ASTVผู้จัดการรายวัน - 2 แบงก์ใหญ่ “BBL-SCB” นำร่องลดดอกเบี้ยหลัง กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบาย โดยเงินกู้ลด 0.125% กด MLR มาอยู่ที่ 7% และลดดอกเบี้ยฝากประจำ 0.1-0.25% พร้อมประเมินทิศทางดอกเบี้ย คาด กนง.อาจลดอีก หากปัจจัยนอกวูบแรง
นายทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)(BBL) เปิดเผยว่า ธนาคารได้มีการประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินฝากทุกประเภท ซึ่งเป็นการปรับลดลงทั้ง 2 ด้าน โดยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Minimum Loan Rate) หรือ MLR จาก 7.125% เป็น 7.000% อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate) หรือ MOR จาก 7.375% เป็น 7.250% และอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate) หรือ MRR จาก 7.875% เป็น 7.750%
สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ได้มีการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยประเภทประจำ 3 เดือน จาก 1.750-2.250% เป็น 1.750-2.000% เงินฝากประจำ 6 เดือน จาก 2.125-2.625% เป็น 2.000-2.125% เงินฝากประจำ 12 เดือน จาก 2.500-3.000% เป็น 2.500% เงินฝากประจำ 24 เดือน จาก 3.000-3.125% เป็น 2.750% และเงินฝากประจำ 36 เดือน จาก 3.000-3.250% เป็น 3.000% โดยทั้งหมดมีผลเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2555
ด้านนางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ธนาคารพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อสอดคล้องกับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย และภาวะของตลาด โดยสำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบมีระยะเวลา หรือ MLR ได้มีการปรับลดลง 0.125% ต่อปี เป็น 7.0% ในขณะที่คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไว้ในระดับเดิม สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะยาวมีการปรับลดลงเล็กน้อยตามสภาวะตลาด ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2555 นี้”
จากการปรับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ปรับเป็น 7.0% ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์บุคคลธรรมดาอยู่ที่ 0.75% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะยาว 1, 3, 6,12 เดือนมีการปรับลดลงในระดับ 0.1- 0.25% ตามสภาวะตลาด
**คาด กนง.อาจลด ดบ.อีก**
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ประเมินว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ กนง.ในครั้งนี้ ธปท. มองว่าเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงสูง และการใช้จ่ายในประเทศอาจชะลอตัวในระยะต่อไป ธปท. ให้เหตุผลว่าเศรษฐกิจโลกยังอ่อนแอ และมีความไม่แน่นอนสูง ในขณะที่การใช้จ่ายในประเทศอาจจะอ่อนแรงลงตามการใช้จ่ายเพื่อฟื้นฟูหลังน้ำท่วม และนโยบายกระตุ้นจากภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการคืนภาษีรถคันแรก และเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรที่สิ้นสุดลงในปลายปีนี้ ดังนั้น การลดดอกเบี้ยนโยบายลงจะช่วยรักษาแรงส่งจากการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนที่อาจจะอ่อนแรงลงในระยะต่อไป
นอกจากนี้ ยังน่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ถึงแม้ว่าโอกาสที่เศรษฐกิจจะหดตัวลงรุนแรงในช่วงที่เหลือของปีนี้ และช่วงต้นปี 2013 มีไม่มากนัก แต่เศรษฐกิจอาจต้องการแรงกระตุ้นเพิ่มเติมหากปัจจัยลบจากต่างประเทศ เช่น ความกังวลเกี่ยวกับภาวะการคลังของสหรัฐฯ ทั้งในเรื่องของ Fiscal Cliff และการที่หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ จะชนเพดานการกู้ยืมในเดือนมีนาคม หรือการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนยังไม่มีแนวโน้มดีขึ้น
นายทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)(BBL) เปิดเผยว่า ธนาคารได้มีการประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินฝากทุกประเภท ซึ่งเป็นการปรับลดลงทั้ง 2 ด้าน โดยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Minimum Loan Rate) หรือ MLR จาก 7.125% เป็น 7.000% อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate) หรือ MOR จาก 7.375% เป็น 7.250% และอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate) หรือ MRR จาก 7.875% เป็น 7.750%
สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ได้มีการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยประเภทประจำ 3 เดือน จาก 1.750-2.250% เป็น 1.750-2.000% เงินฝากประจำ 6 เดือน จาก 2.125-2.625% เป็น 2.000-2.125% เงินฝากประจำ 12 เดือน จาก 2.500-3.000% เป็น 2.500% เงินฝากประจำ 24 เดือน จาก 3.000-3.125% เป็น 2.750% และเงินฝากประจำ 36 เดือน จาก 3.000-3.250% เป็น 3.000% โดยทั้งหมดมีผลเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2555
ด้านนางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ธนาคารพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อสอดคล้องกับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย และภาวะของตลาด โดยสำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบมีระยะเวลา หรือ MLR ได้มีการปรับลดลง 0.125% ต่อปี เป็น 7.0% ในขณะที่คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไว้ในระดับเดิม สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะยาวมีการปรับลดลงเล็กน้อยตามสภาวะตลาด ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2555 นี้”
จากการปรับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ปรับเป็น 7.0% ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์บุคคลธรรมดาอยู่ที่ 0.75% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะยาว 1, 3, 6,12 เดือนมีการปรับลดลงในระดับ 0.1- 0.25% ตามสภาวะตลาด
**คาด กนง.อาจลด ดบ.อีก**
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ประเมินว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ กนง.ในครั้งนี้ ธปท. มองว่าเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงสูง และการใช้จ่ายในประเทศอาจชะลอตัวในระยะต่อไป ธปท. ให้เหตุผลว่าเศรษฐกิจโลกยังอ่อนแอ และมีความไม่แน่นอนสูง ในขณะที่การใช้จ่ายในประเทศอาจจะอ่อนแรงลงตามการใช้จ่ายเพื่อฟื้นฟูหลังน้ำท่วม และนโยบายกระตุ้นจากภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการคืนภาษีรถคันแรก และเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรที่สิ้นสุดลงในปลายปีนี้ ดังนั้น การลดดอกเบี้ยนโยบายลงจะช่วยรักษาแรงส่งจากการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนที่อาจจะอ่อนแรงลงในระยะต่อไป
นอกจากนี้ ยังน่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ถึงแม้ว่าโอกาสที่เศรษฐกิจจะหดตัวลงรุนแรงในช่วงที่เหลือของปีนี้ และช่วงต้นปี 2013 มีไม่มากนัก แต่เศรษฐกิจอาจต้องการแรงกระตุ้นเพิ่มเติมหากปัจจัยลบจากต่างประเทศ เช่น ความกังวลเกี่ยวกับภาวะการคลังของสหรัฐฯ ทั้งในเรื่องของ Fiscal Cliff และการที่หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ จะชนเพดานการกู้ยืมในเดือนมีนาคม หรือการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนยังไม่มีแนวโน้มดีขึ้น