ASTVผู้จัดการรายวัน - สบน.เผยทุนต่างชาติพร้อมวิ่งเข้าไทยหลัง S&P จ่อปรับเรตติ้ง 27 ชาติยุโรป “จักรกฤศฏิ์” ระบุ ตลาดตราสารหนี้ยังมีช่องว่างให้ต่างชาติเข้าลงทุนได้อีกมาก เตรียมปรับสัดส่วนระหว่างรัฐ-เอกชนอยู่ที่ 50% หวังสร้างความสมดุลและรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า จากการที่บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ หรือ S&P ระบุจะมีการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของสมาชิกสหภาพยุโรป 27 ประเทศนั้น จะส่งผลให้เงินทุนไหลมายังภูมิภาคเอเชียมากขึ้น เนื่องจากไม่มีตลาดที่ให้ผลตอบแทนที่ดี และมีความมั่นคงเหลืออยู่มากนัก ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในภูมิภาคนี้ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน
โดยตลาดตราสารหนี้ของประเทศไทย ยังมีช่องว่างเหลืออีกมากสำหรับเงินลงทุนจากต่างชาติโดยในปัจจุบันสัดส่วนตราสารหนี้ที่ถือโดยนักลงทุนต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 9% ของตราสารหนี้ทั้งหมด ยังสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกมาอยู่ที่ระดับไม่เกิน 15% ถือเป็นสัดส่วนการถือพันธบัตรที่เหมาะสมของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากหากถือครองในอัตราส่วนที่มากกว่านี้หากมีการซื้อขายในปริมาณมากจะส่งผลต่อตลาดตราสารหนี้ได้
“ตอนนี้ตลาดไม่มีที่ไปทั้งยุโรปและสหรัฐฯ นักลงทุนไม่ค่อยอยากลงทุนนักตลาดตราสารหนี้ของไทยยังคงเป็นที่น่าสนใจของต่างชาติและมีช่องว่างเหลือให้ลงทุนอีก แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอันดับเครดิตของตราสารนั้นๆ ด้วย และข้อจำกัดอื่นๆ ของนักลงทุนที่ต้องมีการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนอย่างมีความเหมาะสม” นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว
นายจักรกฤศฏิ์ กล่าวว่า สำหรับโครงสร้างการออกตราสารหนี้ของไทยในปัจจุบันนั้น บทบาทหลักยังคงเป็นของภาครัฐโดย สบน.และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อยู่ โดยมูลค่าพันธบัตรทั้งหมดเป็นการออกโดยภาครัฐถึง 75% ที่เหลือเป็นภาคเอกชนถืออีก 25% เท่านั้น ดังนั้น สบน.จะพยายามผลักดันให้สัดส่วนการออกตราสารหนี้ระหว่างภาครัฐและเอกชนให้เหมาะสมที่ 50% เท่ากัน โดยอันดับเครดิตของหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชนนั้นล้วนแต่มีความแข็งแกร่งอยู่ที่ระดับ A ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2555 สบน.มีแผนการก่อหนี้อีก 8 แสนล้านบาท โดยรวมทั้งการชำระคืนหนี้เก่าและก่อหนี้ใหม่ แบ่งเป็นพันธบัตรอ้างอิงทุกอายุและพันธบัตรอ้างอิงอัตราเงินเฟ้อจำนวน 4 แสนล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงิน 1.25 แสนล้านบาท ตั๋วเงินคลัง 6.5 หมื่นล้านบาท พันธบัตรดอกเบี้ยลอยตัว 5 หมื่นล้านบาทและพันธบัตรออมทรัพย์อีก 1 แสนล้านบาท ซึ่งตลาดมีความต้องการพันธบัตรอยู่อีกในปริมาณสูง
“ความต้องการของตลาดในขณะนี้ยังมีอยู่มากโดยปริมาณพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาล 8 แสนล้านบาทนั้น มีความต้องการซื้อมากกว่าถึง 1.2 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะเงินจากกลุ่มนักลงทุนสถาบันทั้งประกันชีวิต ประกันสังคมและกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่ต้องการซื้อโดยเฉพาะพันธบัตรที่มีอายุ 10 ปี 20 ปี 30 ปีและ 50 ปี โดย สบน.จะทยอยออกเพื่อตอบสนองตลาดตามความเหมาะสมต่อไป” นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า จากการที่บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ หรือ S&P ระบุจะมีการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของสมาชิกสหภาพยุโรป 27 ประเทศนั้น จะส่งผลให้เงินทุนไหลมายังภูมิภาคเอเชียมากขึ้น เนื่องจากไม่มีตลาดที่ให้ผลตอบแทนที่ดี และมีความมั่นคงเหลืออยู่มากนัก ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในภูมิภาคนี้ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน
โดยตลาดตราสารหนี้ของประเทศไทย ยังมีช่องว่างเหลืออีกมากสำหรับเงินลงทุนจากต่างชาติโดยในปัจจุบันสัดส่วนตราสารหนี้ที่ถือโดยนักลงทุนต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 9% ของตราสารหนี้ทั้งหมด ยังสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกมาอยู่ที่ระดับไม่เกิน 15% ถือเป็นสัดส่วนการถือพันธบัตรที่เหมาะสมของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากหากถือครองในอัตราส่วนที่มากกว่านี้หากมีการซื้อขายในปริมาณมากจะส่งผลต่อตลาดตราสารหนี้ได้
“ตอนนี้ตลาดไม่มีที่ไปทั้งยุโรปและสหรัฐฯ นักลงทุนไม่ค่อยอยากลงทุนนักตลาดตราสารหนี้ของไทยยังคงเป็นที่น่าสนใจของต่างชาติและมีช่องว่างเหลือให้ลงทุนอีก แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอันดับเครดิตของตราสารนั้นๆ ด้วย และข้อจำกัดอื่นๆ ของนักลงทุนที่ต้องมีการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนอย่างมีความเหมาะสม” นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว
นายจักรกฤศฏิ์ กล่าวว่า สำหรับโครงสร้างการออกตราสารหนี้ของไทยในปัจจุบันนั้น บทบาทหลักยังคงเป็นของภาครัฐโดย สบน.และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อยู่ โดยมูลค่าพันธบัตรทั้งหมดเป็นการออกโดยภาครัฐถึง 75% ที่เหลือเป็นภาคเอกชนถืออีก 25% เท่านั้น ดังนั้น สบน.จะพยายามผลักดันให้สัดส่วนการออกตราสารหนี้ระหว่างภาครัฐและเอกชนให้เหมาะสมที่ 50% เท่ากัน โดยอันดับเครดิตของหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชนนั้นล้วนแต่มีความแข็งแกร่งอยู่ที่ระดับ A ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2555 สบน.มีแผนการก่อหนี้อีก 8 แสนล้านบาท โดยรวมทั้งการชำระคืนหนี้เก่าและก่อหนี้ใหม่ แบ่งเป็นพันธบัตรอ้างอิงทุกอายุและพันธบัตรอ้างอิงอัตราเงินเฟ้อจำนวน 4 แสนล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงิน 1.25 แสนล้านบาท ตั๋วเงินคลัง 6.5 หมื่นล้านบาท พันธบัตรดอกเบี้ยลอยตัว 5 หมื่นล้านบาทและพันธบัตรออมทรัพย์อีก 1 แสนล้านบาท ซึ่งตลาดมีความต้องการพันธบัตรอยู่อีกในปริมาณสูง
“ความต้องการของตลาดในขณะนี้ยังมีอยู่มากโดยปริมาณพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาล 8 แสนล้านบาทนั้น มีความต้องการซื้อมากกว่าถึง 1.2 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะเงินจากกลุ่มนักลงทุนสถาบันทั้งประกันชีวิต ประกันสังคมและกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่ต้องการซื้อโดยเฉพาะพันธบัตรที่มีอายุ 10 ปี 20 ปี 30 ปีและ 50 ปี โดย สบน.จะทยอยออกเพื่อตอบสนองตลาดตามความเหมาะสมต่อไป” นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว