ธอส.ปรับประเมินรายได้ผู้กู้ใหม่โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ทำงานในบริษัทส่งออกและท่องเที่ยว หลังเศรษฐกิจหดตัว พร้อมตรวจเข้มความมั่นคงของรายได้ก่อนปล่อยกู้หวั่นยอด NPL ขยับเพิ่ม พร้อมปฏิเสธลดดอกเบี้ยเหลือ 3% ช่วยธุรกิจอสังหาฯเหตุต้นทุนอยู่ที่ 4% ด้านเอกชนเชื่อคอนโดฯไม่ล้นตลาด
วานนี้ (30 ต.ค.)นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในฐานะเป็นประธานการเปิดงานสัมมนาหัวข้อ ”วิเคราะห์คอนโดแนวรถไฟฟ้า” กล่าวว่า ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลให้เกิดปัญหาเงินตรึงตัวในปัจจุบัน ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อโครงการ ทำให้กลุ่มผู้ประกอบอสังหาริมทรัพย์ หาเครื่องมือและกลยุทธ์ในการขอเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงิน เช่น เจรจาลูกค้าให้ใช้เงินกู้จากธนาคารแห่งเดียวกับธนาคารที่ปล่อยกู้สินเชื่อโครงการ ทำให้มีลูกค้ารายย่อยเข้ามาขอกู้เงินกับ ธอส.ลดลง แต่อย่างไรก็ตามหลังจากที่ภาวะเงินตึงตัวเพิ่มความรุนแรงขึ้น แนวโน้มการจำกัดวงเงินปล่อยกู้โครงการมีสัดส่วนลดลง จะทำให้ลูกค้ารายย่อยกลับมาขอสินเชื่อจาก ธอส.เพิ่มขึ้น
สำหรับอัตราการปฏิเสธสินเชื่อของสถาบันการเงินพาณิชย์ต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการเข้มงวดการพิจารณาปล่อยกู้ของแต่ละสถาบันการเงิน แต่ในส่วนของ ธอส. นั้นยืนยันว่าไม่ได้มีการปรับนโยบายการพิจารณาปล่อยสินเชื่อใหม่ หรือมีการเพิ่มเกณฑ์การพิจาณา แต่ยังคงใช้เกณฑ์เดิม ส่วนสาเหตุที่มีการปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายไม่มีการตรวจสอบประวัติการเงิน และรายได้ของลูกค้าว่ามีความสามารถผ่อนส่งได้หรือไม่ ทำให้มีจำนวนลูกค้าที่ขาดคุณสมบัติหรือมีคุณสมบัติไม่ถึงเกณฑ์มากขึ้น
“ธอส.ไม่ได้ปรับเกณฑ์หรือมีการปรับเปลี่ยนนโยบายการปล่อยสินเชื่อใหม่ แต่มีการเข้มงวดในการพิจารณาความสามารถของลูกค้าเพื่อป้องปัญหาการเกิด สินเชื่อด้อยคุณภาพ หรือ NPL ทำให้ต้องมาตามแก้ไขในภายหลัง ส่วนผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกน่าจะส่งผลกระทบไทยช่วงปี 52 ซึ่งต้องจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด”นายขรรค์กล่าว
ส่วนการป้องกันการเกิด NPL ธอส.ต้องมีการเข้มงวดการพิจารณาที่มาและความมั่นคงของรายได้ และบริษัทหรือธุรกิจที่ผู้ขอสินเชื่อสังกัดอยู่ เนื่องจากผลกระทบจากเศรษฐกิจของประเทศในปีหน้าจะส่งผลให้ผู้ขอสินเชื่อมีรายได้ลดลง โดยเฉพาะในภาคธุรกิจส่งออก และการท่องเที่ยว โดยจะมีการประเมินรายได้ความมั่นคงของรายได้ใหม่
นอกจากนี้ ในปีหน้าลูกค้าที่ใช้สินเชื่อดอกเบี้ยคงที่ 3 เริ่มใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวแล้ว หากปัญหาเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อความสามารถในการผ่อนชำระ ธอส.จะต้องหามาตรการหรือแนวทางช่วยเหลือโดยจะเจรจาเป็นรายๆไป เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ MRR-2% ทำให้ลูกค้าผ่อนดอกเบี้ยเท่าเดิม 5.5% ซึ่งในวันที่ 6 พ.ย.นี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะเดินทางมาตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน และให้นโยบาย ซึ่งจะนำเรื่อดังกล่าวเข้าหารือด้วย
“กรณีที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ ยื่นเสนอขอให้สถาบันการเงินลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคต่อกระทรวงการคลัง โดยให้ช่วยตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 3% ผู้ประกอบการต้องพิจารณาด้วยว่าข้อเรียกร้องดังกล่าวสามารถทำได้จริงหรือไม่ เพราะขณะนี้ต้นทุนเงินกู้อยู่ที่ 4% การจะให้ ลดดอกเบี้ยต่ำกว่าต้นทุนนั้นเป็นเรื่องยาก”
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กล่าวว่า จากการสำรวจอาคารชุดตามแนวรถไฟฟ้า 8 เส้นทาง พบว่า ปัจจุบันมีจำนวนโครงการอยู่ระหว่างการขายรวม 175 โครงการ มีจำนวนหน่วยเสนอขายทั้งสิ้น 66,203 หน่วย โดยแนวรถไฟฟ้า BTS เป็นเส้นทางที่มีการเสนอขายสูงสุด 16,108หน่วย จากจำนวน 61 โครงการ สำหรับอาคารชุดทั้งหมดที่เสนอขายอยู่66,232หน่วยนั้น แบ่งเป็นโครงการที่มีการก่อสร้างแล้ว 30,000 หน่วยเศษ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 22,000 หน่วย และยังไม่ได้ก่อสร้าง 11,000-12,000 หน่วยและจากจำนวนหน่วยที่เสนอขายดังกล่าวมียอดขาย 45,471หน่วย ส่วนที่เหลือขาย 20,761 หน่วย ซึ่งคาดว่าหากจำนวนหน่วยเหลือขายในตลาดยังสูงอยู่จะส่งผลให้ปีหน้าซับพลายจะล้นตลาด
**เอกชนยันคอนโดฯไม่ล้น**
ด้านนายกิติศักดิ์ จำปาทิพย์พงศ์ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ฮาริสัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัญหาการล้นตลาดของคอนโดมิเนียมนั้น เชื่อว่าจะไม่เกิดขึ้นแน่นอนเนื่องจาก ซับพลายที่เหลืออยู่ในตลาดขณะ ถือว่าไม่มาก ในขณะที่ภาวะเงินตึงตัวในปีหน้าจะทำให้ สถาบันการเงินลดจำนวนการปล่อยกู้โครงการลง ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดปี52 มีโครงการใหม่เกิดขึ้นน้อย ประกอบกับผู้ประกอบการหน้าใหม่ในปีหน้าคาดว่าจะลดจำนวนลงเพราะผ็ประกอบการรายใหม่ไม่มีสภาพคล่องมากพอจะพัฒนาโครงการใหม่ ในขณะที่ดีมานด์ยังคงขยายตัวอยู่ ทั้งในส่วนของชาวต่างชาติ และคนไทย ส่วนผู้ประกอบการอสังหาฯรายใหญ่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯเองก็ลดจำนวนการพัฒนาโครงการประเภทอาคารชุดลงเนื่องจากใช้ทุนในการก่อสร้างสูง และยังต้องใช้ระยะเวลาในการรับรู้รายได้ค่อนข้างนาน
วานนี้ (30 ต.ค.)นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในฐานะเป็นประธานการเปิดงานสัมมนาหัวข้อ ”วิเคราะห์คอนโดแนวรถไฟฟ้า” กล่าวว่า ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลให้เกิดปัญหาเงินตรึงตัวในปัจจุบัน ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อโครงการ ทำให้กลุ่มผู้ประกอบอสังหาริมทรัพย์ หาเครื่องมือและกลยุทธ์ในการขอเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงิน เช่น เจรจาลูกค้าให้ใช้เงินกู้จากธนาคารแห่งเดียวกับธนาคารที่ปล่อยกู้สินเชื่อโครงการ ทำให้มีลูกค้ารายย่อยเข้ามาขอกู้เงินกับ ธอส.ลดลง แต่อย่างไรก็ตามหลังจากที่ภาวะเงินตึงตัวเพิ่มความรุนแรงขึ้น แนวโน้มการจำกัดวงเงินปล่อยกู้โครงการมีสัดส่วนลดลง จะทำให้ลูกค้ารายย่อยกลับมาขอสินเชื่อจาก ธอส.เพิ่มขึ้น
สำหรับอัตราการปฏิเสธสินเชื่อของสถาบันการเงินพาณิชย์ต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการเข้มงวดการพิจารณาปล่อยกู้ของแต่ละสถาบันการเงิน แต่ในส่วนของ ธอส. นั้นยืนยันว่าไม่ได้มีการปรับนโยบายการพิจารณาปล่อยสินเชื่อใหม่ หรือมีการเพิ่มเกณฑ์การพิจาณา แต่ยังคงใช้เกณฑ์เดิม ส่วนสาเหตุที่มีการปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายไม่มีการตรวจสอบประวัติการเงิน และรายได้ของลูกค้าว่ามีความสามารถผ่อนส่งได้หรือไม่ ทำให้มีจำนวนลูกค้าที่ขาดคุณสมบัติหรือมีคุณสมบัติไม่ถึงเกณฑ์มากขึ้น
“ธอส.ไม่ได้ปรับเกณฑ์หรือมีการปรับเปลี่ยนนโยบายการปล่อยสินเชื่อใหม่ แต่มีการเข้มงวดในการพิจารณาความสามารถของลูกค้าเพื่อป้องปัญหาการเกิด สินเชื่อด้อยคุณภาพ หรือ NPL ทำให้ต้องมาตามแก้ไขในภายหลัง ส่วนผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกน่าจะส่งผลกระทบไทยช่วงปี 52 ซึ่งต้องจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด”นายขรรค์กล่าว
ส่วนการป้องกันการเกิด NPL ธอส.ต้องมีการเข้มงวดการพิจารณาที่มาและความมั่นคงของรายได้ และบริษัทหรือธุรกิจที่ผู้ขอสินเชื่อสังกัดอยู่ เนื่องจากผลกระทบจากเศรษฐกิจของประเทศในปีหน้าจะส่งผลให้ผู้ขอสินเชื่อมีรายได้ลดลง โดยเฉพาะในภาคธุรกิจส่งออก และการท่องเที่ยว โดยจะมีการประเมินรายได้ความมั่นคงของรายได้ใหม่
นอกจากนี้ ในปีหน้าลูกค้าที่ใช้สินเชื่อดอกเบี้ยคงที่ 3 เริ่มใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวแล้ว หากปัญหาเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อความสามารถในการผ่อนชำระ ธอส.จะต้องหามาตรการหรือแนวทางช่วยเหลือโดยจะเจรจาเป็นรายๆไป เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ MRR-2% ทำให้ลูกค้าผ่อนดอกเบี้ยเท่าเดิม 5.5% ซึ่งในวันที่ 6 พ.ย.นี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะเดินทางมาตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน และให้นโยบาย ซึ่งจะนำเรื่อดังกล่าวเข้าหารือด้วย
“กรณีที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ ยื่นเสนอขอให้สถาบันการเงินลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคต่อกระทรวงการคลัง โดยให้ช่วยตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 3% ผู้ประกอบการต้องพิจารณาด้วยว่าข้อเรียกร้องดังกล่าวสามารถทำได้จริงหรือไม่ เพราะขณะนี้ต้นทุนเงินกู้อยู่ที่ 4% การจะให้ ลดดอกเบี้ยต่ำกว่าต้นทุนนั้นเป็นเรื่องยาก”
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กล่าวว่า จากการสำรวจอาคารชุดตามแนวรถไฟฟ้า 8 เส้นทาง พบว่า ปัจจุบันมีจำนวนโครงการอยู่ระหว่างการขายรวม 175 โครงการ มีจำนวนหน่วยเสนอขายทั้งสิ้น 66,203 หน่วย โดยแนวรถไฟฟ้า BTS เป็นเส้นทางที่มีการเสนอขายสูงสุด 16,108หน่วย จากจำนวน 61 โครงการ สำหรับอาคารชุดทั้งหมดที่เสนอขายอยู่66,232หน่วยนั้น แบ่งเป็นโครงการที่มีการก่อสร้างแล้ว 30,000 หน่วยเศษ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 22,000 หน่วย และยังไม่ได้ก่อสร้าง 11,000-12,000 หน่วยและจากจำนวนหน่วยที่เสนอขายดังกล่าวมียอดขาย 45,471หน่วย ส่วนที่เหลือขาย 20,761 หน่วย ซึ่งคาดว่าหากจำนวนหน่วยเหลือขายในตลาดยังสูงอยู่จะส่งผลให้ปีหน้าซับพลายจะล้นตลาด
**เอกชนยันคอนโดฯไม่ล้น**
ด้านนายกิติศักดิ์ จำปาทิพย์พงศ์ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ฮาริสัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัญหาการล้นตลาดของคอนโดมิเนียมนั้น เชื่อว่าจะไม่เกิดขึ้นแน่นอนเนื่องจาก ซับพลายที่เหลืออยู่ในตลาดขณะ ถือว่าไม่มาก ในขณะที่ภาวะเงินตึงตัวในปีหน้าจะทำให้ สถาบันการเงินลดจำนวนการปล่อยกู้โครงการลง ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดปี52 มีโครงการใหม่เกิดขึ้นน้อย ประกอบกับผู้ประกอบการหน้าใหม่ในปีหน้าคาดว่าจะลดจำนวนลงเพราะผ็ประกอบการรายใหม่ไม่มีสภาพคล่องมากพอจะพัฒนาโครงการใหม่ ในขณะที่ดีมานด์ยังคงขยายตัวอยู่ ทั้งในส่วนของชาวต่างชาติ และคนไทย ส่วนผู้ประกอบการอสังหาฯรายใหญ่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯเองก็ลดจำนวนการพัฒนาโครงการประเภทอาคารชุดลงเนื่องจากใช้ทุนในการก่อสร้างสูง และยังต้องใช้ระยะเวลาในการรับรู้รายได้ค่อนข้างนาน