ASTVผู้จัดการรายวัน - มิติใหม่ทันเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน บอร์ด กนง.ประชุมล่วงหน้า 1 วัน ถกเสร็จรูดซิปปากให้รอผลวันนี้ ศูนย์วิจัย TMB คาด กนง.คงดอกเบี้ยที่ระดับ 2.50% แม้ว่าเศรษฐกิจไทยเผชิญความเสี่ยง ส่วนครั้งหน้าขึ้นอยู่กับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสสองและหนี้สินภาคครัว เรือน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00. วันที่ 9 ก.ค. คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้จัดประชุมล่วงหน้า 1 วัน โดยการประชุมดังกล่าวใช้เวลา 2 ชั่วโมง มีการหารือภาวะระบบการเงิน เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจต่างประเทศ พร้อมประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยคณะกรรมการเข้าร่วมครบทั้ง 7 คน หากนับรูปแบบดังกล่าวถือเป็นครั้งที่ 2 ที่การประชุมบอร์ด กนง.มีการประชุม กนง.ถึง 2 วัน แตกต่างจากในอดีต
แหล่งข่าวจากธนาคารแห่งประทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การจัดประชุมบอร์ด กนง.เมื่อวานนี้ ไม่ได้เป็นการประชุมเร่งด่วนหรือวาระพิเศษตามที่หลายฝ่ายเข้าใจ ถือเป็นการประชุมบอร์ด กนง.ตามปกติ และวันนี้ (10 ก.ค.) ก็จะมีการประชุมตามที่กำหนดอีกครั้ง
"สาเหตุที่ต้องประชุม 2 วัน เนื่องจากมีวาระให้พิจาณาค่อนข้างมากที่สำคัญเพื่อให้ กนง.ได้รับข้อมูลครบถ้วนรอบด้าน ตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงค่อนข้างซับซ้อนและรวดเร็วในปัจจุบัน"
TMB คาด กนง. คงดอกเบี้ย
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics คาด กนง.จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ในการประชุมวันพุธนี้ แม้ว่าหลายฝ่ายจะปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปี
"กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ไว้ และจะยังคงจับตามองเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสสอง และหนี้สินภาคครัว เรือน ขณะที่แรงกดดันในเรื่องของค่าเงินบาทและอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง หากเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าคาดและผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจไทยก่อตัวชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ กระสุนดอกเบี้ยที่ยังคงมีอยู่ก็พร้อมที่จะเป็น ตัวกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี" ศูนย์วิเคราะห์ฯ ระบุ
ปัจจุบันนักวิเคราะห์หลายสำนักมองว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวน้อยลงจากที่คาดไว้ต้นปี เป็นผลจากปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกประเทศ นับตั้งแต่ตัวเลขการเติบโตในไตรมาสแรกขยายตัวที่ร้อยละ 5.3 ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ กนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนพฤษภาคม
การฟื้นตัวอย่างเปราะบางของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการหดตัวของเศรษฐกิจยุโรปและการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนที่ต่ำกว่าคาด เป็นปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจจีนที่มีปัญหาทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสแรกที่ร้อยละ 7.7 ต่ำกว่าตลาดคาด และการส่งออกที่ขยายตัวชะลอลงในเดือนพฤษภาคมเพียงร้อยละ 0.9 อาจส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานของกิจกรรมการผลิตในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงภาคการส่งออกของไทยด้วยที่ในปีนี้อาจขยายตัวได้เพียงเล็กน้อย แม้ว่าจะเห็นการฟื้นตัวในส่วนของเศรษฐกิจสหรัฐฯและเศรษฐกิจญี่ปุ่น แต่ยังคงเป็นการฟื้นตัวที่เปราะบาง รวมถึงการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะปรับลดวงเงินนโยบายQE ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปีนี้ ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจสหรัฐฯเป็นสำคัญ อาจมีความเสี่ยงต่อตลาดเงินของไทยในอนาคต
สำหรับปัจจัยเสี่ยงภายใน การจับจ่ายใช้สอยของภาคเอกชนนั้นคาดว่าจะอ่อนตัว เป็นผลจากรายได้เกษตรกรที่ลดลงตามราคาสินค้าเกษตร และหลังจากการส่งมอบรถในนโยบายรถคันแรกสิ้นสุดลง ทำให้การบริโภคภาคเอกชนลดลง ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ มีความเป็นไปได้ที่จะเบิกจ่ายเบิกจ่ายไม่ทันในปีนี้ เนื่องจากยังต้องดำเนินการอีกหลายขั้นตอน โดยเฉพาะหากติดประเด็นการขัดรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ปัจจัยที่กล่าวข้างต้น จะเป็นความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยที่ กนง.จะนำใช้ในพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโนบายในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจจะมีสัญญาณแผ่วที่ชัดเจน แต่ก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นรับรู้ผลกระทบจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้น โดยกนง.น่าจะรอดูเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน โดยเฉพาะด้านการส่งออก รวมถึงตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ที่จะประกาศอย่างเป็นทางการในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ว่าเป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดหรือไม่ และกนง.ได้ลดดอกเบี้ยนโยบายไปเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมแล้ว น่าจะรอดูผลก่อนว่านโยบายที่ได้ใช้ไปนั้น มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน
อีกทั้ง เงินบาทที่อ่อนค่าลงมา ทำให้แรงกดดันในการลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อชะลอเงินทุนไหลเข้าลดลง โดยในเดือนมิถุนายนค่าเงินบาทโดยเฉลี่ยเท่ากับ 30.8 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากที่แข็งค่าในเดือนเมษายนเฉลี่ยที่ 29.1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งค่าเงินบาทในปัจจุบันถือว่าเป็นระดับที่ผู้ส่งออกยอมรับได้ รวมทั้งสินเชื่อและหนี้ภาคครัวเรือนที่ขยายตัวในระดับสูง อาจส่งผลลบต่อการบริโภคในระยะต่อไป การตรึงดอกเบี้ยนโยบายจึงเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากหนี้ภาคครัวเรือนในอนาคตได้
นอกจากนี้ หากพิจารณาอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายนชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ทำให้ช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำ โดยคาดว่าในช่วงที่เหลือของปีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง และอยู่ในกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายของ กนง. ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนหากต้องลดดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00. วันที่ 9 ก.ค. คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้จัดประชุมล่วงหน้า 1 วัน โดยการประชุมดังกล่าวใช้เวลา 2 ชั่วโมง มีการหารือภาวะระบบการเงิน เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจต่างประเทศ พร้อมประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยคณะกรรมการเข้าร่วมครบทั้ง 7 คน หากนับรูปแบบดังกล่าวถือเป็นครั้งที่ 2 ที่การประชุมบอร์ด กนง.มีการประชุม กนง.ถึง 2 วัน แตกต่างจากในอดีต
แหล่งข่าวจากธนาคารแห่งประทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การจัดประชุมบอร์ด กนง.เมื่อวานนี้ ไม่ได้เป็นการประชุมเร่งด่วนหรือวาระพิเศษตามที่หลายฝ่ายเข้าใจ ถือเป็นการประชุมบอร์ด กนง.ตามปกติ และวันนี้ (10 ก.ค.) ก็จะมีการประชุมตามที่กำหนดอีกครั้ง
"สาเหตุที่ต้องประชุม 2 วัน เนื่องจากมีวาระให้พิจาณาค่อนข้างมากที่สำคัญเพื่อให้ กนง.ได้รับข้อมูลครบถ้วนรอบด้าน ตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงค่อนข้างซับซ้อนและรวดเร็วในปัจจุบัน"
TMB คาด กนง. คงดอกเบี้ย
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics คาด กนง.จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ในการประชุมวันพุธนี้ แม้ว่าหลายฝ่ายจะปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปี
"กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ไว้ และจะยังคงจับตามองเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสสอง และหนี้สินภาคครัว เรือน ขณะที่แรงกดดันในเรื่องของค่าเงินบาทและอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง หากเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าคาดและผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจไทยก่อตัวชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ กระสุนดอกเบี้ยที่ยังคงมีอยู่ก็พร้อมที่จะเป็น ตัวกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี" ศูนย์วิเคราะห์ฯ ระบุ
ปัจจุบันนักวิเคราะห์หลายสำนักมองว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวน้อยลงจากที่คาดไว้ต้นปี เป็นผลจากปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกประเทศ นับตั้งแต่ตัวเลขการเติบโตในไตรมาสแรกขยายตัวที่ร้อยละ 5.3 ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ กนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนพฤษภาคม
การฟื้นตัวอย่างเปราะบางของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการหดตัวของเศรษฐกิจยุโรปและการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนที่ต่ำกว่าคาด เป็นปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจจีนที่มีปัญหาทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสแรกที่ร้อยละ 7.7 ต่ำกว่าตลาดคาด และการส่งออกที่ขยายตัวชะลอลงในเดือนพฤษภาคมเพียงร้อยละ 0.9 อาจส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานของกิจกรรมการผลิตในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงภาคการส่งออกของไทยด้วยที่ในปีนี้อาจขยายตัวได้เพียงเล็กน้อย แม้ว่าจะเห็นการฟื้นตัวในส่วนของเศรษฐกิจสหรัฐฯและเศรษฐกิจญี่ปุ่น แต่ยังคงเป็นการฟื้นตัวที่เปราะบาง รวมถึงการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะปรับลดวงเงินนโยบายQE ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปีนี้ ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจสหรัฐฯเป็นสำคัญ อาจมีความเสี่ยงต่อตลาดเงินของไทยในอนาคต
สำหรับปัจจัยเสี่ยงภายใน การจับจ่ายใช้สอยของภาคเอกชนนั้นคาดว่าจะอ่อนตัว เป็นผลจากรายได้เกษตรกรที่ลดลงตามราคาสินค้าเกษตร และหลังจากการส่งมอบรถในนโยบายรถคันแรกสิ้นสุดลง ทำให้การบริโภคภาคเอกชนลดลง ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ มีความเป็นไปได้ที่จะเบิกจ่ายเบิกจ่ายไม่ทันในปีนี้ เนื่องจากยังต้องดำเนินการอีกหลายขั้นตอน โดยเฉพาะหากติดประเด็นการขัดรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ปัจจัยที่กล่าวข้างต้น จะเป็นความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยที่ กนง.จะนำใช้ในพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโนบายในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจจะมีสัญญาณแผ่วที่ชัดเจน แต่ก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นรับรู้ผลกระทบจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้น โดยกนง.น่าจะรอดูเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน โดยเฉพาะด้านการส่งออก รวมถึงตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ที่จะประกาศอย่างเป็นทางการในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ว่าเป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดหรือไม่ และกนง.ได้ลดดอกเบี้ยนโยบายไปเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมแล้ว น่าจะรอดูผลก่อนว่านโยบายที่ได้ใช้ไปนั้น มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน
อีกทั้ง เงินบาทที่อ่อนค่าลงมา ทำให้แรงกดดันในการลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อชะลอเงินทุนไหลเข้าลดลง โดยในเดือนมิถุนายนค่าเงินบาทโดยเฉลี่ยเท่ากับ 30.8 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากที่แข็งค่าในเดือนเมษายนเฉลี่ยที่ 29.1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งค่าเงินบาทในปัจจุบันถือว่าเป็นระดับที่ผู้ส่งออกยอมรับได้ รวมทั้งสินเชื่อและหนี้ภาคครัวเรือนที่ขยายตัวในระดับสูง อาจส่งผลลบต่อการบริโภคในระยะต่อไป การตรึงดอกเบี้ยนโยบายจึงเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากหนี้ภาคครัวเรือนในอนาคตได้
นอกจากนี้ หากพิจารณาอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายนชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ทำให้ช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำ โดยคาดว่าในช่วงที่เหลือของปีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง และอยู่ในกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายของ กนง. ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนหากต้องลดดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต.