ไทยพาณิชย์คาดการณ์ส่งออกไตรมาสแรกฟื้นตัวได้เพียงเล็กน้อย เหตุยังรับผลเศรษฐกิจโลกซบ จับตากรณีแก้ปัญหาการคลังของสหรัฐฯ คาดครึ่้งปีหลังกระเตื้องชัด คงเป้าส่งออกทั้งปีโต 7.5%
ศูนย์วิจัยธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) ประเมินการส่งออกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 น่าจะปรับตัวดีขึ้นจากช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 ได้เพียงเล็กน้อย มูลค่าการส่งออกในปีก่อน ขยายตัวเพียงแค่ 3.1% ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ และการส่งออกที่ชะลอตัวในไตรมาส 4 แสดงให้เห็นว่ากำลังซื้อทั่วโลกยังคงอ่อนแอ สำหรับในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้นั้น การส่งออกน่าจะปรับตัวดีขึ้นจากช่วงปลายปีก่อนหน้าได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยสิ่งที่ต้องจับตาดูคือ การเจรจาเกี่ยวกับนโยบายการคลังของสหรัฐฯ รวมไปถึงการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนจากภาวะเงินทุนไหลเข้า ทั้งนี้ SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกของไทยในปี 2013 จะมีศักยภาพขยายตัวได้ 7.5% โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีหลัง
ทั้งนี้ ตัวเลขสส่งออกล่าสุด การส่งออกในเดือนธันวาคมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยมูลค่าการส่งออกเดือนธันวาคมขยายตัว 13.5%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากฐานที่ต่ำจากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนกลับหดตัวถึง 7.4% หรือลดลงราว 1.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนให้เห็นถึงอุปสงค์จากต่างประเทศที่ยังคงอ่อนแอ โดยมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดหลักของไทยได้แก่ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนต่อการส่งออกทั้งหมดของไทยสูงถึง 65% ล้วนหดตัวทั้งหมด โดยการส่งออกไปอาเซียนหดตัว 4.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จีน 6.2% ญี่ปุ่น 11.1% สหรัฐฯ 7.1% MOM และยุโรป 4%MOM
โดยสินค้าอุตสาหกรรมหลัก และน้ำมันสำเร็จรูปส่งออกลดลง มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่ลดลงมากจากเดือนก่อนหน้า ได้แก่ หมวดคอมพิวเตอร์ และ อัญมณีและเครื่องประดับ (โดยเฉพาะเครื่องประดับที่ทำจากทอง และทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูป) นอกจากนี้ การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปโดยเฉพาะการส่งออกไปยังสิงคโปร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางซื้อขายน้ำมันที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียก็หดตัวรุนแรงเช่นเดียวกัน โดยมูลค่าการส่งออกของสินค้าทั้ง 3 ชนิดลดลงรวมกันถึง 872 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 60% ของมูลค่าการส่งออกที่ลดลงในเดือนธันวาคมเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน อย่างไรก็ตาม การส่งออกรถยนต์นั่งมีมูลค่า 932 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หรือเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากเดือนพฤศจิกายน
ด้านการนำเข้าลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน แม้ว่ามูลค่าการนำเข้าเดือนธันวาคมในหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งจะยังคงอยู่ในระดับสูง แต่การนำเข้าสินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงจากเดือนพฤศจิกายนที่มีการนำเข้าสินค้าทั้งสองหมวดค่อนข้างมาก
อนึ่ง กระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าการส่งออกของไทยเดือนธันวาคมอยู่ที่ 18.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 13.5% เทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้า ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 20.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 4.7% ดุลการค้าขาดดุล 2.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ศูนย์วิจัยธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) ประเมินการส่งออกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 น่าจะปรับตัวดีขึ้นจากช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 ได้เพียงเล็กน้อย มูลค่าการส่งออกในปีก่อน ขยายตัวเพียงแค่ 3.1% ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ และการส่งออกที่ชะลอตัวในไตรมาส 4 แสดงให้เห็นว่ากำลังซื้อทั่วโลกยังคงอ่อนแอ สำหรับในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้นั้น การส่งออกน่าจะปรับตัวดีขึ้นจากช่วงปลายปีก่อนหน้าได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยสิ่งที่ต้องจับตาดูคือ การเจรจาเกี่ยวกับนโยบายการคลังของสหรัฐฯ รวมไปถึงการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนจากภาวะเงินทุนไหลเข้า ทั้งนี้ SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกของไทยในปี 2013 จะมีศักยภาพขยายตัวได้ 7.5% โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีหลัง
ทั้งนี้ ตัวเลขสส่งออกล่าสุด การส่งออกในเดือนธันวาคมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยมูลค่าการส่งออกเดือนธันวาคมขยายตัว 13.5%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากฐานที่ต่ำจากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนกลับหดตัวถึง 7.4% หรือลดลงราว 1.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนให้เห็นถึงอุปสงค์จากต่างประเทศที่ยังคงอ่อนแอ โดยมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดหลักของไทยได้แก่ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนต่อการส่งออกทั้งหมดของไทยสูงถึง 65% ล้วนหดตัวทั้งหมด โดยการส่งออกไปอาเซียนหดตัว 4.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จีน 6.2% ญี่ปุ่น 11.1% สหรัฐฯ 7.1% MOM และยุโรป 4%MOM
โดยสินค้าอุตสาหกรรมหลัก และน้ำมันสำเร็จรูปส่งออกลดลง มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่ลดลงมากจากเดือนก่อนหน้า ได้แก่ หมวดคอมพิวเตอร์ และ อัญมณีและเครื่องประดับ (โดยเฉพาะเครื่องประดับที่ทำจากทอง และทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูป) นอกจากนี้ การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปโดยเฉพาะการส่งออกไปยังสิงคโปร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางซื้อขายน้ำมันที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียก็หดตัวรุนแรงเช่นเดียวกัน โดยมูลค่าการส่งออกของสินค้าทั้ง 3 ชนิดลดลงรวมกันถึง 872 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 60% ของมูลค่าการส่งออกที่ลดลงในเดือนธันวาคมเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน อย่างไรก็ตาม การส่งออกรถยนต์นั่งมีมูลค่า 932 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หรือเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากเดือนพฤศจิกายน
ด้านการนำเข้าลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน แม้ว่ามูลค่าการนำเข้าเดือนธันวาคมในหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งจะยังคงอยู่ในระดับสูง แต่การนำเข้าสินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงจากเดือนพฤศจิกายนที่มีการนำเข้าสินค้าทั้งสองหมวดค่อนข้างมาก
อนึ่ง กระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าการส่งออกของไทยเดือนธันวาคมอยู่ที่ 18.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 13.5% เทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้า ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 20.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 4.7% ดุลการค้าขาดดุล 2.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ