นายไพโรจน์ คนึงทรัพย์ ผู้อำนวยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กล่าวว่า ในวันที่ 13 ธันวาคมนี้ สคบ.ได้เชิญธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาร่วมหารือปัญหาที่ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคว่าถูกผู้ประกอบการบัตรเครดิตคิดอัตราดอกเบี้ยสูงมาก
ขณะที่ก่อนหน้านี้สภาผู้แทนราษฎรได้เชิญ ธปท.และ สคบ.เข้าไปชี้แจงกรณีได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคกรณีที่คิดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตสูง เช่น ผู้บริโภคใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 1 แสนบาท เดือนต่อมาชำระเงินคืน 9 หมื่นบาท เหลือยอดเงินค้างชำระ 1 หมื่นบาท แต่ธนาคารก็คิดอัตราดอกเบี้ยตามยอดเงินที่ใช้จ่ายครั้งแรก คือ 1 แสนบาท ซึ่งไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค
ทั้งนี้ สภาฯ ได้มอบหมายให้ สคบ.หารือร่วมกับ ธปท.ที่จะหาแนวทางการช่วยเหลือผู้บริโภค โดย ธปท.ได้ชี้แจงว่า เป็นหลักการคิดอัตราดอกเบี้ย ไม่ได้ลดต้น ลดดอกเบี้ย ซึ่งจะคิดอัตราดอกเบี้ยตามเงินต้นที่ใช้ เพื่อเป็นการรักษาวินัยทางการเงิน และก่อนที่จะสมัครบัตรเครดิตก็มีการเขียนรายละเอียดในใบสัญญาเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น สภาฯ จึงเห็นว่าควรต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภครับทราบ จะได้มีความตระหนักในการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต และเชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่ามีการคิดอัตราดอกเบี้ยจากยอดใช้จ่าย หากชำระไม่ครบก็ไม่ลดต้น ลดดอกเบี้ยให้
ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยตัวเลขการให้บริการบัตรเครดิต ล่าสุด สิ้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่ามียอดบัตรเครดิตที่ให้บริการในระบบอยู่ทั้งสิ้น 16.07 ล้านบัตร เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 1.35 ล้านบัตร หรือเพิ่มขึ้น 9 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิต ทั้งของธนาคารพาณิชย์ และบริษัทที่ให้บริการสินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) สิ้นเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา อยู่ที่ 222,179.46 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่ก่อนหน้านี้สภาผู้แทนราษฎรได้เชิญ ธปท.และ สคบ.เข้าไปชี้แจงกรณีได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคกรณีที่คิดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตสูง เช่น ผู้บริโภคใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 1 แสนบาท เดือนต่อมาชำระเงินคืน 9 หมื่นบาท เหลือยอดเงินค้างชำระ 1 หมื่นบาท แต่ธนาคารก็คิดอัตราดอกเบี้ยตามยอดเงินที่ใช้จ่ายครั้งแรก คือ 1 แสนบาท ซึ่งไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค
ทั้งนี้ สภาฯ ได้มอบหมายให้ สคบ.หารือร่วมกับ ธปท.ที่จะหาแนวทางการช่วยเหลือผู้บริโภค โดย ธปท.ได้ชี้แจงว่า เป็นหลักการคิดอัตราดอกเบี้ย ไม่ได้ลดต้น ลดดอกเบี้ย ซึ่งจะคิดอัตราดอกเบี้ยตามเงินต้นที่ใช้ เพื่อเป็นการรักษาวินัยทางการเงิน และก่อนที่จะสมัครบัตรเครดิตก็มีการเขียนรายละเอียดในใบสัญญาเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น สภาฯ จึงเห็นว่าควรต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภครับทราบ จะได้มีความตระหนักในการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต และเชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่ามีการคิดอัตราดอกเบี้ยจากยอดใช้จ่าย หากชำระไม่ครบก็ไม่ลดต้น ลดดอกเบี้ยให้
ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยตัวเลขการให้บริการบัตรเครดิต ล่าสุด สิ้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่ามียอดบัตรเครดิตที่ให้บริการในระบบอยู่ทั้งสิ้น 16.07 ล้านบัตร เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 1.35 ล้านบัตร หรือเพิ่มขึ้น 9 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิต ทั้งของธนาคารพาณิชย์ และบริษัทที่ให้บริการสินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) สิ้นเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา อยู่ที่ 222,179.46 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน