ธปท.ห่วงภาคครัวเรือนอ่วม โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพเกษตรกรรมที่มีภาระหนี้สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่นๆ และสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ จึงเริ่มเห็นสัญญาณภาระหนี้สินมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง และอาจจะโดนกระหน่ำจากพิษเศรษฐกิจโลกหดตัว ทำให้ความมั่นคงของรายได้ลดลง เพราะรายได้ส่วนใหญ่เกษตรกรมาจากราคาพืชผลอิงในตลาดโลก และคาดไตรมาส 3 สินเชื่อโดยรวมหดตัว
รายงานข่าวจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุดเดือน ก.ค.55 ได้ประเมินภาคครัวเรือน พบว่า แม้เสถียรภาพภาคครัวเรือนในภาพรวมยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีในขณะนี้ แต่ภาคครัวเรือนก็มีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญอยู่ ซึ่งสะท้อนได้จากภาระหนี้สินมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับความมั่นคงทางด้านรายได้ของครัวเรือน ที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก อาจส่งผลให้ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนลดลง โดยเฉพาะครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จะมีภาระในการชำระหนี้สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่นๆ
จากการสำรวจ พบว่า ภาคครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งมีรายได้ขึ้นอยู่กับราคาพืชผลในตลาดโลก และครัวเรือนที่ประกอบอาชีพรับจ้างในภาคอุตสาหกรรมอาจจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของภาคส่งออก โดยเมื่อเปรียบเทียบเป็นกลุ่มอาชีพต่างๆ พบว่า ภาคครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีภาระหนี้สูงกว่ากลุ่มอื่น มีสัดส่วนรายจ่ายชำระหนี้ต่อรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 0.35 เท่า ซึ่งสูงกว่าการประเมินภาพรวมการภาระการชำระหนี้เฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่ 0.31 เท่า ขณะที่ครัวเรือนประกอบอาชีพแรงงาน และรับจ้างยังมียังมีภาระชำระหนี้อยู่ในระดับต่ำอยู่ที่ 0.21 เท่า
“ความเสี่ยงสำคัญที่อาจจะส่งผลต่อเสถียรภาพภาคครัวเรือนที่จะต้องจับตามองในระยะต่อไป ได้แก่ ความเสี่ยงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ที่อาจจะส่งผลกระทบมายังเศรษฐกิจไทยและเชื่อมโยงมายังรายได้ภาคครัวเรือน พร้อมทั้งความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง โดยเฉพาะภาคครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่มีรายได้ขึ้นอยู่กับราคาในตลาดโลก”
คาดไตรมาส 3 สินเชื่อหดตัว
รายงานดังกล่าวยังระบุว่า สำหรับแนวโน้มการขยายตัวสินเชื่อจะชะลอในไตรมาส 3 ของปีนี้ เพราะได้เร่งตัวสูงไปก่อนหน้านี้แล้ว จากการฟื้นตัวของภาคธุรกิจที่กลับมาเร่งผลิต และฟื้นฟูกิจการ รวมไปถึงแรงจูงใจมาตรการกระตุ้นของภาครัฐในโครงการรถยนต์คันแรก สอดคล้องกับผลการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินที่ดูแลงานด้านสินเชื่อ(Senior Loan Officer Survey) ณ สิ้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยภาพรวมคาดการณ์ความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจจะชะลอตัวทุกประเภท ทั้งในส่วนของสินเชื่อขนาดใหญ่ และธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) รวมไปถึงสินเชื่อครัวเรือนทั้งประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัย บัตรเครดิต เป็นต้น
รายงานข่าวจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุดเดือน ก.ค.55 ได้ประเมินภาคครัวเรือน พบว่า แม้เสถียรภาพภาคครัวเรือนในภาพรวมยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีในขณะนี้ แต่ภาคครัวเรือนก็มีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญอยู่ ซึ่งสะท้อนได้จากภาระหนี้สินมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับความมั่นคงทางด้านรายได้ของครัวเรือน ที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก อาจส่งผลให้ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนลดลง โดยเฉพาะครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จะมีภาระในการชำระหนี้สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่นๆ
จากการสำรวจ พบว่า ภาคครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งมีรายได้ขึ้นอยู่กับราคาพืชผลในตลาดโลก และครัวเรือนที่ประกอบอาชีพรับจ้างในภาคอุตสาหกรรมอาจจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของภาคส่งออก โดยเมื่อเปรียบเทียบเป็นกลุ่มอาชีพต่างๆ พบว่า ภาคครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีภาระหนี้สูงกว่ากลุ่มอื่น มีสัดส่วนรายจ่ายชำระหนี้ต่อรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 0.35 เท่า ซึ่งสูงกว่าการประเมินภาพรวมการภาระการชำระหนี้เฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่ 0.31 เท่า ขณะที่ครัวเรือนประกอบอาชีพแรงงาน และรับจ้างยังมียังมีภาระชำระหนี้อยู่ในระดับต่ำอยู่ที่ 0.21 เท่า
“ความเสี่ยงสำคัญที่อาจจะส่งผลต่อเสถียรภาพภาคครัวเรือนที่จะต้องจับตามองในระยะต่อไป ได้แก่ ความเสี่ยงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ที่อาจจะส่งผลกระทบมายังเศรษฐกิจไทยและเชื่อมโยงมายังรายได้ภาคครัวเรือน พร้อมทั้งความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง โดยเฉพาะภาคครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่มีรายได้ขึ้นอยู่กับราคาในตลาดโลก”
คาดไตรมาส 3 สินเชื่อหดตัว
รายงานดังกล่าวยังระบุว่า สำหรับแนวโน้มการขยายตัวสินเชื่อจะชะลอในไตรมาส 3 ของปีนี้ เพราะได้เร่งตัวสูงไปก่อนหน้านี้แล้ว จากการฟื้นตัวของภาคธุรกิจที่กลับมาเร่งผลิต และฟื้นฟูกิจการ รวมไปถึงแรงจูงใจมาตรการกระตุ้นของภาครัฐในโครงการรถยนต์คันแรก สอดคล้องกับผลการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินที่ดูแลงานด้านสินเชื่อ(Senior Loan Officer Survey) ณ สิ้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยภาพรวมคาดการณ์ความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจจะชะลอตัวทุกประเภท ทั้งในส่วนของสินเชื่อขนาดใหญ่ และธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) รวมไปถึงสินเชื่อครัวเรือนทั้งประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัย บัตรเครดิต เป็นต้น