ประเมินทิศทางหุ้นไทยตุลาคม ปัจจัยนอก และในประเทศยังกดดันดัชนีผันผวนรุนแรง กูรูแนะนำลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงน้อย งบดุลแข็งแรง ราคาไม่แพง ชี้กลุ่มธนาคาร สื่อสาร ขนส่ง ท่องเที่ยว และอิเล็กทรอนิกส์ อัตราการปรับตัวเพิ่มดี พร้อมเตือนปัจจัยกระตุ้นบวกเริ่มน้อยลง ขณะเดียวกัน จำนวนหุ้น turnover list ที่ลดลงส่งสัญญาณแม้ตลาดมีความผันผวน แต่ภาวการณ์เก็งกำไรลดลงไปมาก จนหุ้นไทยปลอดภัยจากจากภาวะฟองสบู่
น.ส.อาภาภรณ์ แสวงพรรค ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) กล่าวถึงทิศทางตลาดหุ้นไทยในเดือนตุลาคมว่า จะยังคงมีความผันผวนอยู่ จากปัจจัยภายนอกประเทศคือ การเจรจาที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ระหว่างพรรคเดโมเครต และรีพับบลิกัน ในการพิจารณางบประมาณปี 2557 และเรื่องการปรับเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ซึ่งการหยุดงานของหน่วยงานรัฐจะกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งจะเชื่อมโยงกับการพิจารณา QE ที่ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะประชุมในปลายเดือนตุลาคมนี้ โดยมีความเป็นไปได้สูงที่เฟดจะคงการมาตรการ QE ออกไปอีก อย่างน้อยจนถึงรอบการประชุมเดือนธันวาคม
ส่วนปัจจัยภายในประเทศที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยนั้น ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาในสภาว่าจะผ่านไปอย่างราบรื่นหรือไม่ และการยื่นพิจารณาที่มาสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในแง่ของตลาดหุ้นเมื่อเกิดความไม่แน่นอนขึ้น จะกดดันทำให้สภาวะตลาดมีการอ่อนตัว และผันผวนรุนแรงนักลงทุนจึงต้องพิจารณาเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อย
ทั้งนี้ แนวโน้มการลงทุนในไตรมาส 4 จะขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนว่าผลจะออกมาในทิศทางที่บวกหรือลบ ซึ่งจะต้องมองเป็นระดับขั้นไปก่อน ซึ่งถ้ารัฐบาลสหรัฐฯ มีการเจรจายุติลงด้วยดีสามารถประนีประนอมกันได้หรือไม่ ส่วนภายในประเทศนั้น พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านจะผ่านมติสภาได้หรือเปล่า และจะนำ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้าสู่สภาในวาระที่ 2 เลยหรือไม่ จึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องติดตามต่อไป ขณะที่กรอบแนวรับแนวต้าน SET INDEX ในสัปดาห์นี้ จะอยู่ที่ 1,440-1,450 จุด
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ตลาดหุ้นจะมีการปรับตัวผันผวน แต่นักลงทุนบางกลุ่ม เช่น ผู้จัดการกองทุน ก็จำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนหุ้นอยู่ในพอร์ต จึงแนะนำให้ลงทุนในหุ้นพื้นฐานที่สามารถมีกำไรได้ต่อเนื่องในระยะยาวต่อเนื่องในปี 2556-2557 และที่สำคัญงบดุลก็ต้องแข็งแรง แรงราคาก็ไม่แพงมากจนเกินไป
โดยนักวิเคราะห์ได้พิจารณาตามน้ำหนักความน่าลงทุน ได้แก่ หุ้นกลุ่มธนาคาร สื่อสาร ขนส่ง ท่องเที่ยว ที่ได้ประเมินไว้ ถึงแม้จะมีความไม่แน่นอนแต่อุตสาหกรรมเหล่านี้จะมีกำไรที่เติบโตได้ และหากพิจารณาเป็นหุ้นรายตัวสำหรับเดือนตุลาคมโดยหุ้นที่มีความโดดเด่นมีรายได้มั่นคงแน่นอน ได้แก่ CPN ซึ่งมีรายได้จากการบริหารพื้นที่เช่า DELTA ได้อานิสงส์จากตัวเลขส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว เห็นชัดเจนตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา INTUCH ที่มีฐานะการเงินและปันผลดี มีสภาพคล่องสูง ส่วนกลุ่มท่องเที่ยวโรงแรมก็จะเป็น MINT และ VGI ซึ่งมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ส่วนกลุ่มธนาคาร ในเดือนตุลาคมจะมีการประกาศผลกำไรออกมา ซึ่งธนาคารใหญ่อย่าง KBANK และ KTB จะมีกำไรมากกว่า ส่วนธนาคารขนาดกลางและเล็ก รวมไปถึงที่เกี่ยวกับเช่าซื้อรถยนต์ อาจปรับตัวลดลง
บล.กรุงศรี ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทย ตุลาคมว่า ความเสี่ยงยังไม่จางหาย ตลาดยังมีความผันผวนมาก หลังปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว 213 จุด จากจุดต่ำสุดเมื่อวันที่ 28 ส.ค. ถือเป็น Valuation ที่ไม่ถูกนัก จึงให้ทยอยซื้อหุ้นพื้นฐานแกร่ง และมีประเด็นบวกเฉพาะตัว รวมทั้งหลีกเลี่ยงการไล่ราคา
ทั้งนี้ ประเมินว่าการประชุมเฟด (29-30 ต.ค.) นั้นยังคงมีมุมต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเชื่อว่าโอกาสที่เฟดจะปรับลด QE อาจเกิดขึ้นในการประชุมครั้งสุดท้ายของปีนี้ ระหว่างวันที่17-18 ธ.ค. ซึ่งถือว่าแนวทางของเฟดยังเป็นประเด็นอ่อนไหวที่มีผลกระทบต่อ Sentiment ตลาดค่อนข้างมาก นอกจากนี้ การขยายเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ หลังจากขึ้นมาแตะเพดาน 16.4 ล้านล้านเหรียญ ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องขยายเพิ่มขึ้นอีก และต้องทันแล้วเสร็จในกลางเดือนนี้มิเช่นนั้นสหรัฐฯ จะมีปัญหาการผิดนัดชำระหนี้
ขณะเดียวกัน ตุลาคมนี้ กำลังเริ่มต้นเข้าสู่การประกาศผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ เบื้องต้นคาดว่ากำไรสุทธิโดยรวมของกลุ่มธนาคารจะเติบโตประมาณ 15-20% ทรงตัวจากไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอาจเป็นปัจจัยกดดันบรรยากาศการลงทุนในระยะสั้น
ทำให้โดยรวมประเมินว่า ในเดือนตุลาคมนี้ดัชนีจะแกว่งตัวแบบsideway ในกรอบ P/E 15-16 เท่า โดยประเด็นขับเคลื่อนในเชิงบวกเบาบางลงไป เหลือเพียงแรงเก็งกำไรผลประกอบการไตรมาส 3 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลพบว่าจำนวนหุ้น turnover list ที่ ก.ล.ต.ประกาศออกมาในแต่ละสัปดาห์ลดลงเรื่อยๆ หลังจากขึ้นไปแตะจุดสูงสุดเมื่อเดือนมีนาคม ทำให้เชื่อได้ว่าถึงแม้หุ้นไทยยังมีความผันผวนอยู่ แต่ภาวการณ์เก็งกำไรในตลาดหุ้นไทยลดลงไปมาก และหุ้นไทยน่าจะปลอดภัยจากภาวะฟองสบู่มากพอสมควร
โดยสังเกตระยะห่างเฉลี่ยระหว่างจุดสูงสุด และต่ำสุดของดัชนีในแต่ละวันสูงถึง 23 จุด จึงแนะนำให้รอซื้อเมื่ออ่อนตัว โดยทยอยเข้าซื้อในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เพราะมีปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวของผู้ซื้อ ได้แก่ สหรัฐฯ และยุโรป นอกจากนี้ ไตรมาส 3 ถือเป็นฤดูส่งออกของธุรกิจ โดยมี SVI เป็น Top Pick
น.ส.อาภาภรณ์ แสวงพรรค ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) กล่าวถึงทิศทางตลาดหุ้นไทยในเดือนตุลาคมว่า จะยังคงมีความผันผวนอยู่ จากปัจจัยภายนอกประเทศคือ การเจรจาที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ระหว่างพรรคเดโมเครต และรีพับบลิกัน ในการพิจารณางบประมาณปี 2557 และเรื่องการปรับเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ซึ่งการหยุดงานของหน่วยงานรัฐจะกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งจะเชื่อมโยงกับการพิจารณา QE ที่ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะประชุมในปลายเดือนตุลาคมนี้ โดยมีความเป็นไปได้สูงที่เฟดจะคงการมาตรการ QE ออกไปอีก อย่างน้อยจนถึงรอบการประชุมเดือนธันวาคม
ส่วนปัจจัยภายในประเทศที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยนั้น ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาในสภาว่าจะผ่านไปอย่างราบรื่นหรือไม่ และการยื่นพิจารณาที่มาสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในแง่ของตลาดหุ้นเมื่อเกิดความไม่แน่นอนขึ้น จะกดดันทำให้สภาวะตลาดมีการอ่อนตัว และผันผวนรุนแรงนักลงทุนจึงต้องพิจารณาเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อย
ทั้งนี้ แนวโน้มการลงทุนในไตรมาส 4 จะขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนว่าผลจะออกมาในทิศทางที่บวกหรือลบ ซึ่งจะต้องมองเป็นระดับขั้นไปก่อน ซึ่งถ้ารัฐบาลสหรัฐฯ มีการเจรจายุติลงด้วยดีสามารถประนีประนอมกันได้หรือไม่ ส่วนภายในประเทศนั้น พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านจะผ่านมติสภาได้หรือเปล่า และจะนำ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้าสู่สภาในวาระที่ 2 เลยหรือไม่ จึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องติดตามต่อไป ขณะที่กรอบแนวรับแนวต้าน SET INDEX ในสัปดาห์นี้ จะอยู่ที่ 1,440-1,450 จุด
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ตลาดหุ้นจะมีการปรับตัวผันผวน แต่นักลงทุนบางกลุ่ม เช่น ผู้จัดการกองทุน ก็จำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนหุ้นอยู่ในพอร์ต จึงแนะนำให้ลงทุนในหุ้นพื้นฐานที่สามารถมีกำไรได้ต่อเนื่องในระยะยาวต่อเนื่องในปี 2556-2557 และที่สำคัญงบดุลก็ต้องแข็งแรง แรงราคาก็ไม่แพงมากจนเกินไป
โดยนักวิเคราะห์ได้พิจารณาตามน้ำหนักความน่าลงทุน ได้แก่ หุ้นกลุ่มธนาคาร สื่อสาร ขนส่ง ท่องเที่ยว ที่ได้ประเมินไว้ ถึงแม้จะมีความไม่แน่นอนแต่อุตสาหกรรมเหล่านี้จะมีกำไรที่เติบโตได้ และหากพิจารณาเป็นหุ้นรายตัวสำหรับเดือนตุลาคมโดยหุ้นที่มีความโดดเด่นมีรายได้มั่นคงแน่นอน ได้แก่ CPN ซึ่งมีรายได้จากการบริหารพื้นที่เช่า DELTA ได้อานิสงส์จากตัวเลขส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว เห็นชัดเจนตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา INTUCH ที่มีฐานะการเงินและปันผลดี มีสภาพคล่องสูง ส่วนกลุ่มท่องเที่ยวโรงแรมก็จะเป็น MINT และ VGI ซึ่งมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ส่วนกลุ่มธนาคาร ในเดือนตุลาคมจะมีการประกาศผลกำไรออกมา ซึ่งธนาคารใหญ่อย่าง KBANK และ KTB จะมีกำไรมากกว่า ส่วนธนาคารขนาดกลางและเล็ก รวมไปถึงที่เกี่ยวกับเช่าซื้อรถยนต์ อาจปรับตัวลดลง
บล.กรุงศรี ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทย ตุลาคมว่า ความเสี่ยงยังไม่จางหาย ตลาดยังมีความผันผวนมาก หลังปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว 213 จุด จากจุดต่ำสุดเมื่อวันที่ 28 ส.ค. ถือเป็น Valuation ที่ไม่ถูกนัก จึงให้ทยอยซื้อหุ้นพื้นฐานแกร่ง และมีประเด็นบวกเฉพาะตัว รวมทั้งหลีกเลี่ยงการไล่ราคา
ทั้งนี้ ประเมินว่าการประชุมเฟด (29-30 ต.ค.) นั้นยังคงมีมุมต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเชื่อว่าโอกาสที่เฟดจะปรับลด QE อาจเกิดขึ้นในการประชุมครั้งสุดท้ายของปีนี้ ระหว่างวันที่17-18 ธ.ค. ซึ่งถือว่าแนวทางของเฟดยังเป็นประเด็นอ่อนไหวที่มีผลกระทบต่อ Sentiment ตลาดค่อนข้างมาก นอกจากนี้ การขยายเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ หลังจากขึ้นมาแตะเพดาน 16.4 ล้านล้านเหรียญ ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องขยายเพิ่มขึ้นอีก และต้องทันแล้วเสร็จในกลางเดือนนี้มิเช่นนั้นสหรัฐฯ จะมีปัญหาการผิดนัดชำระหนี้
ขณะเดียวกัน ตุลาคมนี้ กำลังเริ่มต้นเข้าสู่การประกาศผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ เบื้องต้นคาดว่ากำไรสุทธิโดยรวมของกลุ่มธนาคารจะเติบโตประมาณ 15-20% ทรงตัวจากไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอาจเป็นปัจจัยกดดันบรรยากาศการลงทุนในระยะสั้น
ทำให้โดยรวมประเมินว่า ในเดือนตุลาคมนี้ดัชนีจะแกว่งตัวแบบsideway ในกรอบ P/E 15-16 เท่า โดยประเด็นขับเคลื่อนในเชิงบวกเบาบางลงไป เหลือเพียงแรงเก็งกำไรผลประกอบการไตรมาส 3 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลพบว่าจำนวนหุ้น turnover list ที่ ก.ล.ต.ประกาศออกมาในแต่ละสัปดาห์ลดลงเรื่อยๆ หลังจากขึ้นไปแตะจุดสูงสุดเมื่อเดือนมีนาคม ทำให้เชื่อได้ว่าถึงแม้หุ้นไทยยังมีความผันผวนอยู่ แต่ภาวการณ์เก็งกำไรในตลาดหุ้นไทยลดลงไปมาก และหุ้นไทยน่าจะปลอดภัยจากภาวะฟองสบู่มากพอสมควร
โดยสังเกตระยะห่างเฉลี่ยระหว่างจุดสูงสุด และต่ำสุดของดัชนีในแต่ละวันสูงถึง 23 จุด จึงแนะนำให้รอซื้อเมื่ออ่อนตัว โดยทยอยเข้าซื้อในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เพราะมีปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวของผู้ซื้อ ได้แก่ สหรัฐฯ และยุโรป นอกจากนี้ ไตรมาส 3 ถือเป็นฤดูส่งออกของธุรกิจ โดยมี SVI เป็น Top Pick