xs
xsm
sm
md
lg

หนี้ครัวเรือนพุ่งแตะ 80% ของจีดีพี “ธปท.” เชื่อไม่ถึงขั้นก่อวิกฤต ศก.รอบใหม่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
ผู้ว่าการ ธปท. ยอมรับหนี้ครัวเรือนพุ่งแตะ 80% ของจีดีพี อาจไม่ถึงขั้นเกิดปัญหาเหมือนในสหรัฐฯ เผยครึ่งปีแรก 56 เศรษฐกิจชะลอตัว แต่ครึ่งปีหลังแนวโน้มปรับดีขึ้น

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน “เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกที่ยังผันผวน หรือ Asia Driving the World” โดยระบุว่า จากการติดตามดูข้อมูลภาระหนี้ภาคครัวเรือนของไทยล่าสุดพบว่า เพิ่มขึ้นเป็น 80% จากเดิมอยู่ที่ 78% ซึ่งคงไม่น่าห่วงว่าจะสร้างปัญหาให้แก่เศรษฐกิจไทยเหมือนสหรัฐฯ

นายประสาร กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 และไตรมาส 2 ปีนี้จะชะลอลง แต่เชื่อว่าในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 จะกลับมาฟื้นตัวได้ เนื่องจากระดับการจ้างงานและรายได้ยังดี บวกกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ และญี่ปุ่นกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นบ้าง น่าจะช่วยให้ภาคส่งออกของไทยในครึ่งปีหลังได้ด้วย และยังมีการลงทุนภาครัฐอีก

โดยการฟื้นตัวครึ่งปีหลังมาจากระดับการจ้างงานยังสูง รายได้ประชาชนอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่การส่งออกมีสัญญาณการฟื้นตัวขึ้นจากเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และญี่ปุ่นที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนการลงทุนภาคเอกชนน่าจะขยายตัวดีกว่าครึ่งปีแรก เพราะยังคงจำเป็นต้องปรับปรุงกำลังผลิตเพื่อขยายการลงทุนในอนาคต หลังจากชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมา ตามการชะลอตัวของธุรกิจภาคการส่งออก

สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินก็มีความผ่อนคลายมากขึ้น โดยเห็นได้จากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ที่ 2.5% อยู่ในระดับที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นระดับที่เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ในระดับสูง แม้ในช่วงไตรมาสที่ 1 จะชะลอตัวลงก็ตาม ขณะที่นโยบายการคลัง การจัดทำงบประมาณปีงบ 2556 และปีงบ 2557 ยังเป็นงบประมาณการขาดดุล ทำให้เห็นว่า รัฐบาลมีแผนในการลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ 2 ล้านล้านบาท และโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ หากจีดีพีปีนี้ขยายตัวต่ำกว่า 5% ก็ยังไม่น่ากังวล เพราะเป็นปกติที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงบ้าง ซึ่งจะต้องดูภาพในระยะยาว โดยจีดีพีเฉลี่ยยังอยู่ในกรอบที่ประมาณการไว้ อย่างไรก็ตาม ยังต้องจับตาความผันผวนตลาดการเงินโลกที่ยังมีความผันผวน และอ่อนไหวต่อข้อมูลข่าวสาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจ ดังนั้น ภาคธุรกิจต้องทำการป้องกันความเสี่ยง ส่วนปัจจัยเสี่ยงในประเทศคือ หนี้ภาคครัวเรือนสูงขึ้น กระทบสภาพคล่องในระบบครัวเรือนลดลง ทำให้กระทบต่อการใช้จ่ายของผู้มีรายได้น้อย

นอกจากนี้ ในส่วนของความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนนั้น มองว่า มีผลกระทบเพียงในระยะสั้นกับเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเศรษฐกิจจีนมีขนาดใหญ่ จึงกระทบต่อภาคการส่งออก แต่ในระยะยาวจะส่งผลดี เพราะจีนมีการปรับปรุงคุณภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจให้ขยายตัวประมาณ 7.0-7.5% ซึ่งจะสร้างความแข็งแกร่ง และเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่เป็นปัญหาในอนาคต

ทั้งนี้ ปัจจุบันนโยบายการเงิน และนโยบายการคลังยังผ่อนคลายสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ถึงอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยจะโตต่ำกว่า 5.1% ที่ธปท.คาดไว้เดิมก็ไม่ได้น่ากังวล ส่วนคาดใหม่ว่าปีนี้ และปีหน้าจะจีดีพีขยายตัวระดับใด ธปท.จะแถลงตัวเลขที่ชัดเจนในช่วง 14.00 น. อีกครั้ง
ผ่าปมร้อน “หนี้ครัวเรือนพุ่ง” เกิดจากนโยบาย “ประชานิยม” เน้นกระตุ้นการบริโภค หรือแบงก์เป็นตัวการสร้างหนี้
ผ่าปมร้อน “หนี้ครัวเรือนพุ่ง” เกิดจากนโยบาย “ประชานิยม” เน้นกระตุ้นการบริโภค หรือแบงก์เป็นตัวการสร้างหนี้
ผ่าปมร้อน “หนี้ครัวเรือนพุ่ง” เกิดจากนโยบาย “ประชานิยม” เน้นกระตุ้นการบริโภค หรือแบงก์เป็นตัวการสร้างหนี้ “เอ็มดีไทยพาณิชย์” ระบุมาตรการกระตุ้น ศก.ของรัฐบาลต้องไม่ก่อหนี้เพิ่ม เพราะหนี้ภาคครัวเรือนที่เป็นปัญหาในขณะนี้ อยู่ในกลุ่มรากหญ้าที่มีรายได้น้อย และเป็นหนี้นอกระบบ ขณะที่ “กิตติรัตน์” หัวหน้าทีม ศก.รัฐ ออกโรงซัด “คนที่ออกมาพูดเรื่องหนี้ครัวเรือน” ล้วนแต่เป็นกลุ่มที่ทำธุรกิจปล่อยสินเชื่อรายย่อยทั้งนั้น แต่หากมีความกังวลเช่นนั้นก็ควรจะควบคุมตัวเองให้ดี พร้อมอัดภาคธุรกิจสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ที่ปล่อยสินเชื่อควรควบคุมตัวเองให้ดี และถ้าควบคุมตัวเองให้ดีก็ไม่มีใครไปบังคับให้ปล่อยสินเชื่อ
กำลังโหลดความคิดเห็น