ธปท.เตรียมเสนอข้อมูลหนี้ภาคครัวเรือนและการเติบโตสินเชื่อให้บอร์ดกนง.ใช้ประกอบการตัดสินใจ ในการประชุมวันที่ 17 ต.ค.นี้ และปีหน้าขอพ่วงคำถามความรู้ความเข้าใจการเงินและการก่อหนี้ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติที่ไปสำรวจครัวเรือนเพิ่มเติม หวังให้รู้ทิศทางข้อมูลภาคครัวเรือนมากขึ้น ยอมรับต้องศึกษาและจัดระเบียบข้อมูลหนี้ภาคครัวเรือนให้มากขึ้นทำให้แบงก์ชาติต้องทำงานเรื่องนี้อีกเยอะ
แหล่งข่าวจากธปท.กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 17 ต.ค.นี้ ธปท.จะนำเสนอข้อมูลหนี้ภาคครัวเรือนและการเติบโตของสินเชื่อให้กรรมการในบอร์ดกนง.รับทราบเพิ่มเติม ซึ่งเป็นความห่วงใยของบอร์ดกนง. จึงฝากการบ้านให้ธปท.ช่วยดูเรื่องนี้มากขึ้นในการประชุมครั้งที่ผ่านมาพร้อมทั้งได้ประสานงานไปยังสำนักงานสถิติแห่งชาติขอพ่วงคำถามที่เน้นความรู้ความเข้าใจทางการเงินและการก่อหนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มเติม ซึ่งสำนักงานสถิติฯจะทำการสำรวจภาคครัวเรือนครั้งต่อไปในปีหน้า เพื่อให้ได้ข้อมูลของภาคครัวเรือนมากขึ้นและรู้ทิศทางต่อไป
“แม้ข้อมูลอาจมีไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะข้อมูลภาคครัวเรือนยังต้องอ้างอิงมาจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งสำรวจในทุก 2 ปี รวมไปถึงสำรวจข้อมูลในระบบสถาบันการเงิน ซึ่งยอมรับว่าส่วนนี้ยังไม่นับรวมหนี้นอกระบบที่ยังมีอีกเยอะ จึงเป็นเรื่องยากในการรวบรวมข้อมูลที่กระจัดกระจายตามแหล่งต่างๆ มารวบไว้ที่เดียวแต่แบงก์ชาติเห็นว่าขณะนี้หลักการสำคัญควรมีการศึกษาข้อมูลหนี้ภาคครัวเรือนมากขึ้น พร้อมทั้งจัดระเบียบข้อมูลหนี้ภาคครัวเรือนด้วย จึงยังเป็นจุดที่เราต้องทำงานอีกเยอะ”แหล่งข่าวกล่าว
ส่วนกรณีที่ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อล่าสุดฉบับเดือนก.ค.เห็นว่ากลุ่มอาชีพเกษตรกรรมอาจจะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุดที่จะมีภาระหนี้สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่นๆ ซึ่งเริ่มเห็นสัญญาณภาระหนี้สินมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องและอาจจะโดนกระหน่ำผลจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความมั่นคงรายได้ลดลงนั้น แหล่งข่าวธปท.รายเดิม กล่าวว่าการสำรวจดังกล่าวมองว่าหากเศรษฐกิจโลกอาจจะไม่ดีเท่าเก่า ขณะที่การก่อหนี้อาจจะทำไว้ในช่วงที่คาดหวังว่าราคาพืชผลจะสูงก็มีความเป็นไปได้ ฉะนั้น เรื่องนี้ธปท.ยังคงติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดต่อไป
อนึ่ง จากการสำรวจดังกล่าว พบว่า ภาคครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีภาระหนี้สูงกว่ากลุ่มอื่น มีสัดส่วนรายจ่ายชำระหนี้ต่อรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 0.35 เท่า ซึ่งสูงกว่าการประเมินภาพรวมการภาระการชำระหนี้เฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่ 0.31 เท่า ขณะที่ครัวเรือนประกอบอาชีพแรงงานและรับจ้างยังมียังมีภาระชำระหนี้อยู่ในระดับต่ำที่ 0.21 เท่าจึงเป็นความเสี่ยงที่สำคัญอาจจะส่งผลต่อเสถียรภาพภาคครัวเรือน โดยเฉพาะความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางในอาชีพเกษตรกรรมที่รายได้ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก
แหล่งข่าวจากธปท.กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 17 ต.ค.นี้ ธปท.จะนำเสนอข้อมูลหนี้ภาคครัวเรือนและการเติบโตของสินเชื่อให้กรรมการในบอร์ดกนง.รับทราบเพิ่มเติม ซึ่งเป็นความห่วงใยของบอร์ดกนง. จึงฝากการบ้านให้ธปท.ช่วยดูเรื่องนี้มากขึ้นในการประชุมครั้งที่ผ่านมาพร้อมทั้งได้ประสานงานไปยังสำนักงานสถิติแห่งชาติขอพ่วงคำถามที่เน้นความรู้ความเข้าใจทางการเงินและการก่อหนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มเติม ซึ่งสำนักงานสถิติฯจะทำการสำรวจภาคครัวเรือนครั้งต่อไปในปีหน้า เพื่อให้ได้ข้อมูลของภาคครัวเรือนมากขึ้นและรู้ทิศทางต่อไป
“แม้ข้อมูลอาจมีไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะข้อมูลภาคครัวเรือนยังต้องอ้างอิงมาจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งสำรวจในทุก 2 ปี รวมไปถึงสำรวจข้อมูลในระบบสถาบันการเงิน ซึ่งยอมรับว่าส่วนนี้ยังไม่นับรวมหนี้นอกระบบที่ยังมีอีกเยอะ จึงเป็นเรื่องยากในการรวบรวมข้อมูลที่กระจัดกระจายตามแหล่งต่างๆ มารวบไว้ที่เดียวแต่แบงก์ชาติเห็นว่าขณะนี้หลักการสำคัญควรมีการศึกษาข้อมูลหนี้ภาคครัวเรือนมากขึ้น พร้อมทั้งจัดระเบียบข้อมูลหนี้ภาคครัวเรือนด้วย จึงยังเป็นจุดที่เราต้องทำงานอีกเยอะ”แหล่งข่าวกล่าว
ส่วนกรณีที่ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อล่าสุดฉบับเดือนก.ค.เห็นว่ากลุ่มอาชีพเกษตรกรรมอาจจะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุดที่จะมีภาระหนี้สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่นๆ ซึ่งเริ่มเห็นสัญญาณภาระหนี้สินมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องและอาจจะโดนกระหน่ำผลจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความมั่นคงรายได้ลดลงนั้น แหล่งข่าวธปท.รายเดิม กล่าวว่าการสำรวจดังกล่าวมองว่าหากเศรษฐกิจโลกอาจจะไม่ดีเท่าเก่า ขณะที่การก่อหนี้อาจจะทำไว้ในช่วงที่คาดหวังว่าราคาพืชผลจะสูงก็มีความเป็นไปได้ ฉะนั้น เรื่องนี้ธปท.ยังคงติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดต่อไป
อนึ่ง จากการสำรวจดังกล่าว พบว่า ภาคครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีภาระหนี้สูงกว่ากลุ่มอื่น มีสัดส่วนรายจ่ายชำระหนี้ต่อรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 0.35 เท่า ซึ่งสูงกว่าการประเมินภาพรวมการภาระการชำระหนี้เฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่ 0.31 เท่า ขณะที่ครัวเรือนประกอบอาชีพแรงงานและรับจ้างยังมียังมีภาระชำระหนี้อยู่ในระดับต่ำที่ 0.21 เท่าจึงเป็นความเสี่ยงที่สำคัญอาจจะส่งผลต่อเสถียรภาพภาคครัวเรือน โดยเฉพาะความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางในอาชีพเกษตรกรรมที่รายได้ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก