเดิมที่ร้อยละ 7 ขณะที่กำลังซื้อภายในประเทศยังมีสัญญาณอ่อนแอลงค่อนข้างมาก แต่ก็อาจมีปัจจัยเซอร์ไพรส์ตลาด คือ ส่วนเปลี่ยนแปลงสินค้าคงคลังที่อาจทำให้การเติบโตของจีดีพีคลาดเคลื่อนไปจากคาดการณ์เล็กน้อย ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสต๊อกข้าว และทองคำ ทำให้ยังคงมุมมองที่ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ร้อยละ 3.1 ในปีนี้
ส่วนโอกาสที่จะได้เห็นตัวเลขทั้งปีที่ระดับร้อยละ 3.5-4.0 ตามที่หลายหน่วยงานคาดหวัง ก็ดูเหมือนจะริบหรี่ลง จากภาวะการบริโภค และลงทุนภายในประเทศของทั้งรัฐ และเอกชนที่น่าจะชะลอตัวยาวไปถึงปีหน้า แต่น่าจะกลับมาเห็นสัญญาณบวกชัดเจนในช่วงกลางปี 2557
ในช่วงที่เหลือของปี ความหวังจึงอยู่ที่ภาคส่งออกของไทย ซึ่งถ้าหากขยายตัวได้เกินคาดในช่วงไตรมาส 4 ก็จะทำให้ตัวเลขจีดีพีออกมาสวยกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ นั่นหมายความว่า การส่งออกสินค้าต้องมีอัตราการขยายตัวทั้งปีอย่างน้อยร้อยละ 2 ซึ่งเป็นขอบบนประมาณการของเรา (ที่ร้อยละ 1.4 ถึง 2.0) และเป็น 2 เท่าของเป้าหมายล่าสุดของกระทรวงพาณิชย์ ที่ร้อยละ 1 ซึ่งรายงานสถิติการค้าระหว่างประเทศเดือนล่าสุดก็ยังคงบ่งชี้ว่า การส่งออกหมวดสำคัญๆ เช่น ยานพาหนะก็ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ล้วนหดตัวทั้งสิ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
และเมื่อพึ่งการส่งออกสินค้าไม่ได้ ก็ต้องอาศัยการส่งออกบริการ ซึ่งหมายถึงภาคท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ ให้มีอัตราการขยายตัวสูงเกินร้อยละ 22.6 ซึ่งสูงมาก เพราะขนาดปี 2555 ที่ท่องเที่ยวไทยขยายตัวอย่างมาก การส่งออกบริการก็ยังขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 20 ในขณะที่ตัวเลขในช่วงครึ่งปีแรกของ 2556 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น
ส่วนสถานการณ์ที่เศรษฐกิจในประเทศกลุ่มใหญ่ๆ เช่น สหรัฐฯ และยุโรป ยังมีทีท่าไม่ได้ดีนัก กอปรกับปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยเองที่ส่งผลกระทบ โดยเฉพาะต่อความเชื่อมั่นในกิจการค้าขาย และการท่องเที่ยว การส่งออกสินค้าและบริการจึงไม่ใช่หัวจักรที่จะนำการขยายตัวของไทยในปลายปีนี้ ดังนั้น เราจึงมองว่าตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 3 ที่สภาพัฒน์จะรายงาน น่าจะฟุบมากกว่าฟื้น และอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจสำคัญที่นักลงทุนต้องจับตาดูเป็นพิเศษ โดยเฉพาะสำหรับเซียนหุ้นทั้งหลาย ที่ตลาดอ่อนไหวกับข่าว และสามารถผันผวนขึ้นลงในอดีตได้ถึงวันละ 20-30 จุดเลยทีเดียว