ธปท.เผยยอดสินเชื่อส่วนบุคคลโต 18% แต่เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นกว่า 28% ธนาคารพาณิชย์มากสุด 1,185 ล้านบาท เมื่อเทียบเดือน ธ.ค.55-ธ.ค.54 ส่วนบัตรเครดิตเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 3% แต่ถ้าเทียบไตรมาสก่อนหน้ากลับลดลง 6.28% ด้านปริมาณการใช้จ่ายรวมโตถึง 45% ในไตรมาสสุดท้ายของปี โดยเฉพาะปริมาณการใช้จ่ายในประเทศโตเกือบ 50% การเบิกเงินสดล่วงหน้า 27% และการใช้จ่ายในต่างประเทศ 12%
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ประกาศตัวเลขสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับล่าสุด ณ สิ้นเดือน ธ.ค.55 พบว่า สินเชื่อส่วนบุคคลมีการผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนขึ้นไป (เอ็นพีแอล) ทั้งสิ้น 7,491 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึง 28.10% หรือเพิ่มขึ้น 1,643 ล้านบาท โดยเป็นเอ็นพีแอลของธนาคารพาณิชย์ 1,185 ล้านบาท ตามมาด้วยผู้ประกอบการธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) 467 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 9 ล้านบาท
ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลมีทั้งสิ้น 251,549 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.93% หรือมียอดสินเชื่อเพิ่มขึ้น 38,239 ล้านบาท ซึ่งในส่วนของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 28,511 ล้านบาท นอนแบงก์เพิ่มขึ้น 12,570 ล้านบาท แต่สาขาธนาคารต่างชาติกลับมียอดสินเชื่อลดลง 2,842 ล้านบาท ด้านจำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลในช่วงสิ้นปีอยู่ที่ 9,881,054 บัญชี เพิ่มขึ้น 959,260 บัญชี หรือคิดเป็นสัดส่วน 10.75%
โดยนอนแบงก์เพิ่มขึ้นมากที่สุด 719,637 บัญชี รองลงมาเป็นธนาคารพาณิชย์ 257,800 บัญชี แต่สาขาธนาคารต่างชาติลดลง 18,177 บัญชี
นอกจากนี้ ธปท.ยังได้รายงานตัวเลขสำคัญของธุรกิจบัตรเครดิตล่าสุด ณ สิ้นเดือน ธ.ค.55 เช่นเดียวกัน พบว่า ยอดเอ็นพีแอลมีทั้งสิ้น 5,054 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 159 ล้านบาท หรือสัดส่วน 3.25% ซึ่งเกิดจากธนาคารพาณิชย์ 337 ล้านบาท ขณะที่นอนแบงก์กลับมีเอ็นพีแอลลดลง 178 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (เดือน ธ.ค.55 เทียบเดือน ธ.ค.54) พบว่า ธนาคารพาณิชย์ และนอนแบงก์กลับมีเอ็นพีแอลบัตรเครดิตลดลง 209 ล้านบาท และ 130 ล้านบาท ตามลำดับ ทำให้เอ็นพีแอลรวมลดลง 339 ล้านบาท หรือลดลง 6.28%
ภายใต้ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตทั้งสิ้น 261,553 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.26% หรือเพิ่มขึ้น 32,650 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ และนอนแบงก์เพิ่มในแง่วงเงินใกล้เคียงกัน 17,427 ล้านบาท และ 15,223 ล้านบาท ตามลำดับ และเมื่อเทียบช่วงไตรมาสก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 15.48% หรือประมาณ 35,053 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากธนาคารพาณิชย์ 25,188 ล้านบาท และนอนแบงก์ 9,865 ล้านบาท ขณะที่จำนวนบัตรเครดิตในระบบมีทั้งสิ้น 16.87 ล้านใบ เพิ่มขึ้นทั้งช่วงเดียวกันปีก่อน 1,541,734 ใบ และไตรมาสก่อน 508,308 ใบ
ทั้งนี้ ปริมาณการใช้จ่ายบัตรเครดิตโดยรวมมีทั้งสิ้น 1.45 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1.58 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 12.23% และเพิ่มขึ้น 4.48 หมื่นล้านบาท ในสัดส่วน 44.65% เทียบไตรมาสก่อน โดยในไตรมาสเดียวเป็นการเพิ่มขึ้นจากการใช้จ่ายบัตรเครดิตภายในประเทศ 4.07 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 49.64% และการใช้จ่ายในต่างประเทศเพิ่มขึ้น 753 ล้านบาท สัดส่วน 12.53% และใช้บัตรเครดิตเบิกเงินสดล่วงหน้าเพิ่มขึ้น 3,365 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.21%
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ประกาศตัวเลขสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับล่าสุด ณ สิ้นเดือน ธ.ค.55 พบว่า สินเชื่อส่วนบุคคลมีการผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนขึ้นไป (เอ็นพีแอล) ทั้งสิ้น 7,491 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึง 28.10% หรือเพิ่มขึ้น 1,643 ล้านบาท โดยเป็นเอ็นพีแอลของธนาคารพาณิชย์ 1,185 ล้านบาท ตามมาด้วยผู้ประกอบการธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) 467 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 9 ล้านบาท
ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลมีทั้งสิ้น 251,549 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.93% หรือมียอดสินเชื่อเพิ่มขึ้น 38,239 ล้านบาท ซึ่งในส่วนของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 28,511 ล้านบาท นอนแบงก์เพิ่มขึ้น 12,570 ล้านบาท แต่สาขาธนาคารต่างชาติกลับมียอดสินเชื่อลดลง 2,842 ล้านบาท ด้านจำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลในช่วงสิ้นปีอยู่ที่ 9,881,054 บัญชี เพิ่มขึ้น 959,260 บัญชี หรือคิดเป็นสัดส่วน 10.75%
โดยนอนแบงก์เพิ่มขึ้นมากที่สุด 719,637 บัญชี รองลงมาเป็นธนาคารพาณิชย์ 257,800 บัญชี แต่สาขาธนาคารต่างชาติลดลง 18,177 บัญชี
นอกจากนี้ ธปท.ยังได้รายงานตัวเลขสำคัญของธุรกิจบัตรเครดิตล่าสุด ณ สิ้นเดือน ธ.ค.55 เช่นเดียวกัน พบว่า ยอดเอ็นพีแอลมีทั้งสิ้น 5,054 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 159 ล้านบาท หรือสัดส่วน 3.25% ซึ่งเกิดจากธนาคารพาณิชย์ 337 ล้านบาท ขณะที่นอนแบงก์กลับมีเอ็นพีแอลลดลง 178 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (เดือน ธ.ค.55 เทียบเดือน ธ.ค.54) พบว่า ธนาคารพาณิชย์ และนอนแบงก์กลับมีเอ็นพีแอลบัตรเครดิตลดลง 209 ล้านบาท และ 130 ล้านบาท ตามลำดับ ทำให้เอ็นพีแอลรวมลดลง 339 ล้านบาท หรือลดลง 6.28%
ภายใต้ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตทั้งสิ้น 261,553 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.26% หรือเพิ่มขึ้น 32,650 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ และนอนแบงก์เพิ่มในแง่วงเงินใกล้เคียงกัน 17,427 ล้านบาท และ 15,223 ล้านบาท ตามลำดับ และเมื่อเทียบช่วงไตรมาสก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 15.48% หรือประมาณ 35,053 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากธนาคารพาณิชย์ 25,188 ล้านบาท และนอนแบงก์ 9,865 ล้านบาท ขณะที่จำนวนบัตรเครดิตในระบบมีทั้งสิ้น 16.87 ล้านใบ เพิ่มขึ้นทั้งช่วงเดียวกันปีก่อน 1,541,734 ใบ และไตรมาสก่อน 508,308 ใบ
ทั้งนี้ ปริมาณการใช้จ่ายบัตรเครดิตโดยรวมมีทั้งสิ้น 1.45 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1.58 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 12.23% และเพิ่มขึ้น 4.48 หมื่นล้านบาท ในสัดส่วน 44.65% เทียบไตรมาสก่อน โดยในไตรมาสเดียวเป็นการเพิ่มขึ้นจากการใช้จ่ายบัตรเครดิตภายในประเทศ 4.07 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 49.64% และการใช้จ่ายในต่างประเทศเพิ่มขึ้น 753 ล้านบาท สัดส่วน 12.53% และใช้บัตรเครดิตเบิกเงินสดล่วงหน้าเพิ่มขึ้น 3,365 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.21%