แบงก์พาณิชย์สู้ไม่ถอย ออกบัญชีเงินฝากดอกเบี้ยพิเศษชนพันธบัตร 8 หมื่นล้านของรัฐบาล ทำเอายอดขายฝืด ขณะที่หุ้นกู้ไทยพาณิชย์ 12 ปี 2 หมื่นล้านขายเกลี้ยงแค่วันแรก ตามด้วย ธ.ก.ส.ออกเงินฝากดอกเบี้ยสุขใจ 16 เดือนดอกเบี้ย 3.4% ไม่เสียภาษี สูงกว่าผลตอบแทนพันธบัตร 6 ปีที่รับสุทธิแค่ 3.39% คนแบงก์เผยดอกเบี้ยพันธบัตรยังไม่โดนใจ คนออมเลยหันไปซบแบงก์พาณิชย์
การเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ 2555 อายุ 6 ปี ผลตอบแทน 3.99% วงเงิน 8 หมื่นล้านบาท เมื่อ 3 และ 4 กันยายนที่ผ่านมาสำหรับรอบผู้สูงอายุ และรอบบุคคลทั่วไปตั้งแต่ 5-14 กันยายน 2555 จากการสอบถามไปยังตัวแทนจำหน่ายของธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดจำหน่ายพบว่า ยอดการจำหน่ายพันธบัตรรุ่นดังกล่าวไม่คึกคักเท่าที่ควร
แม้ช่วงเวลาในการเสนอขายพันธบัตรจะเป็นช่วงปลอดจากโปรโมชันเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ทั่วไปที่เพิ่งหมดเขตเมื่อสิ้นเดือนสิงหาคม แต่เมื่อเริ่มมีการเปิดขายพันธบัตรแบงก์พาณิชย์หลายแห่งเริ่มออกโปรโมชัน บางแห่งเป็นการขยายระยะเวลารับฝากจากเดิมที่เพิ่งหมดเขตไป บางแห่งออกโปรโมชันใหม่ออกมา
หุ้นกู้ไทยพาณิชย์ไม่ถึงวันเกลี้ยง
ตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 4 แห่ง มีเพียงธนาคารกรุงไทยเท่านั้นที่ในขณะนี้ยังไม่มีโปรโมชันเงินฝากใหม่ออกมา ที่เหลือธนาคารกรุงเทพเงินฝาก 4 เดือนดอกเบี้ย 3% และฝาก 11 เดือนดอกเบี้ย 3.3% ธนาคารกสิกรไทยต่ออายุเงินฝากประจำขั้นบันไดดอกสูงว้าว! 18 เดือน ออกไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน ดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 3.61% ธนาคารไทยพาณิชย์มีเงินฝาก 7 เดือน 3.3% เงินฝาก 11 เดือน 3.46% เงินฝาก 22 เดือน 3.85% นอกจากนี้ยังเปิดขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ อายุ 12 ปี ดอกเบี้ย 4.65% เริ่มขายเมื่อ 5 กันยายนและหมดภายในวันเดียว
ส่วนธนาคารอื่นได้ออกโปรโมชันเงินฝากระยะสั้นออกมาเพื่อรักษาฐานลูกค้าด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า 3% ทั้งสิ้น
ทีมเงินฝากธนาคารพาณิชย์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้หลายคนยังไม่แน่ใจในทิศทางอัตราดอกเบี้ยว่าจะไปทางใด แต่เมื่อ 5 กันยายน 2555 คณะกรรมการนโยบายการเงินได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่เดิมคือ 3% จึงทำให้หลายคนตัดสินใจง่ายขึ้น
ด้านหนึ่งคือดอกเบี้ยคงมีโอกาสปรับขึ้นได้ยาก และอีกด้านหนึ่งก็มีแนวโน้มว่าดอกเบี้ยในระยะยาวคือมากกว่า 1 ปีอาจจะมีแนวโน้มปรับลง หลายคนจึงตัดสินใจที่จะล็อกเงินฝากของตัวเองกับโปรโมชันที่ตรงกับความต้องการ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนคุ้มค่า
“คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบฝากเงินในระยะยาว ยิ่งถ้าผลตอบแทนที่ได้ไม่จูงใจแล้วพวกเขาคงไม่เลือก เว้นแต่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีเงินออมมากพอและไม่ต้องการโยกเงินฝากบ่อยๆ แม้จะได้ผลตอบแทนไม่สูงนักก็ตาม”
ธ.ก.ส.ดอกสูงกว่าพันธบัตร
เมื่อลองตรวจสอบจากการออกโปรโมชันเงินฝากในระยะนี้ของแบงก์พาณิชย์ ที่ให้สูงที่สุดคงเป็นธนาคารไทยพาณิชย์กับเงินฝาก 22 เดือนที่ 3.85% แต่ก็เป็นการปรับลง เดิมบัญชีเงินฝาก 22 เดือนธนาคารกรุงไทยให้ดอกเบี้ย 4% หมดเขตไปเมื่อ 31 กรกฎาคม หรือธนาคารเกียรตินาคินเงินฝาก 18 เดือนให้ 4% เช่นกัน
ที่น่าสนใจมากคือบัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสุขใจ 8 ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ฝาก 16 เดือน อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเริ่มที่ 3.15-4% เฉลี่ยแล้วที่ 3.4% แม้จะดูว่าดอกเบี้ยที่ได้เทียบกับระยะเวลาฝากที่ใกล้เคียงกันต่ำกว่าของไทยพาณิชย์หรือของกสิกรไทย แต่เงินฝากของ ธ.ก.ส.รับที่ 3.4% เต็ม เพราะไม่ต้องเสียภาษีเงินฝาก ขณะที่แบงก์อื่นต้องเสียภาษีอีก 15% เช่นเดียวกับพันธบัตรรัฐบาล 6 ปี แม้จะให้ดอกเบี้ย 3.99% แต่ดอกเบี้ยสุทธิจริงๆ อยู่ที่ 3.3915% เท่านั้น ดังนั้นเงินฝากของ ธ.ก.ส.จึงให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลเล็กน้อยแต่ฝากสั้นกว่าหลายปี
ลำบากใจขายพันธบัตร
ผู้บริหารกองทุนรวมกล่าวว่า แม้ว่าทิศทางโดยรวมของอัตราดอกเบี้ยของไทยจะมีแนวโน้มที่ปรับลดลง แต่ไม่ได้หมายความว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์จะปรับตัวลงตามดอกเบี้ยนโยบายเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจที่ยังคงมีมากทั้งจากการปรับตัวหลังน้ำท่วม โครงการของรัฐบาล เช่น รถยนต์คันแรก การรับมือกับค่าแรงขั้นต่ำหรือการรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
“ตอนแรกคิดว่าแบงก์พาณิชย์คงเปิดทางให้กับพันธบัตรรัฐบาลขายจนครบระยะเวลา หลังจากนั้นค่อยมีโปรโมชันใหม่ออกมา แต่ผิดคาด บางแบงก์ขยายระยะเวลาโปรโมชันเดิมที่หมดเขตไปแล้วออกไปเช่นของกสิกรไทย และไทยพาณิชย์บางรายการ รวมถึงแบงก์กรุงเทพ ขณะนี้บางแบงก์ออกโปรโมชันใหม่เข้ามาสู้”
ค่ายไทยพาณิชย์ถือว่าจัดชุดใหญ่ออกมา มีทั้งหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท แม้จะอายุถึง 12 ปี แต่ดอกเบี้ย 4.65% ถือว่าประสบความสำเร็จมาก ขายหมดภายในวันแรกที่เปิดขาย ตามมาด้วยเงินฝาก 7 เดือน เงินฝาก 11 เดือนที่เป็นของเดิมและเพิ่มเงินฝาก 22 เดือน ดอกเบี้ยค่อนข้างสูง
เมื่อพนักงานแบงก์ต้องขายทั้งพันธบัตรและขายผลิตภัณฑ์เงินฝากของตัวเองด้วย จึงทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติขึ้น เพราะขายพันธบัตรตัวธนาคารได้ค่าธรรมเนียม ส่วนขายโปรดักส์ของแบงก์ได้ผลงาน ดังนั้นยอดขายพันธบัตรชุดนี้จึงไม่แรง อีกทั้งตัวอัตราดอกเบี้ยที่ให้ถือว่าไม่ดึงดูดใจและระยะเวลานานถึง 6 ปี
เมื่อตลาดเงินฝากไม่ได้มีแค่พันธบัตรรัฐบาลเพียงอย่างเดียว แต่มีสินค้าของแบงก์อื่นๆ มาเป็นทางเลือกเพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลต่อการขายพันธบัตรชุดนี้คงไม่สามารถขายได้เต็มวงเงิน 8 หมื่นล้านบาทสำหรับประชาชนทั่วไป สุดท้ายคงต้องเปิดให้นักลงทุนสถาบันเข้าไปซื้อ เพราะในแง่ของสถาบันแล้วดอกเบี้ยระดับนี้ถือว่าลงทุนได้ แม้ดอกเบี้ยจะไม่สูงนักแต่ปลอดภัยแล้วนำไปเฉลี่ยกับผลตอบแทนในส่วนอื่น
สำหรับโปรโมชันเงินฝากดอกเบี้ยพิเศษของธนาคารพาณิชย์ จะยังคงมีต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี 2555 แต่ตัวอัตราดอกเบี้ยคงต้องรอดูตามสภาพตลาดและสถานการณ์ของตลาดโลกอีกครั้ง ดังนั้นการตัดสินใจเลือกออมเงินรูปแบบใด คงต้องสำรวจความพร้อมของตนเองก่อน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด
การเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ 2555 อายุ 6 ปี ผลตอบแทน 3.99% วงเงิน 8 หมื่นล้านบาท เมื่อ 3 และ 4 กันยายนที่ผ่านมาสำหรับรอบผู้สูงอายุ และรอบบุคคลทั่วไปตั้งแต่ 5-14 กันยายน 2555 จากการสอบถามไปยังตัวแทนจำหน่ายของธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดจำหน่ายพบว่า ยอดการจำหน่ายพันธบัตรรุ่นดังกล่าวไม่คึกคักเท่าที่ควร
แม้ช่วงเวลาในการเสนอขายพันธบัตรจะเป็นช่วงปลอดจากโปรโมชันเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ทั่วไปที่เพิ่งหมดเขตเมื่อสิ้นเดือนสิงหาคม แต่เมื่อเริ่มมีการเปิดขายพันธบัตรแบงก์พาณิชย์หลายแห่งเริ่มออกโปรโมชัน บางแห่งเป็นการขยายระยะเวลารับฝากจากเดิมที่เพิ่งหมดเขตไป บางแห่งออกโปรโมชันใหม่ออกมา
หุ้นกู้ไทยพาณิชย์ไม่ถึงวันเกลี้ยง
ตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 4 แห่ง มีเพียงธนาคารกรุงไทยเท่านั้นที่ในขณะนี้ยังไม่มีโปรโมชันเงินฝากใหม่ออกมา ที่เหลือธนาคารกรุงเทพเงินฝาก 4 เดือนดอกเบี้ย 3% และฝาก 11 เดือนดอกเบี้ย 3.3% ธนาคารกสิกรไทยต่ออายุเงินฝากประจำขั้นบันไดดอกสูงว้าว! 18 เดือน ออกไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน ดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 3.61% ธนาคารไทยพาณิชย์มีเงินฝาก 7 เดือน 3.3% เงินฝาก 11 เดือน 3.46% เงินฝาก 22 เดือน 3.85% นอกจากนี้ยังเปิดขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ อายุ 12 ปี ดอกเบี้ย 4.65% เริ่มขายเมื่อ 5 กันยายนและหมดภายในวันเดียว
ส่วนธนาคารอื่นได้ออกโปรโมชันเงินฝากระยะสั้นออกมาเพื่อรักษาฐานลูกค้าด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า 3% ทั้งสิ้น
ทีมเงินฝากธนาคารพาณิชย์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้หลายคนยังไม่แน่ใจในทิศทางอัตราดอกเบี้ยว่าจะไปทางใด แต่เมื่อ 5 กันยายน 2555 คณะกรรมการนโยบายการเงินได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่เดิมคือ 3% จึงทำให้หลายคนตัดสินใจง่ายขึ้น
ด้านหนึ่งคือดอกเบี้ยคงมีโอกาสปรับขึ้นได้ยาก และอีกด้านหนึ่งก็มีแนวโน้มว่าดอกเบี้ยในระยะยาวคือมากกว่า 1 ปีอาจจะมีแนวโน้มปรับลง หลายคนจึงตัดสินใจที่จะล็อกเงินฝากของตัวเองกับโปรโมชันที่ตรงกับความต้องการ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนคุ้มค่า
“คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบฝากเงินในระยะยาว ยิ่งถ้าผลตอบแทนที่ได้ไม่จูงใจแล้วพวกเขาคงไม่เลือก เว้นแต่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีเงินออมมากพอและไม่ต้องการโยกเงินฝากบ่อยๆ แม้จะได้ผลตอบแทนไม่สูงนักก็ตาม”
ธ.ก.ส.ดอกสูงกว่าพันธบัตร
เมื่อลองตรวจสอบจากการออกโปรโมชันเงินฝากในระยะนี้ของแบงก์พาณิชย์ ที่ให้สูงที่สุดคงเป็นธนาคารไทยพาณิชย์กับเงินฝาก 22 เดือนที่ 3.85% แต่ก็เป็นการปรับลง เดิมบัญชีเงินฝาก 22 เดือนธนาคารกรุงไทยให้ดอกเบี้ย 4% หมดเขตไปเมื่อ 31 กรกฎาคม หรือธนาคารเกียรตินาคินเงินฝาก 18 เดือนให้ 4% เช่นกัน
ที่น่าสนใจมากคือบัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสุขใจ 8 ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ฝาก 16 เดือน อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเริ่มที่ 3.15-4% เฉลี่ยแล้วที่ 3.4% แม้จะดูว่าดอกเบี้ยที่ได้เทียบกับระยะเวลาฝากที่ใกล้เคียงกันต่ำกว่าของไทยพาณิชย์หรือของกสิกรไทย แต่เงินฝากของ ธ.ก.ส.รับที่ 3.4% เต็ม เพราะไม่ต้องเสียภาษีเงินฝาก ขณะที่แบงก์อื่นต้องเสียภาษีอีก 15% เช่นเดียวกับพันธบัตรรัฐบาล 6 ปี แม้จะให้ดอกเบี้ย 3.99% แต่ดอกเบี้ยสุทธิจริงๆ อยู่ที่ 3.3915% เท่านั้น ดังนั้นเงินฝากของ ธ.ก.ส.จึงให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลเล็กน้อยแต่ฝากสั้นกว่าหลายปี
ลำบากใจขายพันธบัตร
ผู้บริหารกองทุนรวมกล่าวว่า แม้ว่าทิศทางโดยรวมของอัตราดอกเบี้ยของไทยจะมีแนวโน้มที่ปรับลดลง แต่ไม่ได้หมายความว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์จะปรับตัวลงตามดอกเบี้ยนโยบายเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจที่ยังคงมีมากทั้งจากการปรับตัวหลังน้ำท่วม โครงการของรัฐบาล เช่น รถยนต์คันแรก การรับมือกับค่าแรงขั้นต่ำหรือการรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
“ตอนแรกคิดว่าแบงก์พาณิชย์คงเปิดทางให้กับพันธบัตรรัฐบาลขายจนครบระยะเวลา หลังจากนั้นค่อยมีโปรโมชันใหม่ออกมา แต่ผิดคาด บางแบงก์ขยายระยะเวลาโปรโมชันเดิมที่หมดเขตไปแล้วออกไปเช่นของกสิกรไทย และไทยพาณิชย์บางรายการ รวมถึงแบงก์กรุงเทพ ขณะนี้บางแบงก์ออกโปรโมชันใหม่เข้ามาสู้”
ค่ายไทยพาณิชย์ถือว่าจัดชุดใหญ่ออกมา มีทั้งหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท แม้จะอายุถึง 12 ปี แต่ดอกเบี้ย 4.65% ถือว่าประสบความสำเร็จมาก ขายหมดภายในวันแรกที่เปิดขาย ตามมาด้วยเงินฝาก 7 เดือน เงินฝาก 11 เดือนที่เป็นของเดิมและเพิ่มเงินฝาก 22 เดือน ดอกเบี้ยค่อนข้างสูง
เมื่อพนักงานแบงก์ต้องขายทั้งพันธบัตรและขายผลิตภัณฑ์เงินฝากของตัวเองด้วย จึงทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติขึ้น เพราะขายพันธบัตรตัวธนาคารได้ค่าธรรมเนียม ส่วนขายโปรดักส์ของแบงก์ได้ผลงาน ดังนั้นยอดขายพันธบัตรชุดนี้จึงไม่แรง อีกทั้งตัวอัตราดอกเบี้ยที่ให้ถือว่าไม่ดึงดูดใจและระยะเวลานานถึง 6 ปี
เมื่อตลาดเงินฝากไม่ได้มีแค่พันธบัตรรัฐบาลเพียงอย่างเดียว แต่มีสินค้าของแบงก์อื่นๆ มาเป็นทางเลือกเพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลต่อการขายพันธบัตรชุดนี้คงไม่สามารถขายได้เต็มวงเงิน 8 หมื่นล้านบาทสำหรับประชาชนทั่วไป สุดท้ายคงต้องเปิดให้นักลงทุนสถาบันเข้าไปซื้อ เพราะในแง่ของสถาบันแล้วดอกเบี้ยระดับนี้ถือว่าลงทุนได้ แม้ดอกเบี้ยจะไม่สูงนักแต่ปลอดภัยแล้วนำไปเฉลี่ยกับผลตอบแทนในส่วนอื่น
สำหรับโปรโมชันเงินฝากดอกเบี้ยพิเศษของธนาคารพาณิชย์ จะยังคงมีต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี 2555 แต่ตัวอัตราดอกเบี้ยคงต้องรอดูตามสภาพตลาดและสถานการณ์ของตลาดโลกอีกครั้ง ดังนั้นการตัดสินใจเลือกออมเงินรูปแบบใด คงต้องสำรวจความพร้อมของตนเองก่อน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด