ครม.เศรษฐกิจไฟเขียวแผนพัฒนาตลาดทุนไทย และแผนแม่บทการเงินระยะ 2 หวังลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน รมว.คลัง ชี้ ถึงเวลาปฏิรูปตลาดหุ้นเหตุอ่อนไหวต่อข่าวลือภาพลักษณ์เหมือนแหล่งการพนัน ด้านสถาบันการเงินเน้นแบงก์แข่งขันได้ไม่เปิดให้ใบอนุญาตเพิ่มเติม ยกเว้นรองรับไมโครไฟแนนซ์คาดเริ่มได้ปี 55
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ มีมติเห็นชอบแผนพัฒนาตลาดทุนไทยและแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 ซึ่งแผนพัฒนาตลาดทุนนั้นถือเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการจัดตั้งตลาดทุนไทย ขณะที่แผนแม่บทการเงินเป็นแผนต่อเนื่องจากแผน 1 ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลต่อการสร้างแหล่งที่มาของเงินทุนที่เข้มแข็งขึ้นในอีก 5 ปี นับจากนี้ โดยในส่วนของประชาชนจะเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของกลุ่มที่ยังไม่มีบัญชีเงินฝากและความสามารถในการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีประมาณ 10% ของประชาชนทั้งหมด ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีแผนจะให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ชัดเจนอยู่แล้ว
ส่วนการพัฒนาตลาดทุนจะช่วยให้เอกชนมีต้นทุนลดลง อีกทั้งจากความอ่อนไหวของข่าวลือช่วงที่ผ่านมาสะท้อนความจำเป็นต้องปฏิรูปตลาดทุนไทย เพราะที่ผ่านมามีภาพลักษณ์เป็นแหล่งพนัน มีการใช้ข่าวลือปั่นหุ้น ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมไม่สามารถใช้ตลาดทุนเป็นกลไกลหลักในการฟื้นเศรษฐกิจได้
ดันมูลค่าตลาดโต 130% ของจีดีพี
นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า แผนพัฒนาตลาดทุนไทย ระยะ 5 ปี (52-56) ประกอบด้วย 8 แผนหลัก 34 แผนย่อยทั้งการเปิดเสรี การเพิ่มประสิทธิภาพของสถาบันตัวกลาง การแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนำไปสู่ตัวชี้วัดในปีสุดท้ายคือมีประชาชนเข้าลงทุนในตลาดหุ้นจาก 2.4% เป็น 5% ของจำนวนประชากรทั้งหมด มูลค่าตลาดทุนจาก 86% เป็น 130% ของจีดีพี และมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ 11 ประเภท
ปิดทางให้ไลเซนส์แบงก์พาณิชย์
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (มาสเตอร์แพลน) ระยะที่ 2 จะมีระยะเวลาในการดำเนินการช่วงปี 2553-2557 โดยมีมาตรการสำคัญ 3 ส่วน คือ 1.ธปท.จะส่งเสริมการแข่งขันและการเข้าถึงบริการทางการเงิน โดยจะเปิดเสรีทางการเงินมากขึ้น โดยจำนวนแบงก์พาณิชย์ในปัจจุบันที่มีอยู่ 14-15 แห่ง ถือว่ามากพอสมควรจึงจะไม่ให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์แล้ว และจะให้ใบอนุญาตแต่ผู้ให้บริการรายใหม่ที่สามารถปิดช่องว่างการให้บริการทางการเงินที่ปัจจุบันไม่มี เพื่อเสริมส่วนที่ขาดและป้องกันการผูกขาด
ส่วนที่ 2 เป็นลดต้นทุนของระบบ โดยธปท.จะลดกฎระเบียบที่เป็นข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจสถาบันการเงินลง และส่วนที่ 3 การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินทั้งกฎหมายการเงิน โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เพื่อลดต้นทุนการให้บริการทางการเงินและสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการ รวมถึงด้านบุคลากรทางการเงินที่ต้องมีความรู้และความชำนาญ
แปลงสภาพ ตลท.เป็นบริษัทมหาชน
ด้าน นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลท.กล่าวว่า ตลท.มีแผนจะแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนในปี 2554 นี้ เพื่อปรับโครงสร้างองค์กรให้เป็นรูปแบบเชิงธุรกิจมากขึ้น และสามารถแข่งขันกับตลาดทุนต่างชาติได้ สำหรับกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุนจะต้องมีการพิจารณาอีกครั้งว่าสัดส่วนผู้ถือหุ้นในกองทุนนี้ รวมถึงรูปแบบต่างๆ ต้องพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ มีมติเห็นชอบแผนพัฒนาตลาดทุนไทยและแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 ซึ่งแผนพัฒนาตลาดทุนนั้นถือเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการจัดตั้งตลาดทุนไทย ขณะที่แผนแม่บทการเงินเป็นแผนต่อเนื่องจากแผน 1 ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลต่อการสร้างแหล่งที่มาของเงินทุนที่เข้มแข็งขึ้นในอีก 5 ปี นับจากนี้ โดยในส่วนของประชาชนจะเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของกลุ่มที่ยังไม่มีบัญชีเงินฝากและความสามารถในการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีประมาณ 10% ของประชาชนทั้งหมด ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีแผนจะให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ชัดเจนอยู่แล้ว
ส่วนการพัฒนาตลาดทุนจะช่วยให้เอกชนมีต้นทุนลดลง อีกทั้งจากความอ่อนไหวของข่าวลือช่วงที่ผ่านมาสะท้อนความจำเป็นต้องปฏิรูปตลาดทุนไทย เพราะที่ผ่านมามีภาพลักษณ์เป็นแหล่งพนัน มีการใช้ข่าวลือปั่นหุ้น ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมไม่สามารถใช้ตลาดทุนเป็นกลไกลหลักในการฟื้นเศรษฐกิจได้
ดันมูลค่าตลาดโต 130% ของจีดีพี
นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า แผนพัฒนาตลาดทุนไทย ระยะ 5 ปี (52-56) ประกอบด้วย 8 แผนหลัก 34 แผนย่อยทั้งการเปิดเสรี การเพิ่มประสิทธิภาพของสถาบันตัวกลาง การแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนำไปสู่ตัวชี้วัดในปีสุดท้ายคือมีประชาชนเข้าลงทุนในตลาดหุ้นจาก 2.4% เป็น 5% ของจำนวนประชากรทั้งหมด มูลค่าตลาดทุนจาก 86% เป็น 130% ของจีดีพี และมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ 11 ประเภท
ปิดทางให้ไลเซนส์แบงก์พาณิชย์
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (มาสเตอร์แพลน) ระยะที่ 2 จะมีระยะเวลาในการดำเนินการช่วงปี 2553-2557 โดยมีมาตรการสำคัญ 3 ส่วน คือ 1.ธปท.จะส่งเสริมการแข่งขันและการเข้าถึงบริการทางการเงิน โดยจะเปิดเสรีทางการเงินมากขึ้น โดยจำนวนแบงก์พาณิชย์ในปัจจุบันที่มีอยู่ 14-15 แห่ง ถือว่ามากพอสมควรจึงจะไม่ให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์แล้ว และจะให้ใบอนุญาตแต่ผู้ให้บริการรายใหม่ที่สามารถปิดช่องว่างการให้บริการทางการเงินที่ปัจจุบันไม่มี เพื่อเสริมส่วนที่ขาดและป้องกันการผูกขาด
ส่วนที่ 2 เป็นลดต้นทุนของระบบ โดยธปท.จะลดกฎระเบียบที่เป็นข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจสถาบันการเงินลง และส่วนที่ 3 การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินทั้งกฎหมายการเงิน โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เพื่อลดต้นทุนการให้บริการทางการเงินและสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการ รวมถึงด้านบุคลากรทางการเงินที่ต้องมีความรู้และความชำนาญ
แปลงสภาพ ตลท.เป็นบริษัทมหาชน
ด้าน นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลท.กล่าวว่า ตลท.มีแผนจะแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนในปี 2554 นี้ เพื่อปรับโครงสร้างองค์กรให้เป็นรูปแบบเชิงธุรกิจมากขึ้น และสามารถแข่งขันกับตลาดทุนต่างชาติได้ สำหรับกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุนจะต้องมีการพิจารณาอีกครั้งว่าสัดส่วนผู้ถือหุ้นในกองทุนนี้ รวมถึงรูปแบบต่างๆ ต้องพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง