บลจ. กสิกรไทย เล็งดอกเบี้ยนโยบายปีหน้าขยับลง ก่อนทรงตัวยาวตลอดปี 55 เตรียมขายกองทุนบอนด์นอก 6 เดือน ชวนผู้ลงทุนชิงล็อกผลตอบแทน 3.55% ต่อปี เปิดขายครั้งเดียว 22 - 28 พฤศจิกายน นี้
นายประเสริฐ ขนบธรรมชัย รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ. กสิกรไทย) เปิดเผยถึงมุมมองของ บลจ. กสิกรไทย ต่อการลงทุนในตราสารหนี้ว่า ปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐฯ ประกอบกับราคาสินค้าผู้บริโภค เช่น ราคาอาหารที่ปรับตัวลดลงในปีนี้ ส่งผลให้ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อเริ่มคลี่คลายลงทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา หลายประเทศในเอเชียรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเห็นได้ชัดจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เปลี่ยนการดำเนินนโยบายการเงินจากภายใต้กรอบอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 0.5%-3.0% ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2551 มาเป็นดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ 1.5%-4.5% ทั้งนี้ บลจ. กสิกรไทย คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับลดลงจากปัจจุบัน ที่ 3.50% ลงมา 0.25% - 0.50% ภายในไตรมาสแรกของปี 2555 และน่าจะทรงตัวในระดับดังกล่าวไปตลอดปี ซึ่งขณะนี้ ตลาดตราสารหนี้ก็สะท้อนอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มว่าจะลดลงไปแล้วประมาณ 0.25%
ทั้งนี้ จากการคาดการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายและภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวข้างต้น บลจ. กสิกรไทย จึงแนะนำให้ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่มีอายุประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี เพื่อล็อกโอกาสรับผลตอบแทนไว้ล่วงหน้า โดย บลจ. กสิกรไทย จะเน้นการเสนอขายกองทุนตราสารหนี้ประเภทกำหนดอายุโครงการที่มีอายุ 6 เดือน - 1 ปีที่มีการกระจายการลงทุนไปในตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศที่มีฐานะการเงินดีและมีความน่าเชื่อถือเพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่น่าสนใจยิ่งขึ้น
โดยระหว่างวันที่ 22 - 28 พฤศจิกายน 2554 บลจ.กสิกรไทย จะเสนอขายกองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ 6 เดือน เอเอฟ (KFI6MAF) อายุประมาณ 6 เดือน มูลค่าโครงการ 10,000 ล้านบาท ประมาณการผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายกองทุนที่ 3.55% ต่อปี โดยลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นของสถาบันการเงินในต่างประเทศ ได้แก่ ตราสารหนี้ระยะสั้นของ ICBC Asia สาขาฮ่องกง เงินฝาก Emirates NBD Bank และ Union National Bank ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลไทยและตั๋วแลกเงินบริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด โดยกองทุนดังกล่าวมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน อย่างไรก็ตาม จะยังคงทางเลือกสำหรับการลงทุนระยะสั้นไว้สำหรับผู้ลงทุนด้วยกองทุนเปิดเค คุ้มครองเงินต้นตราสารหนี้ไทย 3 เดือน เอ็ม (KPPTF3MM) มูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท โอกาสรับผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายกองทุนที่ 3.00% ต่อปี โดยมุ่งลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทยหรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้น
นายประเสริฐกล่าวว่า สำหรับการออกกองทุนตราสารหนี้ของ บลจ. กสิกรไทย เรายังคงเสนอขายกองทุนในกลุ่มกองทุนเปิดเค คุ้มครองเงินต้น และกองทุนเปิดเค ตราสารหนี้เป็นประจำทุกสัปดาห์ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงที่เกิดวิกฤตน้ำท่วมก็ยังคงมีเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนในกองทุนกลุ่มนี้โดยตลอด ในแง่ตราสารที่ลงทุน เราให้ความสำคัญกับการคัดตราสารหนี้ใหม่ๆ ที่ผู้ออกตราสารมีความน่าเชื่อถือสูง และมีความสามารถในการชำระหนี้ โดยกระจายการลงทุนไปในหลายภูมิภาคและหลากหลายสกุลเงิน อย่างที่ผ่านมาเราก็เป็นผู้นำตลาดในการริเริ่มผสมผสานการลงทุนในเงินฝากของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และประเทศสิงคโปร์ เงินฝากในสกุลเงินหยวน รวมถึงตราสารหนี้ของบริษัทน้ำมันในเกาหลีใต้เข้ามาในพอร์ต เพื่อให้ผู้ลงทุนมีโอกาสรับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น และยังคงใช้นโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนเพื่อช่วยปิดความเสี่ยงจากค่าเงิน ซึ่งผู้ลงทุนสามารถคลายความกังวลในความเสี่ยงด้านนี้ไปได้
นอกจากนี้ กองทุนในกลุ่มดังกล่าวยังมีความน่าสนใจตรงที่ผลตอบแทนจากการลงทุนไม่ต้องเสียภาษี จึงเป็นอีกทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ลงทุนที่อาจรับความเสี่ยงได้ไม่มากนักแต่ต้องการโอกาสรับผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจกว่าการฝากเงินในช่วงที่ทิศทางดอกเบี้ยเริ่มปรับสู่ขาลง
นายประเสริฐ ขนบธรรมชัย รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ. กสิกรไทย) เปิดเผยถึงมุมมองของ บลจ. กสิกรไทย ต่อการลงทุนในตราสารหนี้ว่า ปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐฯ ประกอบกับราคาสินค้าผู้บริโภค เช่น ราคาอาหารที่ปรับตัวลดลงในปีนี้ ส่งผลให้ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อเริ่มคลี่คลายลงทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา หลายประเทศในเอเชียรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเห็นได้ชัดจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เปลี่ยนการดำเนินนโยบายการเงินจากภายใต้กรอบอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 0.5%-3.0% ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2551 มาเป็นดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ 1.5%-4.5% ทั้งนี้ บลจ. กสิกรไทย คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับลดลงจากปัจจุบัน ที่ 3.50% ลงมา 0.25% - 0.50% ภายในไตรมาสแรกของปี 2555 และน่าจะทรงตัวในระดับดังกล่าวไปตลอดปี ซึ่งขณะนี้ ตลาดตราสารหนี้ก็สะท้อนอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มว่าจะลดลงไปแล้วประมาณ 0.25%
ทั้งนี้ จากการคาดการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายและภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวข้างต้น บลจ. กสิกรไทย จึงแนะนำให้ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่มีอายุประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี เพื่อล็อกโอกาสรับผลตอบแทนไว้ล่วงหน้า โดย บลจ. กสิกรไทย จะเน้นการเสนอขายกองทุนตราสารหนี้ประเภทกำหนดอายุโครงการที่มีอายุ 6 เดือน - 1 ปีที่มีการกระจายการลงทุนไปในตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศที่มีฐานะการเงินดีและมีความน่าเชื่อถือเพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่น่าสนใจยิ่งขึ้น
โดยระหว่างวันที่ 22 - 28 พฤศจิกายน 2554 บลจ.กสิกรไทย จะเสนอขายกองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ 6 เดือน เอเอฟ (KFI6MAF) อายุประมาณ 6 เดือน มูลค่าโครงการ 10,000 ล้านบาท ประมาณการผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายกองทุนที่ 3.55% ต่อปี โดยลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นของสถาบันการเงินในต่างประเทศ ได้แก่ ตราสารหนี้ระยะสั้นของ ICBC Asia สาขาฮ่องกง เงินฝาก Emirates NBD Bank และ Union National Bank ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลไทยและตั๋วแลกเงินบริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด โดยกองทุนดังกล่าวมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน อย่างไรก็ตาม จะยังคงทางเลือกสำหรับการลงทุนระยะสั้นไว้สำหรับผู้ลงทุนด้วยกองทุนเปิดเค คุ้มครองเงินต้นตราสารหนี้ไทย 3 เดือน เอ็ม (KPPTF3MM) มูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท โอกาสรับผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายกองทุนที่ 3.00% ต่อปี โดยมุ่งลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทยหรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้น
นายประเสริฐกล่าวว่า สำหรับการออกกองทุนตราสารหนี้ของ บลจ. กสิกรไทย เรายังคงเสนอขายกองทุนในกลุ่มกองทุนเปิดเค คุ้มครองเงินต้น และกองทุนเปิดเค ตราสารหนี้เป็นประจำทุกสัปดาห์ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงที่เกิดวิกฤตน้ำท่วมก็ยังคงมีเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนในกองทุนกลุ่มนี้โดยตลอด ในแง่ตราสารที่ลงทุน เราให้ความสำคัญกับการคัดตราสารหนี้ใหม่ๆ ที่ผู้ออกตราสารมีความน่าเชื่อถือสูง และมีความสามารถในการชำระหนี้ โดยกระจายการลงทุนไปในหลายภูมิภาคและหลากหลายสกุลเงิน อย่างที่ผ่านมาเราก็เป็นผู้นำตลาดในการริเริ่มผสมผสานการลงทุนในเงินฝากของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และประเทศสิงคโปร์ เงินฝากในสกุลเงินหยวน รวมถึงตราสารหนี้ของบริษัทน้ำมันในเกาหลีใต้เข้ามาในพอร์ต เพื่อให้ผู้ลงทุนมีโอกาสรับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น และยังคงใช้นโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนเพื่อช่วยปิดความเสี่ยงจากค่าเงิน ซึ่งผู้ลงทุนสามารถคลายความกังวลในความเสี่ยงด้านนี้ไปได้
นอกจากนี้ กองทุนในกลุ่มดังกล่าวยังมีความน่าสนใจตรงที่ผลตอบแทนจากการลงทุนไม่ต้องเสียภาษี จึงเป็นอีกทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ลงทุนที่อาจรับความเสี่ยงได้ไม่มากนักแต่ต้องการโอกาสรับผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจกว่าการฝากเงินในช่วงที่ทิศทางดอกเบี้ยเริ่มปรับสู่ขาลง